กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

มูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจ สุไหงโก-ลก

1. นายธีระ วงศ์ชัยศรี โทร.081-957-5100
2. นายวิชิตชาติอุดมลาภเจริญกิจ โทร. 08-1599-0062
3. นายกฤษฤทธิ์อุดมลาภเจริญกิจโทร. 08-9656-1777
4. นางสาวซารียาอารงโทร.09-8510-7155
5. นางสาวจันทนาโคตวิทย์โทร. 09-2535-4797

ห้องประชุมมูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจ สุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละปีในพื้นที่ชุมชนที่ติดแม่น้ำสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสซึ่งเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำและผู้ใหญ่ขณะสัญจรทางเรือพลัดตกจมน้ำเสียชีวิต เพราะในพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งท่าน้ำ(ท่าเรือ) และเป็นเขตชุมชนติดแม่น้ำสุไหงโก-ลก พรมแดนไทยมาเลเซีย เป็นแม่น้ำสายหลักที่มีท่าเรือหลายท่า มีคลองผ่านเข้าบางชุมชน และแหล่งน้ำทุกแห่งนี้เมื่อเข้าช่วงฤดูฝน เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งน้ำจะท่วมชุมชนที่อยู่ติดแม่น้ำหลายหลังคาเรือน และในหลายชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ขณะระดับน้ำลดและเพิ่มตามฤดูกาลนั้น เด็ก ๆ ก็มักจะเล่นน้ำใกล้กับริมแม่น้ำแล้วเกิดพลัดตกลงไปยังจุดน้ำลึกไม่สามารถเอาตัวรอดได้ ชาวบ้านที่พบเห็นก็จะตื่นตกใจ ทำอะไรไม่ถูกจึงไม่สามารถช่วยเหลือเด็กหรือบุคคลมราจมน้ำได้อย่างทันท่วงที
ข้อมูลการเสียชีวิตในแหล่งแม่น้ำสุไหงโก-ลก จากปี พ.ศ 2556 - พ.ศ 2565 เป็นระยะเวลา 9 ปี จากการเก็บสถิติเหตุการณ์เสียชีวิตทางน้ำ เฉลี่ยปีละ 2 คน โดยแต่ละท่าเรือของชุมชนไม่มีการป้องกันหรือแนวทางการปฏิบัติ ไม่มีอุปกรณ์ชูชีพ ไม่มีมาตรการป้องกันประจำท่าเรือ หรือริมแม่น้ำ ไม่มีสัญลักษณ์ยืนยันน้ำลึกน้ำตื้นเพื่อแสดงให้มองเห็นเป็นจุดเด่นในการระวังการพลัดตกของเด็กๆในเขตชุมชน
ดังนั้น มูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจสุไหงโก-ลก เล็งเห็นความสำคัญในการให้ความรู้การช่วยเหลือบุคคลจมน้ำเบื้องต้น สร้างเครือข่ายจิตอาสาในชุมชน โดยการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาเขตชุมชนแม่น้ำสุไหงโก-ลก ให้ใช้ชีวิตอย่างมีแนวทางการป้องกันและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำขั้นต้นได้แบบยั่งยืน ร่วมถึงการสร้างเครือข่ายการป้องกันการเกิดเหตุจมน้ำในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันเด็กจมน้ำในเขตชุมชน

มีเครือข่ายป้องกันเด็กจมน้ำในเขตชุมชน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่ากว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชน มีความรู้ มีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่จมน้ำได้

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ มีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่จมน้ำได้หลังเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00

