กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการในแม่บ้านควนสตอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลควนโดน

โรงพยาบาลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
อาหารเป็นปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิต ในการรับประทานอาหารจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักโภชนาการ ซึ่งอาหารแต่ละประเภทให้ประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันออกไป ประโยชน์ของอาหารที่มีต่อร่างกาย คือ ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย เสริมสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้เจริญเติบโต ซ่อมแซ่มอวัยวะของร่างกายที่สึกหรอ ทรุดโทรมให้กลับมาคงสภาพดี ช่วยควบคุมการกระตุ้นอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ ช่วยป้องกันและต้านทานโรค หากสภาพร่างกายได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบ และเพียงพอต่อความต้องการ ร่างกายสามารถนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เรียกว่าภาวะโภชนาการที่ดี แต่ถ้าร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน และไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะเรียกว่าภาวะโภชนาการที่ไม่ดี หรือทุพโภชนาการ
หลักการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้าหากรับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ จะทำให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ในปัจจุบันอาหารมีให้เลือกรับประทานมากมาย มีทั้งที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ให้ประโยชน์ ดังนั้นในการบริโภคอาหารจึงคำนึงถึงหลักโภชนาการและการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดภาวะโภชนาการที่ดี อาหารนั้นต้องสดใหม่ไม่เน่าเสีย และที่สำคัญต้องรับประทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่ ให้เหมาะสมตามแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ช่วงอายุ เพศ วัย ผู้ที่มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ หรือมีโรคประจำตัวก็ตาม
หมู่ที่ 5 -10 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ในปี 2565 ประชากรที่มีภาวะทุพโภชนาการ(อ้วน ผอม เตี้ย) โดยแบ่งเป็นกลุ่มอายุดังนี้ เด็กอายุ 0 – 5 ปี จำนวน 393 คนที่ได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ร้อยละ 20.72(51 ราย) เด็กอายุ 0 – 5 ปี จำนวน 261 คน ร้อยละ40.61(106 ราย) กลุ่มอายุ 5 -18 ปี จำนวน 1,661 คน มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ร้อยละ 61.35 (1,019 ราย) และมีเส้นรอบเอวปกติ ร้อยละ 44.66(740 ราย)
การที่คนเราจะมีสุขภาพดีได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ คือ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการกับความเครียด โดยจะต้องมีความรู้ในการดูแลตนเองสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเอง รู้สถานะสุขภาพของตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง หรือเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอื่นๆด้วยหรือไม่ เมื่อมีความรู้แล้ว ก็ต้องมีทักษะในเลือกสิ่งเหมาะสมและเกิดผลดีกับตัวเองมากที่สุด ทั้งการเลือกบริโภคอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะกับตนเอง และสามารถจัดการอารมณ์ ความเครียดของตนเองได้
การจัดทำโครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการในแม่บ้านตำบลควนสตอขึ้นนั้น เพื่อให้แม่บ้านมีความรู้ มีทักษะในด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งเป็นคนสำคัญในการดูแลครอบครัว ทำให้บุคคล สมาชิกในครอบครัวได้รับโภชนาการที่ถูกต้อง เหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งแม่บ้านได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองตามหลัก 3อ 2ส เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง และมีสุขภาพดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้แม่บ้านมีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสำหรับตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ข้อที่ 2 เพื่อให้แม่บ้านมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวในด้านการเลือกอาหาร การประกอบอาหารที่เหมาะสม ข้อที่ 3 เพื่อให้แม่บ้านที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ สามารถลดค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือมีความเสี่ยงน้อยลง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่ 1 เปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลัง ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ข้อที่ 2 เปรียบเทียบพฤติกรรมบริโภคอาหาร การประกอบอาหารในครอบครัว ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม ข้อที่ 3 เปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิต ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการในแม่บ้านควนสตอ

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการในแม่บ้านควนสตอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประเมิน และคัดกรองภาวะสุขภาพตนเอง
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
        25 บ. x 50 คน x 1 มื้อ                   = 1,250 บ.

