กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สูงวัยอุ่นใจด้วยสุขภาพจิตดี สุขภาพกายแข็งแรง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำใหม่

กองวิชาการ

ผอ กองวิชาการ ทต ลำใหม่

ทต ลำใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

45.02
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

55.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

 

70.65

ความชราคือธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ในสังคมผู้สูงอายุมักจะถูกมองว่าเป็นคนแก่เลอะเลือน ทำอะไรไม่ค่อยได้ ความคิดอ่านโบราณ เหมือนเป็นดอกไม้ที่ใกล้โรยราเต็มที อย่างไรก็ตามหากดอกไม้ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงฉันใด ผู้สูงอายุก็ต้องการการดูแลเอาใจใส่ฉันนั้น เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งสุขภาพร่างกายเสื่อมลงและจิตใจแปรปรวน ปัญหาด้านสภาพจิตใจของผู้สูงอายุเกิดจากความรู้สึกสูญเสีย ทั้งคนใกล้ชิดอย่างบุตรหลานที่ค่อยๆ เติบโตแยกย้ายไปมีครอบครัว รวมถึงเพื่อนสนิทหรือคู่ชีวิตที่ล้มหายตายจากไป สูญเสียความสามารถการเป็นที่พึ่ง ภาวะผู้นำ การยอมรับจากผู้อื่น อีกทั้งโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาพสังคมแบบในอดีตเริ่มเลือนหายไป การแข่งขันสูงขึ้น จากครอบครัวใหญ่กลายเป็นครอบครัวเล็ก เป็นต้น
ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะกลับไปเป็นเหมือนเด็กที่ต้องการการพึ่งพาอาศัยจากผู้อื่น สัญญาณเตือนที่บ่งชี้ว่าผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิดมีดังนี้
1.มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เกิดความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ เบื่อหน่าย
2.ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ค่อยๆ แยกตัวออกมาจากสังคม
3.ไม่อยากทำอะไร
4.มีความเกี่ยวข้องกับโรคทางกาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
5.ขาดกำลังใจ
จากสัญญาณเตือนเหล่านี้ สามารถพัฒนาจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งปัจจุบันพบว่า 10-20% ของผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีมีภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะผู้หญิง และยิ่งมีอายุมากความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้อัตราฆ่าตัวตายยังพบในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ สะท้อนให้เห็นสภาพจิตใจที่ไม่มั่นคงของคนสูงวัย
การดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนใกล้ชิด แน่นอนว่าไม่มีใครอยากเห็นผู้ใหญ่ที่เคารพรักต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ด้วยวัยที่ห่างกันอาจจะทำให้การสื่อสารแตกต่างกันบ้าง ลูกหลานควรพยายามปรับตัวเพื่อที่จะเข้าใจคนวัยนี้มากขึ้น สิ่งแรกที่แนะนำให้ทำคือทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนรวมกับครอบครัว โดยการใช้เวลาอยู่กับผู้สูงอายุพูดคุยและรับฟัง รวมถึงดูแลใส่ใจด้านสุขภาพ พาผู้สูงอายุในบ้านไปพบแพทย์
นอกจากการสนับสนุนภายในครอบครัวแล้ว สังคมภายนอกเองก็มีผลอย่างมาก ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่แต่ในบ้านมีแนวโน้มเกิด “ภาวะเนือยนิ่ง” คือมีความรู้สึกห่อเหี่ยว หดหู่ ดังนั้นการทำกิจกรรมต่างๆ ตามความสนใจจะสามารถช่วยเยียวยาจิตใจผู้สูงวัยได้มากทีเดียว
กิจกรรมทางสังคมจะทำให้ผู้สูงอายุได้พบปะกับผู้อื่นในวัยใกล้เคียงกัน จึงไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ปรับตัวและยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น สนับสนุนให้พวกเขามีความนับถือในตัวเอง ป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า แนวทางการจัดกิจกรรมสังคมควรจะมีความหลากหลายและสามารถแก้ปัญหาของผู้สูงอายุได้ เช่น ช่วยดูแลสุขภาพ ทำให้จิตใจสดชื่น มีความภูมิใจในชีวิต จัดการกับสภาวะอารมณ์ เป็นต้น
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ หมวด๒ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ ม.๑๖ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มฉบับที่ ๑๔ พ.ศ.๒๕๖๒ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวดที่5 หน้าที่ของรัฐ ม.55 ม.56 ม.58
ในการนี้ เทศบาลตำบลลำใหม่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลลำใหม่ ที่นับวันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ข้อมูล ณ ปัจจุบัน วันที่ 7 มิถุนายน 2565 เทศบาลตำบลลำใหม่ มีจำนวนผู้สูงอายุที่รับเงินผู้สูงอายุจำนวน 133 คน เป็นผู้ป่วยติดเตียง จำนวน ...4...คน และผู้ป่วยติดบ้านจำนวน ....8..... คน เทศบาลตำบลลำใหม่ จึงได้จัดทำสูงวัยอุ่นใจด้วยสุขภาพจิตดี สุขภาพกายแข็งแรง ให้กับผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ทั้งที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นผู้ป่วยติดเตียง และเป็นผู้ป่วยติดบ้าน ที่มีอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลลำใหม่ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

