กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปากน้ำ(ส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน) รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสตำบลปากน้ำ

1. นายถาวร สุวรรณเรืองศรี

2. นางสาวรุ่งนภา อุสมา

3. นางฮิจยาระ บากา

4. นางสาวพิชยา ดำสนิท

5. นางสาวจิตรา มะสันติ

พื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

10.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

30.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

30.00

ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และอีก 9 ปีข้างหน้า ในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society)มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้มีผู้สูงอายุ “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ประมาณ 3% หรือ 4 แสนคน จากผู้สูงอายุที่มีอยู่ประมาณ 13 ล้าน (ที่มา:มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.)) จำนวนผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีโดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5% แบ่งเป็น
“ผู้สูงอายุวัยต้น” ช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
“ผู้สูงอายุวัยกลาง” ช่วงอายุ 70-79 ปี มีจำนวน 3,522,778 คน คิดเป็น 29.1% และ
“ผู้สูงอายุวัยปลาย” อายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน คิดเป็น 14.4%
ขณะที่ผู้สูงอายุในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเกิดกลับลดลงและมีอัตราที่ช้ามาก สถานการณ์เด็กเกิดใหม่ของประเทศไทยขณะนี้ต่ำกว่า 600,000 รายต่อปี และในปีนี้ก็มีอัตราการเกิดไม่ถึง 0.5% ด้วยซ้ำ อยู่ที่ 0.18% ถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างน้อย (ที่มา:ระบบสถิติทางการทะเบียน)
ปี พ.ศ. 2565 ตำบลปากน้ำมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 11,251 คน จำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,577 คน คิดเป็นร้อยละ๑๒.๑๙14.12 ของประชากรทั้งหมด(สถิติทะเบียนราษฎร ณ ตุลาคม 2565)ถือว่าตำบลปากน้ำก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วเช่นกัน ในพื้นที่ตำบลปากน้ำมีผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 13 ราย ผู้สูงอายุติดเตียง 15 ราย ผู้สูงอายุติดบ้านสถานการณ์เหล่านี้นำมาสู่ปัญหาของผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพอนามัย ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนต้องตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคสูงวัยอย่างมีคุณภาพ ผู้สูงอายุไม่ใช่บุคคลด้อยโอกาสหรือเป็นภาระต่อสังคม แต่สามารถมีส่วนร่วมเป็นพลังพัฒนาสังคม จึงควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีความพร้อมมีศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรีเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ พึ่งพาตนเองได้ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ ไม่เหงา ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดบ้านติดเตียงก่อนเวลาอันควรด้วยการให้ความรู้และวิธีการในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยทั้งสุขภาพทางกาย สุขภาพจิต จิตปัญญารวมทั้งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุในการปกป้องตนเองจากภัยรอบด้านด้วยการให้ข่าวสาร ความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การจัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้ง 2 รุ่นที่ผ่านมา มีกลุ่มเป้าหมาย ทั้งสิ้น 70 คน ซึ่งถือเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ยังมีผู้สูงอายุอีกจำนวนมากที่อยากเข้าร่วมโครงการ และอยากให้โครงการโรงเรียนผู้สูงอายนี้มีความต่อเนื่องและมีสถานท่ี่ทำกิจกรรมที่ชัดเจน
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสตำบลปากน้ำ จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปากน้ำ(ส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน)รุ่นที่ 3 ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และนำผู้สูงอายุเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนความสุขครอบคลุมทั้ง 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 รู้เท่าทันและเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

5.00 40.00
2 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแล คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 เข้าถึงการรับบริการของรัฐตามสิทธิ

15.00 40.00
3 เพื่อเสริมสร้้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง กระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย

10.00 40.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย

15.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้งและชี้แจงคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อสร้างความเข้าใจ วางแผนการปฏิบัติงานกำหนดหลักสูตรและกิจกรรม ออกแบบประเมินผลกิจกรรม และดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผน

ปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คน คนละ 35 บาทจำนวน1 ครั้ง เป็นเงินเป็นเงิน700 บาท

กำหนดการ

08.30-09.00//ลงทะเบียน

09.00-09.30//รายงานผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา

09.30-12.00//วางแผนการดำเนินโครงการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม

หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

รับประทานอาหารว่าง 10.30 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แผนการทำกิจกรรมโครงการ หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมชี้แจงปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ และประเมินสุขภาวะก่อนเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมชี้แจงปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ และประเมินสุขภาวะก่อนเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการคัดกรองจากชุมชนและตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการโดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท

2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 100 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

3.ค่าสมนาคุณวิทยากรกระบวนการ 3 คน ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 3 ชั่วโมงเป็นเงิน 2,700 บาท

4.ป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 346 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,546 บาท

ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

กำหนดการ

80.30-09.00//ลงทะเบียน

09.00-09.30//พิธีเปิดโครงการ โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

09.30-11.00//แนะนำคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ชี้แจงหลักสูตรการเรียนการสอนแนะนำการปฏิบัติตัวในการเข้าร่วมโครงการ โดยคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

