กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เด็กไทยฟันดี ชีวีมีสุขทุกช่วงวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาฃอซีรา

1. นายพิชิตชัยเจ๊ะมะ
2. นางสาวอาซูรามาหามะ

โรงเรียนบ้านกวาลอซีรา โรงเรียนบ้านซรายอศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอิสละ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซรายอศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกวาลอซีรา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากควรเริ่มตั้งแต่เด็กที่มีฟันน้ำนมซี่แรก เพราะฟันน้ำนมถือเป็นฟันชุดแรกที่มีขึ้นในช่องปาก หากดูแลรักษาดี ไม่ให้ถูกถอนหรือหลุดก่อนวัยอันควร ก็จะสามารถดูแลชุดฟันแท้ที่ขึ้นตามมาในอนาคตได้ โดยจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าเด็กอายุ 6-12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันผุ ร้อยละ 78.9 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด ๑.7 ซี่/คน โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เด็กมีสภาวะฟันผุเกิดจากพฤติกรรมการชอบบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลในปริมาณที่ไม่เหมาะสม เด็กส่วนใหญ่ชอบบริโภคขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ น้ำหวานรวมไปถึงเครื่องดื่มน้ำอัดลม ซึ่งมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักที่ส่งผลทำให้เกิดโรคฟันผุ นอกจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมแล้วพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้องยังเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลทำให้เกิดโรคฟันผุอีกด้วย จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา พ.ศ. ๒๕๖๕ สำรวจพฤติกรรมการแปรงฟันของเด็ก พบว่า เด็กอายุ 6-๑๒ ปี ร้อยละ 82.๕ แปรงฟันหลังตื่นนอนตอนเช้าทุกวัน ส่วนการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันพบว่าเด็กอายุ 6-๑๒ ปี ร้อยละ 16.๓ ที่แปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนทุกวัน ร้อยละ ๓2.5 แปรงบางวัน และร้อยละ ๕1.2 ตอบว่าไม่เคยแปรงเลย จากสถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เด็กมีการแปรงฟันหลังมื้ออาหารกลางวันที่น้อย รวมทั้งจากการสำรวจเด็กอายุ 2-3 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 358 คน พบว่ามีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 79.8 ซึ่งถือว่ายังเป็นปัญหาที่สำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเช่นกัน
จากปัญหาดังกล่าวทางกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 2-3 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเด็กอายุ 6-12 ปีในเด็กวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการ เด็กไทยฟันดี ชีวีมีสุขทุก ช่วงวัย เพื่อให้เด็กมีความรู้และเกิดความเคยชินในการดูแลสุขภาพช่องปาก รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้โรงเรียนมีแกนนำนักเรียนด้านทันตสุขภาพ

 

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนทุกแห่งในพื้นที่รับผิดชอบ มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก และสามารถแปรงฟันให้เด็กได้อย่าถูกวิธีและสะอาด

 

