กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กไทยไม่จมน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาปีพุทธศักราช 2542 หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา ระบุไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียน ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่
ตามหลักสูตรสถานศึกษา ในมาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๓ รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ตรงตามแผนยุทธศาสตร์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านผู้เรียนมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย กลยุทธ์ที่ 1.2 การพัฒนาด้านส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของเด็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เห็นว่าปัญหาเด็กจมน้ำเสียชีวิต จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค หลังปี ๒๕๖๐ พบเด็กจมน้ำเสียชีวิตตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปถึง ๑๕ เหตุการณ์ หรือ ร้อยละ ๗๑.๔ ของเหตุการณ์เด็กจมน้ำทั้งหมด โดยเฉพาะช่วงกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งในช่วงดังกล่าวนั้นจะพบเด็กจมน้ำเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุหลักเกิดจากชวนกันไปเล่นน้ำเป็นกลุ่ม และเด็กขาดทักษะในการเอาตัวรอดในน้ำ รวมถึงการช่วยเหลือที่ถูกต้อง การดำเนินการโครงการเด็กไทยไม่จมน้ำ เป็นโครงการที่สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการสอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง หมายถึง สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้เน้นการสอน “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” ต้องให้เด็กเรียนรู้กฎความปลอดภัยทางน้ำ รู้จักการช่วยด้วยการใช้มาตรการ “ตะโกน โยน ยื่น” คือ ๑. ตะโกน การเรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วย ๒. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะ จับ พยุงตัว เช่น ถัง แกลลอนพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ โดยโยนครั้งละหลาย ๆ ชิ้น ๓. ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ผ้าขาวม้าให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ เป็นต้น และให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง,บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมดถึงวิธีป้องกันอันตรายจากน้ำที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนรู้จักวิธีป้องกันตนเองไม่ให้ตกน้ำ สามารถแก้ไขปัญหาเมื่อต้องพบกับเหตุการณ์จริงจากพื้นที่เสี่ยงต่อการตกน้ำ จมน้ำได้

เด็กนักเรียนไม่เข้าใกล้แหล่งน้ำหากไม่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วย และเข้าใจคำว่า “ตะโกน โยน ยื่น” สามารถปฏิบัติตามคำว่า “ตะโกน โยน ยื่น” ได้

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง,บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมดรู้ถึงวิธีป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ปฏิบัติการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่คนที่ได้รับอุบัติเหตุ และสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้

ผู้ปกครอง,บุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด นำเสนอวิธีป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก เข้าใจในสิ่งที่วิทยากรบรรยายให้ความรู้ ปฏิบัติการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่คนที่ได้รับอุบัติเหตุตามวิธีที่วิทยากรแนะนำได้ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นเข้าใจได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู นักเรียน ผู้ปกครอง 216

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องวิธีการป้องกันอุบัติเหตจากการจมน้ำ แก่เด็ก,ผู้ปกครอง,บุคลากร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด จำนวน 234 คน 1. วิทยากรบรรยาย ได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้ สาเหตุที่เกิดการจมน้ำ - พื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำ - วิธีการป้องกันการเกิดการจมน้ำ – วิธีการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเกิดการตกน้ำ 2.วิทยากรสาธิตการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุคนตกน้ำ และการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับอุบัติเหตุ ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฏิบัติในเรื่องการช่วยตนเองและการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน1,800 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (216 คน×1 มื้อ×25 บาท)=5,400บาท

รวมเงินทั้งสิ้น7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กไม่เกิดอุบัติเหตุจากการจมน้ำ และสามารถแก้ไขปัญหาเมื่อต้องพบกับเหตุการณ์จริงจากพื้นที่เสี่ยงต่อการตกน้ำ การจมน้ำได้
2. ผู้ปกครอง,บุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโหมด มีวิธีป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ปฏิบัติการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่คนที่ได้รับอุบัติเหตุ และสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการอบรมให้กับผู้อื่นได้


>