- ค่าแบบบันทึกสุขภาพประจำตัว   30 บ. x 50 เล่ม                            = 1,500 บ. - ค่าแบบสำรวจข้อมูลในครอบครัว   แบบประเมินความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพ
  5 บ. x 50 ชุด                               =   250 บ. รวมเป็นเงิน 3,000 บาท 2. กิจกรรมที่ 2  ให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการประกอบอาหาร - ค่าวิทยากร 500 บ. x 4 ชั่วโมง x 1 คน = 2,000 บ. - ค่าอาหารกลางวัน 60 บ.x 50 คน        = 3,000 บ.
- ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 50 คน x 2 มื้อ    = 3,000 บ.
- ค่าเอกสารให้ความรู้ด้านโภชนาการและการปรับ
  เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 13 บ.x 50 เล่ม = 650 บ. รวมเป็นเงิน 8,650 บาท 3. กิจกรรมที่ 3 ติดตามภาวะสุขภาพ ประเมินความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล และให้ความรู้การเฝ้าระวัง สังเกตอาการ และการดูแลสุขภาพโดยตนเอง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  25 บ. x 50 คน x 1 มื้อ                   = 1,250 บ. - แบบประเมินความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพ
  2 บ. x 50 ชุด                               =   100 บ.
รวมเป็นเงิน 1,350 บาท 4. กิจกรรมที่ 4 ติดตามภาวะสุขภาพ พฤติกรรมบริโภคอาหาร การประกอบอาหารในครอบครัวของกลุ่ม เป้าหมาย 3,6 เดือนหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดย อสม.
แบ่งตามเขตรับผิดชอบ - ไม่มีค่าใช้จ่าย 5. ประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรมจากการติดตาม และสรุปผลการดำเนินงาน  - ไม่มีค่าใช้จ่าย     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น       13,000     บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประเมิน และคัดกรองภาวะสุขภาพตนเอง
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
        25 บ. x 50 คน x 1 มื้อ                   = 1,250 บ.

- ค่าแบบบันทึกสุขภาพประจำตัว   30 บ. x 50 เล่ม                            = 1,500 บ. - ค่าแบบสำรวจข้อมูลในครอบครัว   แบบประเมินความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพ
  5 บ. x 50 ชุด                               =   250 บ. รวมเป็นเงิน 3,000 บาท 2. กิจกรรมที่ 2  ให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการประกอบอาหาร - ค่าวิทยากร 500 บ. x 4 ชั่วโมง x 1 คน = 2,000 บ. - ค่าอาหารกลางวัน 60 บ.x 50 คน        = 3,000 บ.
- ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 50 คน x 2 มื้อ    = 3,000 บ.
- ค่าเอกสารให้ความรู้ด้านโภชนาการและการปรับ
  เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 13 บ.x 50 เล่ม = 650 บ. รวมเป็นเงิน 8,650 บาท 3. กิจกรรมที่ 3 ติดตามภาวะสุขภาพ ประเมินความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล และให้ความรู้การเฝ้าระวัง สังเกตอาการ และการดูแลสุขภาพโดยตนเอง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  25 บ. x 50 คน x 1 มื้อ                   = 1,250 บ. - แบบประเมินความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพ
  2 บ. x 50 ชุด                               =   100 บ.
รวมเป็นเงิน 1,350 บาท 4. กิจกรรมที่ 4 ติดตามภาวะสุขภาพ พฤติกรรมบริโภคอาหาร การประกอบอาหารในครอบครัวของกลุ่ม เป้าหมาย 3,6 เดือนหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดย อสม.
แบ่งตามเขตรับผิดชอบ - ไม่มีค่าใช้จ่าย 5. ประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรมจากการติดตาม และสรุปผลการดำเนินงาน  - ไม่มีค่าใช้จ่าย     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น       13,000     บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. แม่บ้านมีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสำหรับตนเอง และสมาชิกในครอบครัว
2. แม่บ้านมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวในด้านการเลือกอาหาร การประกอบอาหารที่เหมาะสม
3. แม่บ้านและสมาชิกในครอบครัวสามารถลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ จากการทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับตนเองได้


>