กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหาร เช้าเพื่อน้อง อิ่มท้องสมองแจ่มใส ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย

1.นางนาวีรา ใบหาด ตำแหน่ง ครู เบอร์ติดต่อ 086-9612188
2.นางฟารีดา เละสัน ตำแหน่ง ครู เบอร์ติดต่อ 080-5472079
3.นางสาวซีตีอามีนีะ เหมเด็น ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก เบอร์ติดต่อ 081-1046603
4.นางยามีล๊ะ หมัดยามีน ตำแหน่ง ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก เบอร์ติดต่อ 086-9618820
5.นางสาวมีน๊ะ ยะโกบ ตำแหน่ง ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก เบอร์ติดต่อ094-3161497

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีศักยภาพสูงอันเป็นปัจจัยหลัก ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันดับแรกของการพัฒนาคน คือการพัฒนาสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบ เป็นช่วงสมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้เหมาะสม สมองของเด็กก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น วัย 5 ขวบ จึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกหมู่ ทำให้เด็กมีปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของร่างการ เมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบิกบาน พร้อมเปิดรับการเรียนรู้ใหม่ๆ อาหารเช้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจาการสอบถามและการสั่งเกตุจากเด็กนักเรียนทั้งหมด ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์มาโรงเรียน และจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กเพราะการที่นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิและสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้กว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า และจะทำให้เด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้น อาหารเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัยเนื่องจากขาดอาหารสำคัญมื้อแรกจากปัญหาดังกล่าว ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำ โครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส เพื่อเด็กในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ได้มีน้ำหนักและส่วนสูงที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นคนเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัยต่อไป
จากโครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง อิ่มท้องสมองแจ่มใส ของปีงบประมาณ 2565 ได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ น้ำหนักและส่วนสูงตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ทางศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทรายจึงเล็งเห็นถึงการจัดทำโครงการนี้จึงอยากให้มีการจัดโครงการนี้ต่อในปีงบประมาณ 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในเรื่องการส่งเสริมให้เด็กทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยในเด็ก

ผู้ปกครองตระหนักถึงความ สำคัญ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัย ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักเหมาะสมตามวัย

จำนวนเด็กปฐมวัยมีน้ำหนักตามเกณฑ์

20.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 40 คน เพื่อขับเคลื่อนงานโภชนาการสมวัยในศูนย์เด็กเล็ก และจุดประกายความคิดเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมโภชนาการ
กำหนดการอบรม
เวลา 13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน/เปิดพิธี
เวลา 13.30 - 14.30 น. อบรมเรื่องความสำคัญของอาหารเช้าและโภชนาการสำหรับเด็ก โดยวิทยากรนักโภชนาการ รพ.สต.สตูล
เวลา 14.30 -14 .45 น. อบรมวางแผนการจัดการด้านอาหารและโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยวิทยากรนักโภชนาการ รพ.สต.สตูล
เวลา 14.45 - 16.00 น. อบรมอบรมเทคนิคการทำอาหารให้อร่อยและรูปลักษณ์ชวนกินสำหรับเด็กปฐมวัยโดยวิทยากรนักโภชนาการ รพ.สต.สตูล
เวลา 16.00 - 17.00 น. ปิดพิธี
รายละเอียดงบประมาณ
1. ค่าจ้างทำป้ายไวนิล ขนาด 1.8*3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 810.-บาท
2. ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 40 ชุด เป็นเงิน 4,800.-บาท
3. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน คนละ25.- บาท เป็นเงิน 1,000.- บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท เป้นเงิน 1,800.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 8 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : เด็กนักเรียนจำนวน 20 คน ของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ได้มีน้ำหนักและส่วนสูงเหมาะสม อยุ่ในเกรฑ์มาตราฐาน ผลลัพธ์ : จำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตราฐาน จำนวนเด็กที่ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ได้กินอาหารเช้าอย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8410.00

กิจกรรมที่ 2 อาหารเช้าของหนูเพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัย

ชื่อกิจกรรม
อาหารเช้าของหนูเพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
เสริมอาหารเช้าให้แก่เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเด็กที่มีพฤติกรรมไม่ทานอาหารเช้า ครูผู้ดูแลจัดเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมและมีประโยชน์กับเด็กและมีการติดตามประเมินผลเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงด้านโภชนาการ
รายละเอียดงบประมาณ
1. จัดทำอาหารเช้าเพื่อน้อง อิ่มท้องสมองแจ่มใส ทุกวันทำการ สำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 20 คน คนละ 16.-บาท จำนวน 60 วัน เป็นเงิน 19,200.-บาท
หมายเหตุ : จัดอาหารเช้าเพื่อน้องอิ่มท้องสมองแจ่มใสทุก วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์(ทุกวันทำการ) เมนู ข้าวต้มไก่+ไข่ลวก/ข้าวต้มทะเล/โอวัลตินร้อน/น้ำเต้าหู้/นม/น้ำผลไม้/ขนม/ผลไม้
เมนูอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 8 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : เด็กนักเรียนจำนวน 20 คน ของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ได้มีน้ำหนักและส่วนสูงเหมาะสม อยุ่ในเกรฑ์มาตราฐาน ผลลัพธ์ : จำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตราฐาน จำนวนเด็กที่ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ได้กินอาหารเช้าอย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,610.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองมีความตระหนักในเรื่่องการส่งเสริมให้เด็กทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยในเด็ก
2.เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักเหมาะสมตามวัย


>