กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลยะหา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลยะหา

ผอ. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

 

2.27
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

 

3.78
3 ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

 

6.25

ปัจจุบันเด็กไทยประสบปัญหาเรื่องรูปร่างที่ไม่สมส่วนทั้งผอม เตี้ยอ้วนและสติปัญญาที่น้อยลง ซึ่งเกิดจากปัญหาโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง รับประทานอาหารไม่ครบถ้วน ไม่ครบมื้อ ไม่กินผักผลไม้ เน้นแต่ขนมกรุบกรอบ ซึ่งอาหารถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อคนเรา โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนา ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจากจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน ทำให้เด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอและไม่ให้ความสำคัญกับอาหารมื้อเช้า ซึ่งเป็นมือสำคัญ ส่งผลต่อภาวะโภชนาการโดยรวม
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ( 0-6 ) ปี จะพบว่าเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลยะหา จำนวน 44 คนมีน้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 34.00 และน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6 ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 15 มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลยะหาจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมกับวัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด เด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปีที่มีภาวะผอม

2.27 0.00
2 เพื่อลดเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

ร้อยละของ เด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

3.78 0.00
3 เพื่อลดปัญหาเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน ลดลง

6.25 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 44
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานวางแผนการดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานวางแผนการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานวางแผนการดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการวางแผนการทำงานร่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลยะหา

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลยะหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลยะหา

งบประมาณ

-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300.- บาท เป็นเงิน 900.- บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 44 คนๆละ 30.- บาทเป็นเงิน1,320.- บาท

-ค่าอาหารกลางวันจำนวน 44 คนๆละ 50.- บาท เป็นเงิน 2,200.- บาท

-ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ขนาด 1 X 3 เมตร เป็นเงิน750.- บาท

-ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 2,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  เทศบาลตำบลยะหา มีความรู้เรื่องส่งเสริมภาวะโภชนาการ จัดอาหารมื้อเช้าให้เด็กอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7170.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง

มีการออกแบบเมนูอาหารให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 60 วัน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารเช้าสำหรับเด็ก จำนวน 44 คนๆ ละ 10 บาท จำนวน  60  วัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้า

  • มีภาวะโภชนาการที่สมวัย

  • เด็กมีสมาธิในการเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26400.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามในรายที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามในรายที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามในรายที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ พร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ พื้นฐานแก่ผู้ปกครองสำหรับรายที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการติดตามในรายที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ผู้ปกครองเเกิดความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ประเมินภาวะโภชนาการและรายงานผล

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะโภชนาการและรายงานผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินภาวะโภชนาการและรายงานผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผลประเมินภาวะโภชนาการในการรายงานผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,570.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไขและติดตามทางโภชนาการ

2 เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

3 ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนอย่างถูกต้อง


>