กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจสุขภาพป้องกันความเครียดและภาวะซึมเศร้า ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ กองสวัสดิการสังคม

ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตสามารถประเมินตนเองและเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว (คน)

 

50.00
2 ความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงจนดีขึ้น (คน)

 

50.00

โรคซึมเศร้าหมายถึงภาวะการเจ็บป่วยทางอารมณ์ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการสูญเสียผิดหวังจากการถูกทอดทิ้งและอาจสามารถเกิดขึ้นเองจากสังคมรอบข้างที่เลวร้าย เช่น เจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่เข้ามาอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการหม่นหมอง หงุดหงิดง่าย ขาดความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง น้ำหนักลดลงหรือมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง เป็นต้น
จากผลการวิจัย พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่ทว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเพศชายมีจำนวนมากกว่า ซึ่งเมื่อเพศชายเกิดอาการเครียดหรือซึมเศร้าขั้นรุนแรง พวกเขาจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิงอีกด้วย ช่วงต้นปี2565 ที่ผ่านมา คนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คนและเสียชีวิตราว 4,000 คน ถือเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของไทยและจากข้อมูลของศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ยังระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยผู้ป่วยจำนวน 100 คน สามารถเข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น ทำให้คนไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ที่มีเกณฑ์เป็นโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการชัดเจนในช่วงอายุ 25 ปี หลังจากนั้นอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจในระยะยาวได้ ฉะนั้นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรเข้ารับการรักษาและติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด สำหรับวิธีการรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายวิธี ทั้งวิธีรักษาทางจิตใจ หรือว่าการใช้ยารักษาเพื่อปรับสมดุลเคมีภายในสมอง อย่างไรก็ตามวิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ การให้ผู้ป่วยปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรมของตนเอง
กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของความเครียดและภาวะซึมเศร้า จึงได้จัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพป้องกันความเครียดและภาวะซึมเศร้า เพื่อให้ประชาชนตำบลกะลุวอ ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาทางด้านสุขภาพจิต มีสุขภาพจิตดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง สามารถคัดกรองประเมินภาวะด้านสุขภาพจิตของตนเอง

สามารถคัดกรองประเมินภาวะด้านสุขภาพจิตและแปลผลได้อย่างถูกต้อง

50.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันความเครียดและภาวะซึมเศร้า

ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันความเครียดและภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น

50.00 50.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ที่มีปัญหาสุขภาพจิต ได้รับการส่งต่อและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

กลุ่มเสี่ยงที่ปัญหาสุขภาพจิตได้รับการส่งต่อและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองความเครียดและภาวะซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองความเครียดและภาวะซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ประเมินแบบประเมินความเครียด ตามแบบประเมินความเครียด (ST5) 2.ประเมินแบบประเมินโรคซึมเศร้า ตามแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : ประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ผลลัพธ์ (Outcome) : กลุ่มเป้าหมายได้รับการแปลผลการประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ 2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ 3.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบและวางแผนการดำเนินงาน 4.ดำเนินกิจกรรม - บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า 5.สรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผลโครงการ

งบประมาณ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 กล่องๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 4.ค่ากระเป๋าพร้อมอุปกรณ์เครื่องเขียนจำนวน 50 ชุดๆละ 85 บาท เป็นเงิน 4,250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : ประชาชนที่มีความเสี่ยงความเครียดและภาวะซึมเศร้า จำนวน 40 คน ผลลัพธ์ (Outcome) : ประชาชนที่มีความเสี่ยงความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้รับความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13350.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ 1.ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท 2.ค่าสติกเกอร์ข้อความความแตกต่างระหว่างความเครียดกับภาวะซึมเศร้า ขนาด 21x21 เซนติเมตร จำนวน 50 เเผ่นๆละ 26 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ได้รณรงค์เกี่ยวกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า ผลลัพธ์ (Outcome) : กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้จากป้ายรณรงค์และสติ๊กเกอร์ข้อความความแตกต่างระหว่างความเครียดกับภาวะซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,400.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง สามารถรับรู้ถึงการแปลผลการประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้าของตนเองได้
2.ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้
3.กลุ่มเสี่ยง ที่มีปัญหาสุขภาพจิต ได้รับการส่งต่อและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
4.ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง มีสุขภาพจิตที่ดี


>