กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด

เทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ โรคทางเดินหายใจ สารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำ เป็นต้น
องค์ประกอบขยะมูลฝอยประกอบด้วย ขยะทั่วไป (ร้อยละ 3)ขยะรีไซเคิล (ร้อบละ 30)ขยะอันตราย (ร้อยละ 3) และขยะอินทรีย์ (ร้อยละ64) ซึ่งขยะอินทรีย์มีปริมาณมากที่สุดและเป็นขยะที่สามารถย่อยสลายได้ดังนั้นการลดปริมาณขยะจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากครัวเรือนในการคัดแยกขยะจากต้นทางเพื่อลดปริมาณขยะที่จะนำเข้าสู่ระบบกำจัดโดยส่งเสริมให้ประชาชนมีองค์ความรู้ในการคัดแยกขยะจากต้นทางด้วยหลัก 3RS (Reduce Reuse Recycle)
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาขยะ ซึ่งส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อคนในชุมชน และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะจากครัวเรือน จึงได้จัด “โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน”ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณขยะในระดับครัวเรือน และบูรณาการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี

ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ

400.00
2 เพื่อขับเคลื่อนและลดปริมาณขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการและจัดทำภังขยะเปียกลดโลกร้อน

400.00
3 เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค

บ้านเรือนมีความสะอาด ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์โรค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลตะโหมด 400

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมวางแผนการดำเนินงาน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆละ 25 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการมีแผนการปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 - เคาะประตูบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 - เคาะประตูบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมเคาะประตูบ้านขอความร่วมมือจัดทำถังขยะเปียก
  • ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะทุกประเภทอย่างถูกวิธีตามช่องทางต่าง ๆ เช่น เสียงตามสายในชุมชน เสียงตามสายเทศบาล ทุกวันศุกร์ เป็นต้น ค่าใช้จ่าย ดังนี้
  • จัดซื้อถังพร้อมฝาปิดเพื่อจัดทำถังขยะเปียก สำหรับครัวเรือน จำนวน 400 ใบ ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 48,000 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ และป้ายรณรงค์ หมู่บ้านละ 1 ป้าย ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร รวมจำนวน 4 ป้าย ๆ ละ 576 บาทเป็นเงิน 2,304 ป้ายโฟมบอร์ดพร้อมด้าม จำนวน 3 ป้าย ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 3,104 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมเคาะประตุบ้าน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็น 52,104 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนมีความรู้ในการจัดทำถังขยะเปียก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52104.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,104.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ และมีจิตสำนึกและตระหนักถึง
ความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ
2. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs การนำ
กลับมาใช้ใหม่ วิธีการกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ อย่างถูกวิธี และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดผลได้จริง


>