กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปากน้ำ(ส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน) รุ่นที่ 3 ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5312-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสตำบลปากน้ำ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 107,746.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ่งนภา อุสมา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนันญา เเสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น
10.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม
30.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และอีก 9 ปีข้างหน้า ในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society)มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้มีผู้สูงอายุ “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ประมาณ 3% หรือ 4 แสนคน จากผู้สูงอายุที่มีอยู่ประมาณ 13 ล้าน (ที่มา:มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.)) จำนวนผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีโดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5% แบ่งเป็น “ผู้สูงอายุวัยต้น” ช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด “ผู้สูงอายุวัยกลาง” ช่วงอายุ 70-79 ปี มีจำนวน 3,522,778 คน คิดเป็น 29.1% และ “ผู้สูงอายุวัยปลาย” อายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน คิดเป็น 14.4% ขณะที่ผู้สูงอายุในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเกิดกลับลดลงและมีอัตราที่ช้ามาก สถานการณ์เด็กเกิดใหม่ของประเทศไทยขณะนี้ต่ำกว่า 600,000 รายต่อปี และในปีนี้ก็มีอัตราการเกิดไม่ถึง 0.5% ด้วยซ้ำ อยู่ที่ 0.18% ถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างน้อย (ที่มา:ระบบสถิติทางการทะเบียน) ปี พ.ศ. 2565 ตำบลปากน้ำมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 11,251 คน จำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,577 คน คิดเป็นร้อยละ๑๒.๑๙14.12 ของประชากรทั้งหมด(สถิติทะเบียนราษฎร ณ ตุลาคม 2565)ถือว่าตำบลปากน้ำก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วเช่นกัน ในพื้นที่ตำบลปากน้ำมีผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 13 ราย ผู้สูงอายุติดเตียง 15 ราย ผู้สูงอายุติดบ้านสถานการณ์เหล่านี้นำมาสู่ปัญหาของผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพอนามัย ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนต้องตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคสูงวัยอย่างมีคุณภาพ ผู้สูงอายุไม่ใช่บุคคลด้อยโอกาสหรือเป็นภาระต่อสังคม แต่สามารถมีส่วนร่วมเป็นพลังพัฒนาสังคม จึงควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีความพร้อมมีศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรีเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ พึ่งพาตนเองได้ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ ไม่เหงา ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดบ้านติดเตียงก่อนเวลาอันควรด้วยการให้ความรู้และวิธีการในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยทั้งสุขภาพทางกาย สุขภาพจิต จิตปัญญารวมทั้งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุในการปกป้องตนเองจากภัยรอบด้านด้วยการให้ข่าวสาร ความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม การจัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้ง 2 รุ่นที่ผ่านมา มีกลุ่มเป้าหมาย ทั้งสิ้น 70 คน ซึ่งถือเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ยังมีผู้สูงอายุอีกจำนวนมากที่อยากเข้าร่วมโครงการ และอยากให้โครงการโรงเรียนผู้สูงอายนี้มีความต่อเนื่องและมีสถานท่ี่ทำกิจกรรมที่ชัดเจน
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสตำบลปากน้ำ จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปากน้ำ(ส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน)รุ่นที่ 3 ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และนำผู้สูงอายุเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนความสุขครอบคลุมทั้ง 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 รู้เท่าทันและเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

5.00 40.00
2 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแล คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 เข้าถึงการรับบริการของรัฐตามสิทธิ

15.00 40.00
3 เพื่อเสริมสร้้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง กระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย

10.00 40.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย

15.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 107,746.00 0 0.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ 0 700.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ 0 62,100.00 -
15 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมประชุมชี้แจงปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ และประเมินสุขภาวะก่อนเรียน 0 11,546.00 -
15 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ(ส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน) 0 33,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

*ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อายุยืนเกิน 80 ปี *ผู้สูงอายุมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกำลังใจไม่เป็นโรคซึมเศร้า และสุขภาพดี *ขยายผลจากกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมโครงการฯและผู้ที่จะเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในอนาคต ให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่าและมีคุณภาพต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2565 00:00 น.