กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ รหัส กปท. L5284

อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเพิ่มการเข้าถึงระบบการรักษาโรคหลอดเลือดด้วย Stroke/Stemi Alert ปีงบประมาณ 2566
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลควนโดน
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease หรือ CVD, Stroke) เป็นโรคอันตรายที่เป็นสาเหตุของการตายมากเป็นอันดับต้นของโลก โดยพบเป็นสาเหตุการตาย อันดับ 2 ของประชากรอายุมากกว่า 60 ปี และเป็นสาเหตุ การตายอันดับ 5 ของประชากรอายุมากกว่า 15 - 59 ปี ใน แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 6,000,000 คน จากสถิติกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2557 พบโรคหลอด เลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ในประชากรไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลในปี พ.ศ. 2557 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 176,342 คน หรือคิดเป็น 3 คน ในทุก 2 ชั่วโมงโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease, stroke) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน (ischemic stroke) พบได้ร้อยละ 80 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด และโรคหลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) พบได้ร้อยละ 20 ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของ ประเทศไทยเนื่องจากเป็นสาเหตุการเสียชีวิตและสูญเสียปีสุขภาวะ (disability adjusted life year) ในระดับต้นๆ โดยผู้ป่วย ที่รอดชีวิตมักมีความพิการหลงเหลืออยู่ จึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างครบวงจร โดยเฉพาะในระยะเฉียบพลันที่จะสามารถลดอัตราตาย ลดอัตราความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้ลดความสูญเสียทาง เศรษฐกิจของครอบครัว สังคมและประเทศได้ อย่างไรก็ตาม โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการควบคุม ปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ถ้าป่วยด้วยโรคนี้แล้วได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว เหมาะสม ภายใต้ระบบการบริการที่มีมาตรฐานจะมีส่วนช่วยลดอัตราตายและความพิการได้ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างครบวงจรโดยเฉพาะในระยะเฉียบพลันที่จะสามารถลดอัตราการตาย ลดความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อน ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศชาติ ปัจจุบันแนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน ได้แก่การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (rt-PA) ในผู้ป่วยที่มีอาการภายใน4.5ชั่วโมงหลังเกิดอาการ การให้ยา แอสไพรินภายใน48ชั่วโมงหลังเกิดอาการ การดูแลรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke unit) การผ่าตัดเปิด กะโหลกศีรษะ (decompressivehemicreniectomy) ในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพและมีแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะเน้นระบบการให้บริการและกระบวนการดูแลรักษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนั้นการจัดระบบการให้บริการและกระบวนการดูแลรักษาให้มีมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษา ที่ถูกต้องเหมาะสมนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ปัญหาและอุปสรรคของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจในระดับบุคคล พบว่ากลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การไม่ทราบ เกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน และ ภาวะไขมันในเลือดสูง และประชาชน รวมทั้ง กลุ่มเสี่ยงยังไม่มีความสนใจหรือเข้าใจในโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจอย่างลึกซึ้ง ที่ผ่านมาพบว่าแนวทางป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มุ่งจัดการเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ขาดการประเมินผล หรือติดตามในระยะยาว การที่นำ ชุมชน เข้ามาร่วมดำเนินงานป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ยังพบค่อนข้างน้อย รูปแบบกิจกรรมที่เกิดจากชุมชนเองยังไม่ชัดเจน ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นการ พัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในการป้องกันโรคดังกล่าว ทุกคนในชุมชนถือเป็นหัวใจสำคัญ ผู้นำชุมชนต้องเสียสละ ทำงานเพื่อส่วนรวม เปิดโอกาสเรียนรู้ ร่วมกัน พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเน้นการทำงานเชิงรุก ประสานการทำงานร่วมกับทุกคนในพื้นที่ เสริมหนุนให้กลุ่มเสี่ยง และสมาชิกครอบครัวสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจได้อย่างเหมาะสม โรงพยาบาลควนโดนจึงสนใจศึกษาสถานการณ์ ดังกล่าว เพื่อช่วยให้กลุ่มเสี่ยงและสมาชิกในครอบครัวที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง มีความตระหนัก สามารถปฏิบัติตน ในการป้องกันโรคได้ถูกต้องโดยไม่ลุกลามเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ค้นหาศักยภาพการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงระบบการรักษาโรคหลอดเลือดด้วย Stroke/Stemi Alert ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษา 1.1 สถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง 1) พฤติกรรมการป้องกันโรค บริบท ข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มเสี่ยง และ ครอบครัวในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจ 2) กิจกรรมการป้องกันโรค บริบท นโยบายแผนงานที่เกี่ยวข้อง ปัญหาและอุปสรรค บทบาทหน้าที่ของบุคคล และองค์กรที่เกี่ยวข้อง จุดอ่อนจุดแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจ 2. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพชุมชน ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจหลังดำเนินกิจกรรม 3.เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจรายใหม่ 4.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจเข้าถึงการรักษาภายใน 1-3 ชม.
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละผู้ป่วยโรค Stroke/Stemi รายใหม่ 2.ร้อยละผู้ป่วย Stroke/Stemi เข้าถึงการรักษาภายใน 1-3 ชม.
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. โครงการเพิ่มการเข้าถึงระบบการรักษาโรคหลอดเลือดด้วย Stroke/Stemi Alert ปีงบประมาณ 2566
    รายละเอียด
    1. กิจกรรมหลัก

