กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน อ.เมือง จ.สตูล

นายลุฏฟี เหมมัน 084-7480743
นางอัญชนา คุณลักษณ์ธำรง
น.ส.พัฒนาวดี หลีนิ่ง

10 ชุมชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่ง โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลด ละ กิจกรรมเสี่ยง ได้แก่การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน เป็นการ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้“ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Change Agent) โดยมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเป็น “คู่หูสุขภาพ (Buddy Healthy)” ร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น
ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ โดยประชาชนที่เสี่ยง หรือป่วย ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตเฉียบพลันหรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่น โรคไตวาย ตาบอด โรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองแตกได้ จากผลการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของศูนย์ชุมสุขภาพชุมชนพิมาน ทั้งหมด 10 ชุมชน ในปีงบประมาณ 2566 จากกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปี-60 ปี จำนวนทั้งหมด 3,995คน ที่ได้รับการคัดกรองจำนวน 850 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 66 คนคิดเป็นร้อยละ 7.76 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 1.64และผลงานการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 850 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ5.41กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 1.76 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 5 คนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ จำนวน 6 คนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดจากความเสี่ยงสูง ถ้ากลุ่มนี้ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จะสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคดังกล่าวได้และการดูแลสุขภาพในกลุ่มป่วย
ทางศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมานจำนวน616 คนโรคเบาหวาน 249 คน โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 367 คน ซึ่งเป็นกลุ่มป่วยที่ต้องได้รับการดูแล และให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกแทรกซ้อน และเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในครอบครัวของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ทางศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยของโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ป้องกันการเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชนเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ สามารถดูแลตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรที่มีความเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมด้วยหลัก 3อ2ส

1.ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

2.ร้อยละ 60 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีค่าระดับน้ำตาลเเละค่าความดันโลหิตสูงที่ลดลง ( โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า ระดับ70- 100mg/dl เเละค่าความดัน ในระดับ น้อยกว่า140/90จากองค์การอนามัยโลก WHO

0.00 0.00
2 เพื่อค้นผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการส่งต่อและรักษาเข้ามาอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ 100 ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ

100.00

1.ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

2.ร้อยละ 60 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีค่าระดับน้ำตาลเเละค่าความดันโลหิตสูงที่ลดลง
( โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า ระดับ70- 100mg/dl เเละค่าความดัน ในระดับ น้อยกว่า140/90จากองค์การอนามัยโลก WHO

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุมเเกนนำอสม.ในการออกคัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน
1.2 จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
1.3 เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ อนุมัติโครงการ
1.4 ทำหนังสือเชิญกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ติดต่อประสานกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
1.5 ดำเนินกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
- ประเมินความรู้ก่อนอบรม
-ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการปฏิบัติตัว
-สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
-กิจกรรมเวียนฐานความรู้ แบ่งเป็น4 ฐาน
ฐานที่1 อาหารเพื่อสุขภาพและModelอาหาร
ฐานที่ 2 ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
ฐานที่ 3การทดสอบระดับความหวาน
ฐานที่ 4 การผ่อนคลาย ความเครียด ประเมินความรู้หลังการอบรม
-หลังอบรม แจ้งแผนออกติดตามประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยงซ้ำ ทุก 3 เดือนและ 6 เดือน โดยอสม.และจนท.
-ออกติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีปัญหาในการดูแลสุขภาพ นัดติดตามผลและส่งต่อ โดยเจ้าหน้าที่ ร่วมกับ อสม.

-รายละเอียดงบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน60 คน มื้อละ 70บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน60 คน มื้อละ25 บาท จำนวน2 มื้อ เป็นเงิน 3,000บาท
-ค่าวิทยากร จำนวน1 คนเวลา 1 ชม 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
-ค่าวิทยากร จำนวน1 คนเวลา2 ชม
600 บาท เป็นเงิน 1,200บาท
-ค่าวิทยากรประจำฐานจำนวน 4คนเวลา คนละ 2 ชม. *600 เป็นเงิน 4,800บาท
-ค่าจัดทำป้ายโครงการ1 ชุดขนาด 2 เมตรเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 300บาท
- ค่าเอกสารวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการอบรม เป็นเงิน 2,500 บาท
กำหนดการอบรมให้ความรู้โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เเละความดันโลหิตสูง ปี 2566
-เวลา 08.00- 08.45 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม

-เวลา08.45-09.00 น. พิธีเปิดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2566

-เวลา 09.00-10.00 น.บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยวิทยากรจากภายนอก

-เวลา 10.00-12.00 น.การเเลกเปลี่ยนให้ความรู้ หัวข้อ อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง โดยนักกำหนดอาหารเเละโภชนาการ

-เวลา 12.00- 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง

-เวลา 13.00 -15.30 น. กิจกรรมฐานให้ความรู้ จำนวน4 ฐาน

-ฐานที่1อาหารสาธิตเพื่อสุขภาพเเละโมเดลอาหารวิทยากร นักโภชนาการ
-ฐานที่ 2 ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย การยืดเหยียดร่างกาย วิทยากรผู้เกี่ยวข้องในสาขา
-ฐานที่3 การทดสอบระดับความหวานวิทยากรผู้เกี่ยวข้องในสาขา
-ฐานที่ 4การผ่อนคลายความเครียด เเละสุขภาพจิตวิทยาทีมงานนักจิตวิทยา -เวลา 15.30-16.30 น.สรุปซักถาม ประเด็นปัญหาเเลกเปลี่ยนปิดการประชุมโครงการ -หมายเหตุ10.30- 10.45 รับประทานอาหารว่างช่วงเช้า 14.30-14.15รับประทานอาหารว่างช่วงบ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง 60 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูเเลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น
    2.กลุ่มเสี่ยงสูงจากโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมได้ สามารถเข้าถึงระบบการรักษาได้อย่างทันถ่วงที
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
-ค่าคู่มือดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง จำนวน60 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800บาท
-กิจกรรมเยี่ยมบ้านการติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเเละกลุ่มปกติในครัวเรือนให้ได้รับความรู้เเละความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สร้างเครือข่ายในการติดตามดูเเลผู้ป่วยในชุมชน
  2. เสริมสร้างกำลังให้เเก่กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังให้มีขวัญเเละกำลังใจในการดูเเลสร้างเสริมสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,400.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูเเลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น
2.ผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจากปีก่อน
3.การเกิดภาวะเเทรกซ้อน หรือภัยเงียบ ในกลุ่มป่วยลดลง


>