กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ รู้ทันก่อนเกิดภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุประจำ ปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนโดน

โรงพยาบาลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การหกล้ม (Falls) เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุและเชื่อมโยงต่อการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่นการหักของกระดูกสะโพก และการบาดเจ็บที่ศีรษะปัญหาสุขภาพดังกล่าวส่งผลต่อการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว (Long term care) ซึ่งยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุทั่วโลกปัจจุบันปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น (CDC, 2019) การหกล้มเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาความชราตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ (Geriatric degeneration) นำ ไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว (Sturnieks, George, and Lord, 2008) ความสมดุลและการทรงตัวขณะอยู่กับที่ หรือการเคลื่อนไหวขณะทำ กิจวัตรประจำ วัน (Duncan, Weiner, Chandler, and Studenski, 1990) การเสียชีวิตในผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 80 มีสาเหตุที่สัมพันธ์กับการหกล้ม และประมาณ 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีประวัติการหกล้มและเสียชีวิตในภายหลัง (CDC, 2019) ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่เสียชีวิตส่งผลต่อภาระโรคและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในอนาคต (WHO, 2007)
จากสถานการณ์ที่มีจำนวนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดสตูล พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 31,898 คน ทั้งนี้ผู้สูงอายุและผู้พิการส่วนใหญ่ในจังหวัดสตูลมีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม หลอดเลือดสมอง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆประกอบกับแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนโดนมีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มโรค คิดเป็นผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 11.96 (59คน ข้อมูลปี2565) การดูแลรักษาฟื้นฟูจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากหากได้รับการฟื้นฟูช้า จะส่งให้มีความพิการ ซึ่งความพิการเป็นสถานะทางสุขภาพอย่างหนึ่ง ทำให้ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันการดำรงชีวิตในสังคมลดลง ต้องอยู่ในภาวะภาวะพึ่งพิงผู้อื่นเพิ่มขึ้น
แผนกกายภาพบำบัดโรงพยาบาลควนโดนจึงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้จึงอยากเผยแพร่ความรู้และจัดการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยสอนวิธีการบริหารทางกายภาพบำบัดป้องกันการหกล้มให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถช่วยลดภาวะความเจ็บป่วยและลดการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลผู้สูงอายุสามารถทำได้ด้วยตนเองเพื่อให้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุได้ ข้อที่ 2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำวิธีการต่างๆมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ข้อที่3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และวิธีการต่างๆเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงล้มให้แก่ผู้อื่นได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุได้ 2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงสามารถออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุได้ ตัวชี้วัด 3.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และท่าทางการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ รู้ทันก่อนเกิดภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุประจำ ปี2566

ชื่อกิจกรรม
โครงการ รู้ทันก่อนเกิดภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุประจำ ปี2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมโครงการ รู้ทันก่อนเกิดภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ ประจำปี 2566  ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 500บ.x5 ชม.  = 2,500บ. ค่าอาหารชุด 100 บ.x 1มื้อ x 40 คน = 4,000บ. ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 2มื้อ x 40คน  = 2,000บ. ค่าเอกสารคู่มือ 50 บ.x40 คน = 2,000บ. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ทดสอบ
    (Time Up and Go test)
      - กรวยจราจร 2 ชิ้น x 500 บาท = 1,000 บ.
      - นาฬิกาดิจิตอลจับเวลา 2 ชิ้น x 1,000 บ.= 2,000บ.   - ตลับเมตร 1 ชิ้น x 300 บาท = 300บ. รวม  13,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กิจกรรมโครงการ รู้ทันก่อนเกิดภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ ประจำปี 2566  ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 500บ.x5 ชม.  = 2,500บ. ค่าอาหารชุด 100 บ.x 1มื้อ x 40 คน = 4,000บ. ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 2มื้อ x 40คน  = 2,000บ. ค่าเอกสารคู่มือ 50 บ.x40 คน = 2,000บ. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ทดสอบ
    (Time Up and Go test)
      - กรวยจราจร 2 ชิ้น x 500 บาท = 1,000 บ.
      - นาฬิกาดิจิตอลจับเวลา 2 ชิ้น x 1,000 บ.= 2,000บ.   - ตลับเมตร 1 ชิ้น x 300 บาท = 300บ. รวม  13,800 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.กลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุได้
2.กลุ่มผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายเพื่อป้องกันและลดภาวะเสี่ยงล้มได้
3.กลุ่มผู้สูงอายุสามารถนำความรู้และท่าทางการออกกำลังกายไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.กลุ่มผู้สูงอายุสามารถเผยแพร่ความรู้ และท่าทางการออกกำลังแก่ผู้อื่นได้


>