กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ

-

ตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถิติข้อมูลการให้บริการ ปี 2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลตะปอเยาะ(ผู้ป่วยทั้งในและนอกเวลาราชการ และ รายงานสรุปการใช้ยาสมุนไพร) พบว่ามีการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพียงร้อยละ 22.56 และ มูลค่าการใช้ยาจากสมุนไพรไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เพียงร้อยละ 6.4 นั้น ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่ร้อยละ 18 จากการสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และข้อดีของการใช้สมุนไพรของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ พบว่าร้อยละ 65.39 ของประชาชนที่มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และข้อดีของการใช้สมุนไพรต่ำกว่าเกณฑ์ เป็นผลใช้ประชาชนเลือกใช้ยาแผนปัจจุบันมากกว่าการเลือกใช้ยาสมุนไพร ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ จึงจัดทำโครงการส่งเสริม “สุขภาพดีวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้พืชสมุนไพรใกล้ตัว เพื่อเป็นการดูแล ตนเองได้แบบยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัว เพื่อเป็นการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
ข้อที่ 2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และข้อดีของการใช้สมุนไพรใกล้ตัว
ข้อที่ 3อาสาสมัครสาธารณสุข ได้รับการฟื้นฟูความรู้เรื่องสมุนไพรในครัวเรือน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 : -จัดอบรมให้ความรู้การใช้สมุนไพรใกล้ตัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 : -จัดอบรมให้ความรู้การใช้สมุนไพรใกล้ตัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 : -จัดอบรมให้ความรู้การใช้สมุนไพรใกล้ตัว โดยมีวิธีดำเนินการดังนี้ กิจกรรมที่ 1ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน แก่เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อร่วมกันดูแลประชานในเขตพื้นที่รับผิดชอบในพื้นที่และส่งต่อข้อมูลให้อาสาสมัครสาธารณสุข และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ งบประมาณ -ค่าไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 700 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ สมุนไพรสด และสมุนไพรแห้งในการทำยาดมสมุนไพร 1.พริกไทยดำแห้ง 2 กก.ๆ 500 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท 2.ดอกจันทร์เทศแห้ง 1 กก.ละ 1260 บาท เป็นเงิน 1,260 บาท 3.กานพลูแห้ง 1 กก.ๆละ 580 บาทเป็นเงิน 1,160 บาท 4. ลูกกระวานแห้ง 2 กก.ๆละ 1,090 บาท เป็นเงิน 2,180 บาท 5. เมนทอล 2 กก.ๆละ 1,600 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท 6.การบูร 2 กก.ๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500.- บาท 7.พิมเสน 2 กก.ๆ ละ 1,350 บาท เป็นเงิน 2,700.-บาท เป็นเงิน 13,700 บาท -ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับจัดกิจกรรม จำนวน 50 คน * 140 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ท่าน6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 24,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัว เพื่อเป็นการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในด้านการวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในด้านการวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2
อบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในด้านการวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัว - จัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ยาสมุนไพรใกล้ตัว และการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างง่ายและนำไปใช้เพื่อการพึ่งพาตนเองและบุคคลในครัวเรือน
งบประมาณ กิจกรรมที่ 2 -ค่าวัสดุอุปกรณ์และสมุนไพรในการจัดทำลูกประคบสมุนไพร 1.ไพล 5 กก.ๆ ละ 120 บาท
เป็นเงิน 600 บาท 2.ขมิ้นชัน 5 กก. ๆ ละ 50 บาท
เป็นเงิน 250 บาท 3.ตะไคร้ 5 กก. ๆ ละ 70 บาท
เป็นเงิน 350 บาท 4.ผิวมะกรูด5 กก.ๆ ละ 50 บาท
เป็นเงิน 250 บาท 5.ใบมะขาม 3 กก.ๆ 70บาท ละ
เป็นเงิน 210-บาท 6.พิมเสน 2 กก.ๆ1,350 บาท ละ
เป็นเงิน 2,700.-บาท 7.การบูร 2 กก.ๆ ละ750 บาท
เป็นเงิน 1,500.- บาท 8.เกลือ 8 ถุงๆ ละ30 บาท เป็นเงิน 240-บาท 9.ผ้าดิบ 50 หลาๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250.-บาท 10.เชือกผ้าสีขาวมัดลูกประคบ 10 ก้อน ๆ ละ 17 บาทเป็นเงิน 170.-บาท เป็นเงิน 7,520 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ท่าน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับจัดกิจกรรม จำนวน 50 คน * 140บาท
เป็นเงิน 7,000 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 18,120 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และข้อดีของการใช้สมุนไพรใกล้ตัว 2.อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนได้รับการฟื้นฟูความรู้เรื่องสมุนไพรในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18120.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัวในการดูแลตนเองและครอบครัว
อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และข้อดีของการใช้สมุนไพรใกล้ตัวในการดูแลตนเอง
อาสาสมัครสาธารณสุข ได้รับการฟื้นฟูความรู้เรื่องสมุนไพรในครัวเรือน


>