กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ปีงบประมาณ 2566
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน อ.เมือง จ.สตูล
กลุ่มคน
นายลุฏฟี เหมมัน 084-7480743
นางอัญชนา คุณลักษณ์ธำรง
น.ส.พัฒนาวดี หลีนิ่ง
3.
หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่ง โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลด ละ กิจกรรมเสี่ยง ได้แก่การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน เป็นการ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้“ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Change Agent) โดยมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเป็น “คู่หูสุขภาพ (Buddy Healthy)” ร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ โดยประชาชนที่เสี่ยง หรือป่วย ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตเฉียบพลันหรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่น โรคไตวาย ตาบอด โรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองแตกได้ จากผลการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของศูนย์ชุมสุขภาพชุมชนพิมาน ทั้งหมด 10 ชุมชน ในปีงบประมาณ 2566 จากกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปี-60 ปี จำนวนทั้งหมด 3,995คน ที่ได้รับการคัดกรองจำนวน 850 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 66 คนคิดเป็นร้อยละ 7.76 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 1.64และผลงานการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 850 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ5.41กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 1.76 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 5 คนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ จำนวน 6 คนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดจากความเสี่ยงสูง ถ้ากลุ่มนี้ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จะสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคดังกล่าวได้และการดูแลสุขภาพในกลุ่มป่วย ทางศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมานจำนวน616 คนโรคเบาหวาน 249 คน โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 367 คน ซึ่งเป็นกลุ่มป่วยที่ต้องได้รับการดูแล และให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกแทรกซ้อน และเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในครอบครัวของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ทางศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยของโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ป้องกันการเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชนเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ สามารถดูแลตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ประชากรที่มีความเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมด้วยหลัก 3อ2ส
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2.ร้อยละ 60 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีค่าระดับน้ำตาลเเละค่าความดันโลหิตสูงที่ลดลง ( โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า ระดับ70- 100mg/dl เเละค่าความดัน ในระดับ น้อยกว่า140/90จากองค์การอนามัยโลก WHO
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อค้นผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการส่งต่อและรักษาเข้ามาอย่างเป็นระบบ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. การส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
    รายละเอียด

    1.1 ประชุมเเกนนำอสม.ในการออกคัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน
    1.2 จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    1.3 เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ อนุมัติโครงการ
    1.4 ทำหนังสือเชิญกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ติดต่อประสานกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
    1.5 ดำเนินกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
    - ประเมินความรู้ก่อนอบรม
    -ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการปฏิบัติตัว
    -สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
    -กิจกรรมเวียนฐานความรู้ แบ่งเป็น4 ฐาน
    ฐานที่1 อาหารเพื่อสุขภาพและModelอาหาร
    ฐานที่ 2 ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
    ฐานที่ 3การทดสอบระดับความหวาน
    ฐานที่ 4 การผ่อนคลาย ความเครียด ประเมินความรู้หลังการอบรม
    -หลังอบรม แจ้งแผนออกติดตามประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยงซ้ำ ทุก 3 เดือนและ 6 เดือน โดยอสม.และจนท.
    -ออกติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีปัญหาในการดูแลสุขภาพ นัดติดตามผลและส่งต่อ โดยเจ้าหน้าที่ ร่วมกับ อสม.

    -รายละเอียดงบประมาณ
    - ค่าอาหารกลางวันประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน60 คน มื้อละ 70บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน60 คน มื้อละ25 บาท จำนวน2 มื้อ เป็นเงิน 3,000บาท
    -ค่าวิทยากร จำนวน1 คนเวลา 1 ชม 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
    -ค่าวิทยากร จำนวน1 คนเวลา2 ชม
    600 บาท เป็นเงิน 1,200บาท
    -ค่าวิทยากรประจำฐานจำนวน 4คนเวลา คนละ 2 ชม. *600 เป็นเงิน 4,800บาท
    -ค่าจัดทำป้ายโครงการ1 ชุดขนาด 2 เมตรเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 300บาท
    - ค่าเอกสารวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการอบรม เป็นเงิน 2,500 บาท
    กำหนดการอบรมให้ความรู้โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เเละความดันโลหิตสูง ปี 2566
    -เวลา 08.00- 08.45 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม

    -เวลา08.45-09.00 น. พิธีเปิดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2566

    -เวลา 09.00-10.00 น.บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยวิทยากรจากภายนอก

    -เวลา 10.00-12.00 น.การเเลกเปลี่ยนให้ความรู้ หัวข้อ อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง โดยนักกำหนดอาหารเเละโภชนาการ

    -เวลา 12.00- 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง

    -เวลา 13.00 -15.30 น. กิจกรรมฐานให้ความรู้ จำนวน4 ฐาน

    -ฐานที่1อาหารสาธิตเพื่อสุขภาพเเละโมเดลอาหารวิทยากร นักโภชนาการ
    -ฐานที่ 2 ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย การยืดเหยียดร่างกาย วิทยากรผู้เกี่ยวข้องในสาขา
    -ฐานที่3 การทดสอบระดับความหวานวิทยากรผู้เกี่ยวข้องในสาขา
    -ฐานที่ 4การผ่อนคลายความเครียด เเละสุขภาพจิตวิทยาทีมงานนักจิตวิทยา -เวลา 15.30-16.30 น.สรุปซักถาม ประเด็นปัญหาเเลกเปลี่ยนปิดการประชุมโครงการ -หมายเหตุ10.30- 10.45 รับประทานอาหารว่างช่วงเช้า 14.30-14.15รับประทานอาหารว่างช่วงบ่าย

    งบประมาณ 16,600.00 บาท
  • 2. กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
    รายละเอียด

    กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
    -ค่าคู่มือดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง จำนวน60 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800บาท
    -กิจกรรมเยี่ยมบ้านการติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเเละกลุ่มปกติในครัวเรือนให้ได้รับความรู้เเละความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น

    งบประมาณ 1,800.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

10 ชุมชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 18,400.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูเเลสุขภาพตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น 2.ผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจากปีก่อน
    3.การเกิดภาวะเเทรกซ้อน หรือภัยเงียบ ในกลุ่มป่วยลดลง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 18,400.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................