กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพที่ดี วิถีไทย ด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

กลุ่มอาสาสายธารทิพย์ สู่ชุมชน

1.นางสุวิมล ฮิ้วเส็ง

2. นางอุดมรัตน์ หมุนจินดา

3.นางกัญญาภัค พัธนันท์

4.นางอภิภัค ไชยถาวร

5. นางสาวศศิลักษณ์ โกมล

ตำบลคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนมีความเข้าใจเรื่องการใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่ไม่เหมาะสม

 

36.00
2 ร้อยละของประชากรรับประทานอาหารฟาสฟู๊ด

 

63.00
3 ร้อยละประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

 

62.00

การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าในยุคปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มีเพิ่มมากขึ้น ทั้งโรคติดต่อและไม่ติดต่อ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ ใช้ชีวิตด้วยความประมาท ไม่รู้จักวิธีป้องกันโรค อีกทั้งมีการรับประทานอาหารสำเร็จรูปหรือที่เรียกว่าอาหาร “ฟาสฟู้ด” จากการใช้ชีวิตประจำวันเช่นนี้จะส่งผลให้เกิดโรคภัยต่างๆ เช่น ความดัน เบาหวาน มะเร็ง หัวใจกรดไหลย้อน ไขมันในเลือดสูง และอื่นๆ โรคเหล่านี้เป็นโรคที่เราสามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารให้ถูกวิธี ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งคนไทยในอดีตกินพืชเป็นหลักกินผักเป็นยา มีเวลาในการออกกำลังกายคู่กันไปและประเทศไทยนั้นมีพืชผักที่มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรสามารถป้องกันและรักษาโรคภัยต่างๆได้ แต่คนไทยปัจจุบันไม่เห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว
ซึ่ง"กลุ่มอาสาสายธารทิพย์ สู่ชุมชน"ได้ลงเยี่ยมผู้ป่วย และได้พบสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อส่วนใหญ่มาจาก พฤติกรรม การกิน จึงจัดทำโครงการ “สุขภาพดี วิถีไทย สมุนไพรพื้นบ้าน”เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและใส่ใจดูแลสุขภาพแบบพึงพาตนเองซึ่งในปัจจุบัน สมุนไพรพื้นบ้านสามารถตอบโจทย์ในเรื่องสุขภาพได้ดีพอสมควร เช่น ว่านหางจระเข้มีประโยชน์ ในเรื่องของกรดไหลย้อน โรคกระเพาะ กระชาย มีคุณสมบัตในการต้านเชื้อไวรัสป้องกันการเกิดโรคได้มากมาย เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพรไทยและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ร้อยละประชาชนมีความรู้และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพรไทยและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

36.00 46.00
2 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และตระหนักถึงอันตรายของอาหาร “ฟาสฟู้ด”

ร้อยละประชาชนได้รับความรู้และตระหนักถึงอันตรายของอาหาร “ฟาสฟู้ด”

63.00 80.00
3 เพื่อให้ประชาชนรู้จักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี แบบพึงพาตนเอง ตามวิถีไทย

ร้อยละประชาชนรู้จักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี  แบบพึงพาตนเอง ตามวิถีไทย

62.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท

-ค่าวัสดุสำนักงาน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2566 ถึง 10 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง สุขภาพดีวิถีไทยห่างไกลโรค

-อาหารที่เหมาะสมกับวัย

-การดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาได้

-รู้ทันโรค และการป้องกัน

รายละเอียดงบประมาณ

-เอกสารประเมินและตรวจคัดกรองเบื้องต้นก่อนอบรม 300 บาท

-ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

-ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 3 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 30 บาท 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 4,800 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 4,800 บาท

-ค่าไวนิลโครงการ 750 บาท

-ค่าเช่าสถานที่พร้อมเครื่องเสียง 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2566 ถึง 25 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได่รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17550.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ความรู้สมุนไพรในครัวเรือนไทย

-สมุนไพรไทยท้องถิ่น

-การนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

-ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 30 บาท 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 4,800 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 4,800 บาท

-กระถางต้นไม้ จำนวน 160 กระถางๆละ 40 บาท รวมเป็นเงิน 6,400 บาท

-ดินหมัก จำนวน 200 กระสอบๆละ 35 บาท รวมเป็นเงิน 7,000 บาท

-ปุ๋ยคอก จำนวน 100 กระสอบๆละ 80 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท

-ค่าเช่าสถานที่พร้อมเครื่องเสียง 1,500 บาท

ค่าสมุนไพรในการสาธิตการปลูก

-ต้นกะเพรา จำนวน 50 ต้นๆละ 40 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท

-ต้นว่านหางจระเข้ จำนวน 40 ต้นๆละ 40 บาท รวมเป็นเงิน 1,600 บาท

-ต้นขิง จำนวน 60 ต้นๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท

-ต้นโหรพา จำนวน 40 ต้นๆละ 40 บาท รวมเป็นเงิน 1,600 บาท

-ต้นจักรนารายณ์ จำนวน 40 ต้นๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท

-ต้นกระชาย จำนวน 40 ต้นๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท

-ต้นผักเหลียง จำนวน 66 ต้นๆละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 6,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤษภาคม 2566 ถึง 6 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องสมุนไพร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56900.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการโดยการเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย และสอบถามความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการ

รายละเอียดงบประมาณ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดิ่ม จำนวน 20 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ค่าเอกสารสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 80 ชุดๆละ 2 บาท เป็นเงิน 160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามผลการดำเนินงาน และประเมินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
760.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เอกสารสรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 78,810.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจ การดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเหมาะสม

2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้การใช้สมุนไพรได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง

3.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม


>