กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน
รหัสโครงการ 66-L7577-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 53,104.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เขตเทศบาลตำบลตะโหมด
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ โรคทางเดินหายใจ สารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำ เป็นต้น องค์ประกอบขยะมูลฝอยประกอบด้วย ขยะทั่วไป (ร้อยละ 3)ขยะรีไซเคิล (ร้อบละ 30)ขยะอันตราย (ร้อยละ 3) และขยะอินทรีย์ (ร้อยละ64) ซึ่งขยะอินทรีย์มีปริมาณมากที่สุดและเป็นขยะที่สามารถย่อยสลายได้ดังนั้นการลดปริมาณขยะจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากครัวเรือนในการคัดแยกขยะจากต้นทางเพื่อลดปริมาณขยะที่จะนำเข้าสู่ระบบกำจัดโดยส่งเสริมให้ประชาชนมีองค์ความรู้ในการคัดแยกขยะจากต้นทางด้วยหลัก 3RS (Reduce Reuse Recycle) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาขยะ ซึ่งส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อคนในชุมชน และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะจากครัวเรือน จึงได้จัด “โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน”ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณขยะในระดับครัวเรือน และบูรณาการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี

ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ

400.00
2 เพื่อขับเคลื่อนและลดปริมาณขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการและจัดทำภังขยะเปียกลดโลกร้อน

400.00
3 เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค

บ้านเรือนมีความสะอาด ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์โรค

400.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 440 0.00 4 0.00
1 - 30 ธ.ค. 65 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอย 40 0.00 0.00
24 ม.ค. 66 - 7 ก.พ. 66 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่แกนนำ 0 0.00 0.00
7 ก.พ. 66 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 0.00 0.00
1 มี.ค. 66 - 10 พ.ค. 66 เคาะประตูบ้าน 400 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ และมีจิตสำนึกและตระหนักถึง ความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ
  2. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs การนำ กลับมาใช้ใหม่ วิธีการกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ อย่างถูกวิธี และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดผลได้จริง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2565 15:36 น.