กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ รหัส กปท. L2490

อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการใส่ใจสุขภาพป้องกันความเครียดและภาวะซึมเศร้า ปี 2566
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ กองสวัสดิการสังคม
3.
หลักการและเหตุผล

โรคซึมเศร้าหมายถึงภาวะการเจ็บป่วยทางอารมณ์ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการสูญเสียผิดหวังจากการถูกทอดทิ้งและอาจสามารถเกิดขึ้นเองจากสังคมรอบข้างที่เลวร้าย เช่น เจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่เข้ามาอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการหม่นหมอง หงุดหงิดง่าย ขาดความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง น้ำหนักลดลงหรือมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง เป็นต้น
จากผลการวิจัย พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่ทว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเพศชายมีจำนวนมากกว่า ซึ่งเมื่อเพศชายเกิดอาการเครียดหรือซึมเศร้าขั้นรุนแรง พวกเขาจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิงอีกด้วย ช่วงต้นปี2565 ที่ผ่านมา คนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คนและเสียชีวิตราว 4,000 คน ถือเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของไทยและจากข้อมูลของศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ยังระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยผู้ป่วยจำนวน 100 คน สามารถเข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น ทำให้คนไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ที่มีเกณฑ์เป็นโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการชัดเจนในช่วงอายุ 25 ปี หลังจากนั้นอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรังทางจิตใจในระยะยาวได้ ฉะนั้นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรเข้ารับการรักษาและติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด สำหรับวิธีการรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายวิธี ทั้งวิธีรักษาทางจิตใจ หรือว่าการใช้ยารักษาเพื่อปรับสมดุลเคมีภายในสมอง อย่างไรก็ตามวิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ การให้ผู้ป่วยปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรมของตนเอง
กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของความเครียดและภาวะซึมเศร้า จึงได้จัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพป้องกันความเครียดและภาวะซึมเศร้า เพื่อให้ประชาชนตำบลกะลุวอ ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาทางด้านสุขภาพจิต มีสุขภาพจิตดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง สามารถคัดกรองประเมินภาวะด้านสุขภาพจิตของตนเอง
    ตัวชี้วัด : สามารถคัดกรองประเมินภาวะด้านสุขภาพจิตและแปลผลได้อย่างถูกต้อง
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 50.00
  • 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันความเครียดและภาวะซึมเศร้า
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันความเครียดและภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 50.00
  • 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ที่มีปัญหาสุขภาพจิต ได้รับการส่งต่อและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงที่ปัญหาสุขภาพจิตได้รับการส่งต่อและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 50.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมคัดกรองความเครียดและภาวะซึมเศร้า
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม 1.ประเมินแบบประเมินความเครียด ตามแบบประเมินความเครียด (ST5) 2.ประเมินแบบประเมินโรคซึมเศร้า ตามแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q)

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม 1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ 2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ 3.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบและวางแผนการดำเนินงาน 4.ดำเนินกิจกรรม - บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า 5.สรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผลโครงการ

    งบประมาณ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 กล่องๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 4.ค่ากระเป๋าพร้อมอุปกรณ์เครื่องเขียนจำนวน 50 ชุดๆละ 85 บาท เป็นเงิน 4,250บาท

    งบประมาณ 13,350.00 บาท
  • 3. กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า
    รายละเอียด

    งบประมาณ 1.ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท 2.ค่าสติกเกอร์ข้อความความแตกต่างระหว่างความเครียดกับภาวะซึมเศร้า ขนาด 21x21 เซนติเมตร จำนวน 50 เเผ่นๆละ 26 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท

    งบประมาณ 2,050.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 15,400.00 บาท

หมายเหตุ : สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง สามารถรับรู้ถึงการแปลผลการประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้าของตนเองได้ 2.ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้ 3.กลุ่มเสี่ยง ที่มีปัญหาสุขภาพจิต ได้รับการส่งต่อและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี 4.ผู้เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเสี่ยง มีสุขภาพจิตที่ดี

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ รหัส กปท. L2490

อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ รหัส กปท. L2490

อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 15,400.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................