กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการดูแลและห่วงใยสุขภาพผู้สูงอายุ(ชราธิวาส)และผู้มีภาวะพึงพิงและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลและห่วงใยสุขภาพผู้สูงอายุ(ชราธิวาส)และผู้มีภาวะพึงพิงและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ

หมู่ที่1-5 ตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากร ซึ่งจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 20 และเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 28 ตามลำดับ พบว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี การคัดกรองผู้สูงอายุจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของรพ.สต.ตะปอเยาะ ปี2565 พบว่า ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ร้อยละ 93.65 , 94.21 และ 96.25 ผลจากการคัดกรองฯ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 97.15, 94.21 และ 97.26 รองลงมาเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ร้อยละ 2.24,3.70 และ 1.17 และกลุ่มติดเตียงพบร้อยละ0.61,0.42 และ 0.58ภารกิจหลักในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงอายุในทุกระดับ บนฐานข้อมูลและองค์ความรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (GOAL) “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้สูงอายุที่และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลบริการด้านสาธารณสุขถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่อง โดยการอบรมพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และนักอาสาบริบาลในชุมชน จิตอาสาในชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้บรรลุเป้าหมาย แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ทางรพ.สต.ตะปอเยาะได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการดูแลและห่วงใยสุขภาพผู้สูงอายุ(ชราธิวาส)และผู้มีภาวะพึงพิงและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายปี 2566
เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพในชุมชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียม เสริมสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุไทยมีสุขภาวะที่ดีในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพกายและใจ

ร้อยละ50 ของชมรมผู้สูงอายุมีการวางแผน well ness  plan

20.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 149
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุติดสังคมเรื่อง การดูแลสุขภาพที่จำเป็นการทานอาหารเป็นยา ไม่หลง ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า ทานข้าวอร่อย

ชื่อกิจกรรม
1จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุติดสังคมเรื่อง การดูแลสุขภาพที่จำเป็นการทานอาหารเป็นยา ไม่หลง ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า ทานข้าวอร่อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 1.1ประชาสัมพันธ์โครงการให้ชุมชนทราบอย่างทั่วถึง 1.2จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 ด้าน และการบันทึกข้อมูลของอสม.ผ่าน Application Blue book 1.3 อสม.คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 ด้านในชุมชน และ บันทึกข้อมูลผ่าน ApplicationBlue book 1.4จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุติดสังคมเรื่อง การดูแลสุขภาพที่จำเป็นการทานอาหารเป็นยา ไม่หลง ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า ทานข้าวอร่อย
งบประมาณ 1.1 ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1.20*2.35 ม.จำนวน 1 ผืนๆละ เป็นเงิน 700 บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง สำหรับ อสม.เข้ารับการอบรม จำนวน 100 คนx 140 บาท เป็นเงิน14,000.-บาท 1.3 ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท x1วัน
เป็นเงิน3,600.- บาท 1.4 ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย ในการจัดอบรมฯ 100 คน x140 บาท
เป็นเงิน 14,000บาท รวมเป็นเงิน 32,200.-บาท


กิจกรรมที่ 4 1.จัดอบรมให้ความรู้ความรู้กับญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลผู้มีภาวะพึงพิงและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2.เยี่ยมบ้านพร้อมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยพิการหรือทุพพลภาพ พร้อมมอบของเยี่ยม 3.สรุปและติดตามประเมินผล งบประมาณ 4.1 ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการจัดอบรมฯ จำนวน 40 คน x140 บาท เป็นเงิน5,600.-บาท 4.2 ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน3,600.-บาท รวมเป็นเงิน 9,200-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพตามเกณท์ 2ผู้สูงอายุได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพกายและใจ 3.ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่2ประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงาน ชมรมผู้สูงอายุแก่คณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่2ประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงาน ชมรมผู้สูงอายุแก่คณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 2.1 ประชุมแต่งตั้ง คณะกรรมการและจัดทำคำสั่งการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ 2 ชมรม 2.2ประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงาน ชมรมผู้สูงอายุแก่คณะทำงาน 3.จัดทำแผนผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) 4.เจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมติดตามชมรมผู้สูงอายุ งบประมาณ 1 ค่าอาหารว่าง สำหรับการจัดประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุจำนวน 24 คน x35 บาท 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,680 บาท รวมเป็นเงิน 1,680.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพกายและใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1680.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่3จัดกิจกรรมพร้อมให้ความรู้ตรวจสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่3จัดกิจกรรมพร้อมให้ความรู้ตรวจสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 1.-ประชาสัมพันธ์โครงการให้ชุมชนทราบอย่างทั่วถึง 2.คัดเลือกผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 3.จัดกิจกรรมพร้อมให้ความรู้ตรวจสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุและคัดกรองผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันให้มาทำฟันปลอมจำนวน 25 คน ตามกิจกรรมดังนี้ พิมพ์ปาก วัดขนาดช่องปากเพื่อส่งแลปฟัน ทดลองฟันครั้งที่1พร้อมแก้ฟัน ทดลองฟันครั้งที่2 5.จัดประชุมให้ความรู้การดูแลรักษาความสะอาดฟันเทียมพร้อมมอบฟันเทียม สำหรับคนไม่มีฟัน 6.สรุปและติดตามประเมินผล งบประมาณ 3.1ค่าอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันผู้สูงอายุ 100 คนๆละ 50 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท 3.2ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำฟันเทียม 3.3ปูน Stone จำนวน 6 ถุงๆละ 350 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท. 3.3 อาจิเน็ต จำนวน 6 ถุงๆละ 185 บาท เป็นเงิน 1,110 บาท รวมเป็นเงิน 8,210.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้สูงอายุความรู้ตรวจสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุและคัดกรองผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันให้มาทำฟันปลอม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8210.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม 4 จัดอบรมให้ความรู้กับญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลผู้มีภาวะพึงพิงและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม 4 จัดอบรมให้ความรู้กับญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลผู้มีภาวะพึงพิงและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 4 1.จัดอบรมให้ความรู้ความรู้กับญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลผู้มีภาวะพึงพิงและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2.เยี่ยมบ้านพร้อมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยพิการหรือทุพพลภาพ พร้อมมอบของเยี่ยม 5.สรุปและติดตามประเมินผล งบประมาณ 1 ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการจัดอบรมฯ จำนวน 40 คน x140 บาท เป็นเงิน5,600.-บาท 4.2 ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน3,600.-บาท รวมเป็นเงิน 9,200-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลผู้มีภาวะพึงพิงและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,390.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพตามเกณท์
๒.ผู้สูงอายุได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพกายและใจ
3.มีการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพ สังคม และสวัสดิการ
4.ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี
5.เครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้มีภาวะพึงพิงและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย


>