กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักเป็น ปลอดภัย ไม่ท้องก่อนวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

โรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม

โรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาเชิงสังคมที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวกับหลายมิติ ทั้งในด้านสภาพสังคมที่ขาดการเลี้ยงดูเอาใจใส่จากพ่อแม่ การพัฒนาเข้ารู้วัยรุ่นที่เร็วขึ้น การความรู้ในเรื่องเพศวิถึศึกษาที่ครบถ้วนเพียงพอ การไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นมิตร ทัศนคติเชิงลบที่สังคมไทยมีต่อเรื่องเพศวิถีศึกษา การเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ได้โดยไร้ขีดจำกัด และจากค่านิยมของวัยรุ่น ทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความรู้และการป้องกันอย่างเพียงพอและก่อให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในที่สุด
การพัฒนาทักษะชีวิตวัยรุ่นจะช่วยส่งเสริมวัยรุ่นให้รู้กการคิด วิเคราะห์ การปฏิเสธในสถานการณ์เสี่ยง รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ ซึ่งการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการอบรมเพศวิถึศึกษาและทักษะชีวิตในวัยรุ่นจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถคิด ตัดสินใน แก้ปัญหาและปรับตัวเพื่อให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ถูกต้อง สามารถจัดการกับความต้องการปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

 

0.00
2 เพื่อสร้างความตระหนัก และมีความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนักเรียนในโรงเรียน

 

0.00
3 เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคเอดส์ ในกลุ่มเป้าหมาย

 

0.00
4 เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

0.00
5 นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือกลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหาได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมทีมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  2. ประสานการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  3. เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่
  4. ประชุมทีมและเครือข่ายเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการคัดกรองนักเรียน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงเรียน หรืออาสาสมัครสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความรู้ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของ สบส. และมศว. (2557) หรือสำนักอนามัยการเจริญพันธ์ุ กรมอนามัย (2564) ดังนี้
1. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
2. แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สำหรับสตรีไทยวัยรุ่น อายุ 15-21 ปี ระดับมัธยมปลายและนักศึกษา
- แปลผลการประเมินความรอบรู้ แยกกลุ่มนักเรียนตามผลการประเมิน
- นำนักเรียนที่พบมีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการส่งต่อให้คำปรึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในสถานบริการสาธารณสุข
- สรุปประเมินผลความรอบรู้ โดยมีการจำแนกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยมีการจัดช่วงคะแนนเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มที่มีทักษะไม่พอเพียง คะแนนระหว่าง 0-59 คะแนน
2) กลุ่มที่มีทักษะค่อนข้างต่ำ คะแนนระหว่าง 60-79 คะแนน
3) กลุ่มที่มีทักษะเพียงพอ คะแนนระหว่าง 80-100 คะแนน
เกณฑ์มาตรฐานจำแนกระดับคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมทั้ง 6 องค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพของ สบส. และ มศว. (2557) และรายงานผลต่อผู้บริหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การอบรมเพศวิถึศึกษาและทักษะชีวิตในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเพศวิถึศึกษาและทักษะชีวิตในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมเรียนรู้เพศวิถึศึกษาโดยใช้แนวคิดทักษะชีวิตจะสามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจปัญหาและผลกระทบของการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สาเหตุของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีความรู้ความสามารถในการใช้ทักษะการตัดสินใจและทักษะการแก้ปัญหาเรื่องเพศศึกษาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้อย่างมีกระบวนการ และสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรได้อย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยมีตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้
1. สถานการณ์ผลกระทบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2. กิจกรรม "ก้าวสู่วัยรุ่น" (พัฒนาการทางเพศและสุขอนามัยวัยรุ่น)
3. กิจกรรม "รู้แล้วจะเสียว" (โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
4. กิจกรรม "รู้ทัน ป้องกันได้" (การคุมกำเนิด)
5. กิจกรรม "หมวกกันน็อก" (ถุงยางอนามัย)
6. กิจกรรม "เสี่ยง...ไม่เสี่ยง" (สถานการณ์เสี่ยง)
7. กิจกรรม "แลกน้ำ" (เกมสาธิตการติดต่อโรคเอดส์)
หรือศึกษาจากคู่มือการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตในนักเรียนแบบบูรณาการ ซึ่งคู่มือฉบับนี้ได้บูรณาการเนื้อหาเรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตเข้าด้วยกัน โดยคัดเลือกประเด็นที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นในแต่ละระดับชั้นที่ควรรู้ สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 200 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 10,000.- บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 200 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 10,000.- บาท
- ค่าตอบแทนวิทยาการบรรยาย จำนวน 2 คน คนละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400.- บาท
- ค่าจ้างทำป้ายไวนิล จำนวน 1 ชิ้น ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน 1,500.- บาท
- ค่ากระดาษสี ขนาด A4 จำนวน 5 รีม ๆ ละ 100.- บาทเป็นเงิน 500.- บาท
- ค่าแฟ้มคลิปชาร์ต จำนวน 6 อัน ๆ ละ 100.- บาท เป็นเงิน 600.- บาท
รวมเป็นเงิน 25,000.- บาท
*หมายเหตุ ให้ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม และประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การติดตาม ประเมินทักษะชีวิตและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม 6 เดือน และ 1 ปี (โดยใช้แบบประเมิน KAP : ความรู้/ทัศนคติ การปฏิบัติในเรื่องเพศศึกษา และทักษะชีวิต)
  2. อัตราการคลอดในวัยรุ่นในพื้นที่ที่ดำเนินการ
  3. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
  4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ และส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น อบต.ทุ่งใหญ่
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ให้ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามรายจ่ายจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความตระหนัก และมีความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2. ลดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของกลุ่มเด็กนักเรียนในพื้นที่


>