55.00 70.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

45.02 90.00
3 เพื่อลด จำนวนผู้สูงอายุที่ติดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม  ลดลง

70.65 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/06/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานวางแผนการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานวางแผนการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานวางแผนการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2566 ถึง 2 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการวางแผนการดำเนินโครงการ ในแต่ละกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

ค่าไวนิล 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้มาสมัครเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแล

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแล

-ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 2 ข.ม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน2,100 บาท -ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 65บาทจำนวน 30 คน 1,950 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม เป็นเงิน 1,600บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงินจำนวน 8,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 3 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล ผู้สูงอายุ ตามหลัก 3 อ .

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8050.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินและตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นก่อนและหลังการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินและตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นก่อนและหลังการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดผลที่ได้จากการทำกิจกรรม
  • ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ เดือนที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ เดือนที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ เดือนที่ 1
กิจกรรมที่ 1 รู้เรื่องสุขภาพ กับผู้สูงอายุ
อบรมเรื่อง “สูงวัยไม่ล้ม”

กิจกรรมที่ 2 เมนูสุขภาพ

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทางกายในวัยผู้สูงอายุ

งบประมาณ

วิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท รวม 1800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆ ละ35 บาท เป็นเงิน 1050 บาท
-ค่าวัสดุในการทำเมนูเพื่อสุขภาพ 1000 บาท
เป็นเงิน 3850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 10 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้สงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3850.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ เดือนที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ เดือนที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ เดือนที่ 2
กิจกรรมที่ 1 รู้เรื่องสุขภาพ กับผู้สูงอายุ
อบรมเรื่อง “ศาสตร์แพทย์แผนไทยกับวัยผู้สูงอายุ”

กิจกรรมที่ 2 เมนูสุขภาพ

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทางกายในวัยผู้สูงอายุ


งบประมาณ วิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท รวม 1800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆ ละ35 บาท เป็นเงิน 1050 บาท
-ค่าวัสดุในการทำเมนูเพื่อสุขภาพ 1000 บาท
เป็นเงิน 3850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2566 ถึง 10 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้สงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3850.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ เดือนที่ 3

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ เดือนที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ เดือนที่ 3

กิจกรรมที่ 1 รู้เรื่องสุขภาพ กับผู้สูงอายุ
อบรมเรื่อง “สมุนไพรไทยกับการป้องกันโรค”

กิจกรรมที่ 2 เมนูสุขภาพ

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทางกายในวัยผู้สูงอายุ

งบประมาณ

วิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท รวม 1800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คนๆ ละ35 บาท เป็นเงิน 1050 บาท
-ค่าวัสดุในการทำเมนูเพื่อสุขภาพ 1000 บาท
เป็นเงิน 3850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กันยายน 2566 ถึง 7 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้สงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3850.00

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมผู้สูงอายุต้นแบบ มอบเกียรติบัตรพร้อมกรอบให้ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมผู้สูงอายุต้นแบบ มอบเกียรติบัตรพร้อมกรอบให้ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมผู้สูงอายุต้นแบบ มอบเกียรติบัตรพร้อมกรอบให้ผู้สูงอายุ
เกียรติบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 30 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กันยายน 2566 ถึง 21 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดผู้สูงอายุต้นแบบด้านสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ดูแลและครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแลมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
2.ผู้สูงอายุได้เข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายและประเมินสุขภาพจิตโดยทีมสหะวิชาชีพในเชิงรุกทั้งที่ป่วยติดเตียงติดบ้าน
3.มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูอายุและผู้ดูแลอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง
4.ผู้สูงอายุได้รับการปัองกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้อย่างถูกต้อง


>