11.00-12.00//ประเมินความรู้ก่อนเรียน โดยคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

12.00-13.00//พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-16.00//กิจกรรมสันนทนาการ(รู้จักฉัน รู้จักเธอ)และกิจกรรมใจประสานใจโดยวิทยากรกระบวนการ

16.00//ปิดกิจกรรม

หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

รับประทานอาหารว่าง 10.30 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบข้อกำหนดและหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11546.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 36 ชั่วโมง เป็นเงิน 21,600 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่โครงการจำนวน 50 คน คนละ 35 บาท จำวน 12 ครั้งเป็นเงิน 21,000 บาท

3.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เช่น ปากกา สมุด ซองป้ายชื่อ และวัสดุอื่นที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 12,000 บาท

4.ค่าถ่ายเอกสารพร้อมเข้าเล่มคู่มืออบรม เล่มละ 70 บาท จำนวน 50 เล่มเป็นเงิน3,500 บาท

5.ค่ากระเป๋าเอกสาร จำนวน 50 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 62,100 บาท

ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

กำหนดการ

ครั้งที่ 1 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องสวัสดิการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

ครั้งที่ 2 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องการประกอบอาหารเมนูสุขภาพ

ครั้งที่ 3 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุและการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

ครั้งที่ 4 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องดนตรีบำบัด ท่ารำประกอบเพลง(รองเง็ง)

ครั้งที่ 5 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องงานประดิษฐ์ที่น่าสนใจ

ครั้งที่ 6 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องงานประดิษฐ์ที่น่าสนใจ(ต่อ)

ครั้งที่ 7 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องความสำคัญของสุขภาพจิตและการดูแลสุขภาพจิต ป้องกันภาวะซึมเศร้า

ครั้งที่ 8 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องจิตอาสาเพื่อชีวิตและสังคม (กิจกรรมสาธารณประโยชน์ กิจกรรมทางศาสนา) กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน

ครั้งที่ 9 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องบำบัดชีวิต พิชิตโรคด้วยหลักมณีเวชศาสตร์

ครั้งที่ 10 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องการปรับตัวของผู้สูงอายุในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีสุข

ครั้งที่ 11 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องภาษาต่างประเทศเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุ

ครั้งที่ 12 08.30-09.00 ลงทะเบียนและออกกำลังกาย 09.00-12.00 อบรมเรื่องฉลาดคิด ฉลาดเสพ รู้ทันสื่อในยุคดิจิตอล

หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

รับประทานอาหารว่าง 10.30 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการการได้ความรู้จากการทำกิจกรรมโครงการ ครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขกาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสงบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
62100.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ(ส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ(ส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ(ส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน)มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุและสมาชิกครอบครัวของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ และเจ้าหน้าทีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

จัดเป็นเวทีสาธารณะเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนความรู้สู่สาธารณะให้ชุมชนได้ประจักษ์ในศักภาพและพลังของผู้สูงอายุส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี

และมีความสุขโดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

1.ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย 1 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง เป็นเงิน 600 บาท

2.ค่าสมนาคุณวิทยากรกระบวนการ 6 คนชั่วโมงละ 300 บาทจำนวน 2 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600 บาท

3.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการ และเจ้าหน้าที่จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 100 บาท จำนวน 100 คน เป็น 10,000 บาท

4.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท จำนวน 100 คนเป็นเงิน 7,000 บาท

5.ค่าจัดแต่งสถานที่อบรมเป็นเงิน 8,000 บาท ประกอบด้วย ซุ้มดอกไม้บนเวที ซุ้มดอกไม้ลงทะเบียน เป็นต้น

6.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมเป็นเงิน 1,200 บาท

7.ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นเป็นเงิน 3,000 บาท ประกอบด้วย กระดาษ ปากกาเคมี กระดาษแข็ง กระดาษสี เป็นต้น

รวมเป็นเงิน 33,400 บาท

ทุกรายการสามาถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

กำหนดการ

8.30-9.30//ลงทะเบียน

9.30-11.00//ประเมินสุขภาพและสมรรถภาพเบื้องต้น หลังการเรียนการสอน

11.00-12.00//รับฟังการบรรยายในหัวข้อ โรงเรียนผู้สุงอายุกับการส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยวิทยากรบรรยาย

12.00-13.00//พักรับประทานกลางวัน

13.00-14.00//มอบรางวัลสุขภาพดี รางวัลเรียนดี รางวัลขวัญใจเพื่อนร่วมรุ่น และมอบเกียรติบัตร

14.00-16.00//กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ และกิจกรรมสันทนาการ โดยวิทยากรกระบวนการ

16.00-16.30//ประเมินผลการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ

หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

รับประทานอาหารว่าง 10.30 น และ 14.30 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงศักยภาพและแบ่งปันประสบการณ์ชีวิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 107,746.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายกายสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

*ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อายุยืนเกิน 80 ปี
*ผู้สูงอายุมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกำลังใจไม่เป็นโรคซึมเศร้า และสุขภาพดี
*ขยายผลจากกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมโครงการฯและผู้ที่จะเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในอนาคต ให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่าและมีคุณภาพต่อไป


>