เพื่อพัฒนาและเพิ่มทักษะอาสาสมัครในชุมชน เป็นทีมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในเขตชุมชน
2. เพื่อสร้างทักษะการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
ประชาชนและเยาวชนในชุมชนริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก จำนวน 80 คน
(แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน)
วิธีการดำเนินการ
1. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อเสนอโครงการ
2. ประสานงานแหล่งอบรม พร้อมชี้แจ้งวัตถุประสงค์
3. จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ
4. จัดทำเอกสารประกอบการอบรม และจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม
5. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชน เป็นระยะเวลา 4 วัน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน ณ ห้องประชุมธารน้ำใจ มูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจ สุไหงโก-ลก และสระว่ายน้ำจำลองหน้าอาคารมูลนิธิฯ
6. ประเมินผลโครงการสรุปการประเมินผล
กำหนดการ
วันที่ 1
08.00 - 08.30 น. - ลงทะเบียน รับเอกสาร การอบรมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
08.31 - 09.00 น. - พิธีเปิดงานโครงการฯ
09.01 - 12.00 น. - บรรยาย เรื่อง มาตรการของกระทรวงศึกษาธิการในการป้องกันเด็กจมน้ำ จุดเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายทางน้ำ
12.01 - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 - 16.00 น. – ฝึกภาคปฏิบัติการการลอยตัวในน้ำให้ได้ 3 นาที และฝึกภาคปฏิบัติการลอยตัวเข้าหาฝั่งได้ 15 เมตร
วันที่ 2
09.00 - 12.00 น. - บรรยายเรื่อง การช่วยฟื้นคืนชีพในกรณีจมน้ำ พร้อมฝึกการช่วยฟื้นคืนชีพในกรณีคนจมน้ำ
12.01 - 13.00 น. - รับประทานอาหารกลางวัน
13.01 - 16.00 น. - ฝึกภาคปฏิบัติการลอยตัวเปล่า การใช้อุปกรณ์และหัด ตะโกน โยน ยื่น
16.01 – 16.30 น. - สรุปผลการดำเนินโครงการฯ และมอบเกียรติบัตร ปิดโครงการฯ โดย นายวิชิตชาติ อุดมลาภเจริญกิจ หัวหน้าอาสาสมัครมูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจ

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 2 มื้อ x 80 คน x 2 วัน x 2 รุ่น เป็นเงิน 19,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 80 คน x 2 วัน x 2 รุ่น เป็นเงิน 19,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร(บรรยาย) 600 บาท x 3 ชม. x 2 วัน x 2 รุ่น เป็นเงิน 7,200 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากร(กลุ่ม) 300 บาท x 3 ชม. x 2 วัน x 2 รุ่น x 4 คน เป็นเงิน 14,400 บาท
5. ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,200 บาท
6. ค่าเอกสารประกอบการอบรม ชุดละ 30 บาท x 80 ชุด เป็นเงิน 2,400 บาท
7. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมและติดตั้งประจำชุมชน เป็นเงิน 16,000 บาท
- เชือก 100 เมตร x 2 เส้น x 3,500 บาท = 7,000 บาท
- เสื้อชูชีพ 300 บาท x 5 ตัว x 6 ชุมชน = 9,000 บาท
8. ค่าจัดซื้อสระว่ายน้ำ เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผลผลิตที่ได้จากโครงการ (Outcome) สามารถสร้างเครือข่าย เด็กและผู้ปกครองเขตชุมชนริมแม่น้ำอำเภอสุไหงโก-ลก เพื่อการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น และแนวทางการป้องการจมน้ำในเด็กและผู้ใหญ่
  2. ผลลัพธ์ (Outcome) เกิดเครือข่ายอาสาสมัคร จำนวน 80 คน เพื่อปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ลดความประมาทในกลุ่มผู้ปกครองและผู้ประสบปัญหาความเดือนร้อนสามารถเข้าถึงการบริการของเครือข่าย
  3. ผลกระทบ (Impact) ของโครงการ (ถ้ามี)สามารถสร้างเครือข่ายอาสาสมัคร ในกลุ่มเยาวชนและผู้ปกครองในเขตพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
89600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 89,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดเครือข่ายป้องกันเด็กจมน้ำในเขตชุมชน
2. เครือข่ายป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชน มีความรู้ มีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่จมน้ำได้


>