กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหา ป้องกันและควบคุมโรควัณโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

รพ.สต.แหลมโตนด

ตำบลแหลมโตนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราความครอบคลุมการขึ้นทะเบียนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ

 

33.33

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลกได้จัดกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูงของโลก (High Burden Country Lists) ปี ค.ศ. 2016 - 2020 เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ประเทศ ได้แก่ มีภาระวัณโรค (TB) วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี (TB/HIV) และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) สูง (โดยใช้หลักเกณฑ์ ประเทศที่มีค่าคาดประมาณอุบัติการณ์จำนวนผู้ป่วยของแต่ละประเทศสูงสุด 20 อันดับแรก และประเทศที่มีค่าคาดประมาณอัตราอุบัติการณ์สูงสุด 10 ประเทศ ซึ่งไม่จัดอยู่ในกลุ่ม
20 ประเทศแรก) โดยจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรคสูงทั้ง 3 กลุ่ม
ในปี ค.ศ. 2021 องค์การอนามัยโลกได้จัดอันดับกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูงของโลกใหม่ทั้ง 3 ประเภท สำหรับ ปี ค.ศ. 2021 - 2025 โดยประเทศไทย ไม่อยู่ในกลุ่ม 30 ประเทศที่มีจำนวนและอัตราป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูงแล้ว ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยพ้นจาก 14 ประเทศที่มีภาระด้านวัณโรคสูงที่มีทั้ง 3 กลุ่มตามที่องค์การอนามัยโลกได้จัดไว้เดิม แต่ยังอยู่ในกลุ่มของประเภทที่มีภาระวัณโรค และวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี
วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยโดยปี พ.ศ. 2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลก ภายในปีะพ.ส. 2578 โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการรตะดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-2564 (เพิ่มเติม 2565) มีเป้าประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์วัณโรคให้เหลือ 88 ต่อแสนประชากร ยุทธศาสตร์สำคัญประการหนึ่ง คือการเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้คลอบคลุม โดยให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง ในกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย เพื่อเ่รงรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุม โดยให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจที่รวดเร็ว รพ.สต.แหลมโตนด ได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหา ป้องกันและควบคุมโรควัณโรค เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่่ชุมชนและดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ เพื่อลดการแพร่เชื้อของวัณโรคในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคและชี้แจงแบบคัดกรองวัณโรคและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน

อสม.ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการคัดกรองวัณโรค ร้อยละ 90

33.00 88.00
2 เพื่อพัฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90

33.00 88.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 27
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 973
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจกลุ่มเสี่ยงวัณโรค

ชื่อกิจกรรม
สำรวจกลุ่มเสี่ยงวัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงวัณโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการขึ้นทะเบียนและคัดกรองวัณโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และชี้แจงแบบคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และชี้แจงแบบคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคและชี้แจงแบบคัดกรอง แก่อสม. งบประมาณค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 126 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3150บาท 2.ฝึกปฏิบัติการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และติดตามเยี่ยมผู้ปวย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการคัดกรองวัณโรค ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 3 ค้นหาแและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง

ชื่อกิจกรรม
ค้นหาแและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง งบประมาณ ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มคัดกรอง จำนวน 1,000 แผ่นๆละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 500 บาท 2.ส่งต่อกลุ่มเสียงสูงเข้ารับการตรวจที่ รพ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 3,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปวยวัณโรคได้รับการดูแลตามแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาต
2. แกนนำ มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานป้องกันวัณโรคและเยี่ยมบ้านติดตามผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกมีศักยภาพเพิ่มขึ้น


>