    - จัดกิจกรรมค้นหากลุ่มเสี่ยงโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด (Thai CVD risk score)
    - ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่เบิก) - ค่าจัดทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด (Thai CVD risk score) )  เป็นเงิน  200 บาท

    • จัดการสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาสถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงและผู้เกี่ยวข้อง ในประเด็น บริบทของชุมชนในด้านกายภาพ สังคม วัฒนธรรม โครงสร้าง องค์กรชุมชน พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจ ข้อจำกัด กิจกรรมการป้องกันโรค นโยบาย แผนงาน ระบบสนับสนุน ปัญหา อุปสรรค บทบาท หน้าที่บุคคล และองค์กรที่เกี่ยวข้อง (stakeholder analysis) ระดับบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน จุดอ่อนจุดแข็ง
      • ค่าจัดทำแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง/แบบสัมภาษณ์เชิงลึก  เป็นเงิน 250  บาท

    -จัดกิจกรรมประชุมเพื่อสะท้อน และคืนข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจของกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด กิจกรรม นโยบาย แผนงานที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่ของบุคคลและ วิเคราะห์องค์กรที่เกี่ยวข้องในชุมชน (stakeholder analysis) รวมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ของกลุ่มเสี่ยง ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา จัดลำดับความสำคัญ และ วางแผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ ชุมชนในป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง ตามความต้องการของชุมชน โดยจัดประชุมกลุ่ม อย่างมีส่วนร่วมจำนวน 1 ครั้ง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 75 คนๆละ 25 บาท    เป็นเงิน 1,875 บาท

    -จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง สมาชิกครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขรวม ในประเด็นหลัก 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้อง 2) การดูแลตนเองในการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือด สูง 3) การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง และ 4) การจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 5) Stroke/Stemi Alert

    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท    จำนวน 2 มื้อ   เป็นเงิน 3,000 บาท
    

    - ค่าอาหารกลางวันจำนวน 60 คนๆละ 60 บาท    เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าจัดทำสมุดประจำตัวการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรค  จำนวน 120 เล่มๆละ 35 บาท  เป็นเงิน 4,200 บาท ชนิดกิจกรรม งบประมาณ เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง

    -จัดประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องเพื่อติดตามแผนการดำเนินงาน รวมทั้งแนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจของชุมชน และให้สะท้อนถึงวิธีการปรับปรุงแก้ไขแผนเป็นระยะ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 75 คนๆละ 25 บาท    เป็นเงิน 1,875 บาท

    รวม.......15,000.............................บาท
    
    งบประมาณ 15,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงพยาบาลควนโดน

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 15,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น 2. เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพชุมชน ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจหลังดำเนินกิจกรรม
3. เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่หลากหลายในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ รหัส กปท. L5284

อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ รหัส กปท. L5284

อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 15,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................