กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน รหัส กปท. L3310

อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
ชุมชนน่าอยู่ รู้คัดแยกขยะ ลดโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านโคกยา
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
รพ.สต.บ้านโคกยา
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัญหาขยะในประเทศไทยนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะปัญหาขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม จากรายงานของกรมควบคุมมลพิษระบุว่าในปี 2563 มีขยะที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องปริมาณ 7.88 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 31 จากปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมดในปีนั้น ขยะส่วนนี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมาก ทั้งเรื่องการเกิดแหล่งเชื้อโรคสะสม การรั่วไหลของขยะออกสู่ขยะกลายเป็นขยะทะเล หรือแม้กระทั่งการสะสมของไมโครพลาสติกในอาหารทะเลอีกด้วยด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงได้จัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 โดยเป้าหมายสูงสุดของ Roadmap นี้คือ การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 ภายใต้ Roadmap นี้ได้แบ่งแผนปฏิบัติการออกเป็นทั้งหมด 3 ระยะด้วยกัน คือ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2561-2562) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2563-2565) และระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2573) ซึ่งทั้ง 3 ระยะนั้นจะดำเนินมาตรการลดการเกิดขยะพลาสติก ณ แหล่งกำเนิด มาตรการลด เลิกใช้พลาสติก ณ ขั้นตอนการบริโภค และมาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค หากประเทศไทยสามารถดำเนินการตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติก และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ให้บรรลุได้ตามเป้าหมาย จะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัดได้ประมาณ 0.78 ล้านตันต่อปี และสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3,900 ล้านบาทต่อปี ซึ่งในการดำเนินงานให้บรรลุหมายนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคของประชาชนที่จะมีบทบาทอย่างมากตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ยกตัวอย่างเช่น การเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจนกระทั่งการส่งคืนซากเมื่อใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว หรือ แม้แต่การตัดวงจรการเกิดขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นภาคประชาชนมีส่วนสำคัญที่สามารถช่วยให้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการนี้สำเร็จตามเป้าหมายหากการจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม เช่น ปฏิกิริยาเรือนกระจกที่มีสาเหตุจาก ขยะเทกอง ที่ปล่อยก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา ปัญหาขยะในทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ที่อยู่อาศัยถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ เพราะชีวิตของมนุษย์ส่วนใหญ่ เวลาสองในสามของแต่ละวัน มักจะใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านพักอาศัย ทั้งการพักผ่อนหลับนอน และการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในครอบครัว ส่วนเวลาที่เหลือเป็นเวลาของการทำงานหรือทำกิจกรรมในสถานที่อื่นๆ ดังนั้น จึงนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดเสียมิได้ เพราะเป็นสถานที่ที่มีประโยชน์ในการป้องกันความร้อน ความหนาว แดด ลม ฝน ตลอดจน ป้องกันสัตว์และแมลงมารบกวน แต่การมีบ้านพักอาศัยนั้น จำต้องคำนึงถึงคุณภาพในหลายๆ ด้าน ให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการพักอาศัยด้วย คือ จะต้องเป็นบ้านที่ถูกสุขลักษณะ เหล่านี้ อันได้แก่ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่คนภายในครอบครัว จัดให้มีสุขวิทยาส่วนบุคคลและส่วนรวมที่ดี ขจัดตัวการที่ทำให้เกิดโรคหรือพาหะนำโรคติดต่อต่างๆ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง เป็นต้น การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาด พอเพียง มีการกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ มีการระบายน้ำเสียที่เหมาะสม การเตรียมอาหารที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ตลอดจน สิ่งต่างๆที่อยู่โดยรอบ ให้มีสภาพที่ปลอดภัย ไม่เอื้อต่อการเกิดโรคติดต่อภายในบ้าน โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาที่คุกคามต่อสุขภาพของคนในชุมชนเป็นลำดับต้นๆของปัญหาสุขภาพทั้งหมดของชุมชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา จากการสำรวจบ้านพบว่าปัญหาหลักส่วนใหญ่เกิดจากสุขาภิบาลที่อยู่อาศัย ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะ ปัญหาการกำจัดขยะในครัวเรือนไม่ได้รับการจัดการกำจัดอย่างถูกต้อง ส่งผลให้ขยะพลาสติก ถุงพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหารต่างที่ย่อยสลายยาก ที่ถูกทิ้งบริเวณบ้านกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นตัวพาหะที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยารับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 744ครัวเรือน มีการจัดการขยะส่วนใหญ่ด้วยวิธี เผา ร้อยละ 77.15 ที่เหลือกองทิ้งบริเวณบ้าน และพาไปทิ้งที่ถังยะในเขตเทศบาล ส่วนใหญ่การจัดการขยะในครัวเรือนไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง และการกำจัดขยะในครัวเรือนไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ส่งผลให้ขยะที่ทิ้งไว้บริเวณบ้านเป็นแหล่งน้ำขัง ส่งผลให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ทำให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เกินเกณฑ์เป้าหมาย(50/แสนประชากร) ในทุกๆปี จากประเด็นปัญหานี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาได้ตระหนักและค้นหาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหานี้อย่างเป็นระบบด้วยวิธีการSWOTอย่างมีส่วนร่วม จึงได้มีการจัดดำเนินการตามโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะเพื่อลดโรคไข้เลือดออก ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในชุมชนอย่างเป็นระบบ ที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน สืบไป เพื่อให้ประชาชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี ภายใต้การบริหารจัดการระบบสุขภาพของคนในชุมชนเอง