0.00
4 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 2-3 ปี

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 282
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมนักเรียนในการดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียน จำนวน 2 โรง ๆ ละ 1 วัน และอบรมผู้ปกครองจำนวน 3 ศูนย์ๆ ละ 1 วัน รวม 5 วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมนักเรียนในการดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียน จำนวน 2 โรง ๆ ละ 1 วัน และอบรมผู้ปกครองจำนวน 3 ศูนย์ๆ ละ 1 วัน รวม 5 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 5 วัน                    เป็นเงิน  9,000  บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มจำนวน 3 คนๆ ละ ๓ ชั่วโมงๆ ละ ๔๐๐ บาท จำนวน 5 วัน                           เป็นเงิน 18,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียน จำนวน 155 คนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน  รวมจำนวน 175 คนๆ ละ 2 มื้อๆละ ๒๕ บาท                                    
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท                                          เป็นเงิน    1,000  บาท
  • ค่ากระดาษซาลาเปา จำนวน 20 แผ่นๆ ๕ บาท
                                               เป็นเงิน      100  บาท
  • ค่าปากกาเคมี จำนวน ๑ กล่องๆ ละ 132 บาท                                                                                   เป็นเงิน      132  บาท
  • ค่ากระดาษ A4 จำนวน 5 รีมๆละ 125 บาท         
    เป็นเงิน   625 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การประเมินความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคในช่องปาก (แบบทดสอบก่อน-หลังให้ความรู้) จำนวน 310 แผ่นๆละ ๐.๕๐ สตางค์
               เป็นเงิน   155  บาท
    • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม (แผ่นพับเรื่อง การป้องกันโรคฟันผุและดูแลสุขภาพช่องปาก) จำนวน 155 แผ่นๆละ 1 บาท (หน้า-หลัง) เป็นเงิน      155  บาท
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด ๑.2 x ๒.5 เมตร จำนวน ๑ ผืนๆ ละ 750 บาท                                                                 เป็นเงิน      750  บาท
  • ค่าป้ายโฟมบอร์ด ขนาด 60 ซม. x 40 ซม. จำนวน 5 ผืนๆ ละ 240 บาท                                                        เป็นเงิน  1,200    บาท
  • เม็ดสีย้อมคราบฟัน จำนวน 3 กล่องๆละ 1,800 บาท
                                                      เป็นเงิน 5,400  บาท
    • แปรงสีฟันสำหรับเด็ก ๖ - ๑๒ ปี จำนวน 155 ด้ามๆ ละ  ๒5 บาท
                                             เป็นเงิน 3,875 บาท
    • ยาสีฟันขนาด 20 กรัม จำนวน 155 กล่องๆละ 12 บาท
                                       เป็นเงิน  1,860    บาท
  • ค่าแก้วพลาสติกใสลอนสำหรับแปรงฟัน จำนวน 155 ใบ จำนวน 3 แพ็คๆละ 50 บาท                                          เป็นเงิน   150 บาท รวมเป็นเงิน 51,152 บาท (ห้าหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โรงเรียนมีแกนนำทันตสุขภาพ
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษามีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน
  3. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 6-12 ปีลดลง
  4. ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก และสามารถแปรงฟันให้เด็กได้อย่าถูกวิธีและสะอาด
  5. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 2-3 ปีลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51152.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมการส่งเสริมทันตสุขภาพกลุ่มผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 ศูนย์ๆ ละ 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการส่งเสริมทันตสุขภาพกลุ่มผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 ศูนย์ๆ ละ 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 127 คน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน รวมจำนวน 157 คนๆ ละ 2 มื้อๆละ ๒๕ บาท                           
               เป็นเงิน 7,85๐  บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 127 คน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน รวมจำนวน 157 จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท                                       เป็นเงิน  7,85๐  บาท
  • ค่าสมุดฟันดีติดดาว สำหรับกระตุ้นให้เด็กแปรงฟัน จำนวน 127 เล่มๆละ 10 บาท                                 เป็นเงิน 1,270 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม (แผ่นพับเรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กเล็ก) จำนวน 155 แผ่นๆละ 1 บาท (หน้า-หลัง)                                     เป็นเงิน  155  บาท
  • แปรงสีฟันสำหรับเด็ก 2-3 ปี จำนวน 155 ด้ามๆ ละ ๒5 บาท
    เป็นเงิน 3,875 บาท
  • ยาสีฟันสำหรับเด็กขนาด 20 กรัม จำนวน ๑55 กล่องๆ ละ 12 บาท
    เป็นเงิน 1,86๐ บาท
  • ฟลูออไรด์วานิช ขนาด 10 มิลลิกรัม จำนวน ๕ หลอดๆ ละ 2,000 บาท
              เป็นเงิน 10,000บาท
  • ชุดโมเดลสอนแปรงฟันแบบตุ๊กตา จำนวน 1 ชุดๆ ละ 3,000 บาท
                                                      เป็นเงิน  3,000    บาท
  • ค่าแก้วพลาสติกใสลอนสำหรับแปรงฟัน จำนวน 127 ใบ จำนวน 3 แพ็คๆละ 50 บาท                                          เป็นเงิน   150 บาท รวมเป็นเงิน 36,010 บาท  (สามหมื่นหกพันสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โรงเรียนมีแกนนำทันตสุขภาพ
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษามีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน
  3. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 6-12 ปีลดลง
  4. ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก และสามารถแปรงฟันให้เด็กได้อย่าถูกวิธีและสะอาด
  5. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 2-3 ปีลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36010.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 87,162.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียนมีแกนนำทันตสุขภาพ
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษามีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน
3. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 6-12 ปีลดลง
4. ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก และสามารถแปรงฟันให้เด็กได้อย่าถูกวิธีและสะอาด
5. อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 2-3 ปีลดลง


>