กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการในแม่บ้านควนสตอ
รหัสโครงการ 66-L5284-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นพ.สุพล เจริญวิกกัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) อาหารเป็นปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิต ในการรับประทานอาหารจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักโภชนาการ ซึ่งอาหารแต่ละประเภทให้ประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันออกไป ประโยชน์ของอาหารที่มีต่อร่างกาย คือ ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย เสริมสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้เจริญเติบโต ซ่อมแซ่มอวัยวะของร่างกายที่สึกหรอ ทรุดโทรมให้กลับมาคงสภาพดี ช่วยควบคุมการกระตุ้นอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ ช่วยป้องกันและต้านทานโรค หากสภาพร่างกายได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบ และเพียงพอต่อความต้องการ ร่างกายสามารถนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เรียกว่าภาวะโภชนาการที่ดี แต่ถ้าร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน และไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะเรียกว่าภาวะโภชนาการที่ไม่ดี หรือทุพโภชนาการ หลักการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้าหากรับประทานอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ จะทำให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ในปัจจุบันอาหารมีให้เลือกรับประทานมากมาย มีทั้งที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ให้ประโยชน์ ดังนั้นในการบริโภคอาหารจึงคำนึงถึงหลักโภชนาการและการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดภาวะโภชนาการที่ดี อาหารนั้นต้องสดใหม่ไม่เน่าเสีย และที่สำคัญต้องรับประทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่ ให้เหมาะสมตามแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ช่วงอายุ เพศ วัย ผู้ที่มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ หรือมีโรคประจำตัวก็ตาม
หมู่ที่ 5 -10 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ในปี 2565 ประชากรที่มีภาวะทุพโภชนาการ(อ้วน ผอม เตี้ย) โดยแบ่งเป็นกลุ่มอายุดังนี้ เด็กอายุ 0 – 5 ปี จำนวน 393 คนที่ได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ร้อยละ 20.72(51 ราย) เด็กอายุ 0 – 5 ปี จำนวน 261 คน ร้อยละ40.61(106 ราย) กลุ่มอายุ 5 -18 ปี จำนวน 1,661 คน มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ร้อยละ 61.35 (1,019 ราย) และมีเส้นรอบเอวปกติ ร้อยละ 44.66(740 ราย) การที่คนเราจะมีสุขภาพดีได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ คือ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการกับความเครียด โดยจะต้องมีความรู้ในการดูแลตนเองสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเอง รู้สถานะสุขภาพของตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง หรือเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอื่นๆด้วยหรือไม่ เมื่อมีความรู้แล้ว ก็ต้องมีทักษะในเลือกสิ่งเหมาะสมและเกิดผลดีกับตัวเองมากที่สุด ทั้งการเลือกบริโภคอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะกับตนเอง และสามารถจัดการอารมณ์ ความเครียดของตนเองได้
การจัดทำโครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการในแม่บ้านตำบลควนสตอขึ้นนั้น เพื่อให้แม่บ้านมีความรู้ มีทักษะในด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งเป็นคนสำคัญในการดูแลครอบครัว ทำให้บุคคล สมาชิกในครอบครัวได้รับโภชนาการที่ถูกต้อง เหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งแม่บ้านได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองตามหลัก 3อ 2ส เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง และมีสุขภาพดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้แม่บ้านมีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสำหรับตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ข้อที่ 2 เพื่อให้แม่บ้านมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวในด้านการเลือกอาหาร การประกอบอาหารที่เหมาะสม ข้อที่ 3 เพื่อให้แม่บ้านที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ สามารถลดค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือมีความเสี่ยงน้อยลง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่ 1 เปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลัง ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ข้อที่ 2 เปรียบเทียบพฤติกรรมบริโภคอาหาร การประกอบอาหารในครอบครัว ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม ข้อที่ 3 เปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิต ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 โครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารและโภชนาการในแม่บ้านควนสตอ 0 13,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. แม่บ้านมีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสำหรับตนเอง และสมาชิกในครอบครัว 2. แม่บ้านมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวในด้านการเลือกอาหาร การประกอบอาหารที่เหมาะสม 3. แม่บ้านและสมาชิกในครอบครัวสามารถลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ จากการทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2565 00:00 น.