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยการจัดการบ้านของตนเองให้สะอาดถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลที่อยู่อาศัย
    ตัวชี้วัด : ครัวเรือนตัวอย่าง(ครัวเรือน อสม.)มีการจัดการบ้านให้สะอาดผ่านเกณฑ์สุขาภิบาลที่อยู่อาศัย ร้อยละ100
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 60.00
  • 2. เพื่อให้ประชาชนมีการจัดการและคัดแยกและกำจัดขยะภายในครัวเรือนได้ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ครัวเรือนตัวอย่าง(ครัวเรือน อสม.)มีการคัดแยกและกำจัดขยะในครัวเรือนของตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ 100
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 65.00
  • 3. เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    ตัวชี้วัด : มีชมรม รักษ์โคกยา รักษ์สิ่งแวดล้อม
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 65.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมบ้าน อสม.ตัวอย่างบ้านคัดแยกขยะ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
    รายละเอียด

    1.กิจกรรมบ้าน อสม.ตัวอย่างบ้านคัดแยกขยะ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก 1.1อบรมให้ความรู้เรื่องหลักสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยและการคัดแยกกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วม วิทยากรและคณะทำงาน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 64คน เป็นเงิน 3,200 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วม วิทยากรและคณะทำงาน 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 64 คน เป็นเงิน 4,480 บาท     รวมเงิน  7,680 บาท

    1.2ประเมินและสรุปผลการจัดการบ้านตัวอย่าง อบรมให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะสดในครัวเรือนโดยใช้จุทินทรีย์ชีวภาพ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วม วิทยากรและคณะทำงาน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 64คน เป็นเงิน 3,200 บาท -ค่าวิทยากร ในการอบรม 8 ชม.ๆละ300 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วม วิทยากรและคณะทำงาน 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,480 บาท รวมเงิน  10,080 บาท

    งบประมาณ 17,760.00 บาท
  • 2. กิจกรรม Say No Plastic และชมรม รักษ์โคกยา รักษ์สิ่งแวดล้อม
    รายละเอียด

    2.กิจกรรม Say No Plastic และชมรม รักษ์โคกยา รักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมายผู้สมัครใจเข้าร่วมชมรม

    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 1,000บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 1,400 บาท ค่าวัสดุในการอบรม  4,800 บาท
          รวมเงิน 7,200 บาท

    งบประมาณ 7,200.00 บาท
  • 3. กิจกรรมชาเลนจ์ เดิน เพื่อสุขภาพ
    รายละเอียด

    3.กิจกรรมชาเลนจ์ เดิน เพื่อสุขภาพ  สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ เชิญชวนเก็บบ้าน เก็บขยะ ลดโรค แยกรายหมู่(อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการณ์)

    3.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 1,250บาท. 3.2 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาทจำนวน 25 คน เป็นเงิน 1,750บาท รวมเงิน 3,000  บาท

    งบประมาณ 3,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

เขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านโคกยา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 27,960.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.มีบ้านสวยสะอาดตามเกณฑ์สุขาภิบาลที่อยู่อาศัย ปลอดโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2.ประชาชนมีความรู้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม คัดแยกขยะ และกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือนของตนเองได้ถูกต้อง
3.มีแกนนำเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็ง ดำเนินงานต่อเนื่องและยั่งยืน 4.ชุมชนสะอาดน่าอยู่ น่าอาศัย

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน รหัส กปท. L3310

อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน รหัส กปท. L3310

อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 27,960.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................