กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

1. นางสาวลลิตา บุหลาด ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เข้าอบรมปีงบประมาณ 65 ของผู้ประกอบกิจการอาหารและผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการเตรียมปรุงประกอบอาหารและจำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะร้อยละ 100 แต่มีเพียงจำนวนสถานที่จำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมอบรมเพียงร้อยละ 50

 

0.00
2 ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมตามหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารของกรมอนามัยเพียงร้อยละ 8.3 จากจำนวนสถานประกอบการทั้งหมด

 

0.00

ตามนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาด ประกอบกับปัจจุบันพบว่าวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้คนนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารสำเร็จรูป สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร จึงมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน เนื่องจากการจำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมีหรือโลหะหนัก รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ
และนอกจากนี้การที่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหารและน้ำ รวมทั้งการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ในระหว่างการเตรียมปรุง ประกอบอาหารก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหาร ฉะนั้น จึงต้องมีการควบคุม ดูแล ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ กรรมวิธีการปรุงหรือประกอบอาหารสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้อื่นๆ และสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ที่กฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 กำหนด งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อยขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร มีความรู้ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในสถานที่จำหน่ายอาหารของตนและเป็นไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวและเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความสะอาดและปลอดภัยของอาหารให้กับร้านอาหารในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสอาหาร ได้มีความรู้ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการเตรียมปรุง ประกอบอาหาร และจำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะ

ผู้สัมผัสอาหารที่ผ่านการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขาภิบาล ร้อยละ 100

0.00 100.00
2 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย

ร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับการตรวจผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ร้อยละ 80 และร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจเพื่อรักษาเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อยผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80

0.00 80.00
3 เพื่ออบรมผู้สัมผัสอาหารตามหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารของกรมอนามัย

ผู้เข้าร่วมอบรมตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารของกรมอนามัยมีความรู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กรมอนามัยกำหนด และได้บัตรประจำตัวร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสอาหาร ตามหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสอาหาร ตามหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 100 คน (เป็นผู้สัมผัสอาหารในกิจการจำหน่ายอาหารในพื้นที่)
  • ประสานงาน เตรียมสถานที่ในการจัดการอบรม รวมถึงอาหารกลางวัน เครื่องดื่มและอาหารว่าง จำนวน 100 ชุด
  • ติดต่อและประสานงานกับวิทยากร 3 คน คนละ 1 ชั่วโมง
  • จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย
  • จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้รู้แก่ผู้สัมผัสอาหารจำนวน 100 คน
  • คณะผู้จัดโครงการสรุปผลและวิเคราะห์ผลการดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้
  • จัดกิจกรรมมอบป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย จำนวน 50 ร้าน (รายใหม่)
  • ตรวจติดตามรายเก่าที่ได้รับป้าย ว่ายังคงรักษามาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย หรือไม่จำนวน 50 ราย

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากร จำนวน 3 คน x 600 บาท x 1 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
3. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 100 คน x 80 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 8,000 บาท
4. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.2 x 3.4 เมตร x 150 บาท เป็นเงิน 612 บาท
5. ค่าวุฒิบัตร เป็นเงิน 500 บาท
6. ค่าจัดทำบัตรประจำตัว เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ตามหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13912.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เพื่อรับมอบป้าย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เพื่อรับมอบป้าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดต่อและประสานงานกับผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่ จำนวน 50 ร้าน เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการตรวจประเมินเพื่อรับมอบป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย
  • ตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
  • คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองคอหงส์ มอบป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย แก่ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในพื้นที่ที่ผ่านการตรวจประเมิน
  • คณะผู้จัดกิจกรรมสรุปผลและวิเคราะห์ผลการดำเนินการกิจกรรมตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด
    รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท
2. ค่าชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 13 ชุด x 500 ขวด เป็นเงิน 6,500 บาท
3. ค่าป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย จำนวน 50 ป้าย x 90 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (ได้แก่ ไม้พันสำลี แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์จุดไฟ และถุงมือ) เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะได้รับป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12750.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสุ่มตรวจสถานที่จำหน่ายที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสุ่มตรวจสถานที่จำหน่ายที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สุ่มตรวจสถานที่จำหน่ายที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
    ของปีงบประมาณ 2564-2565 จำนวน 50 ร้าน
  • คณะผู้จัดกิจกรรมสรุปผลและวิเคราะห์ผลการดำเนินการกิจกรรมสุ่มตรวจประเมินสถานที่จำหน่ายที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด
    รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียช จำนวน 13 ชุด x 500 ขวด เป็นเงิน 6,500 บาท
2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (ได้แก่ ไม้พันสำลี แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์จุดไฟ และถุงมือ) เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ได้รับการสุ่มตรวจสถานที่จำหน่าย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,662.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สัมผัสอาหาร เห็นความสำคัญในการพัฒนายกระดับมาตรฐานสุขาภิบาล
2. ร้านจำหน่ายอาหารได้รับการพัฒนายกระดับมาตรฐานทำให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคมากยิ่งขึ้น
3. ผู้สัมผัสอาหารซึ่งมีบทบาทสำคัญด้านความปลอดภัยของอาหาร นำความรู้ไปใช้ในการจำหน่ายและบริการอาหารที่สะอาด
ปลอดภัยต่อผู้บริโภค


>