กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า 2019

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด

พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสวนโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคน ไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่าง รุนแรง ซึ่งขณะนี้สถานการณ์การระบาดของโรคกำลังแพร่กระจายอย่างไม่หยุดยั้งและยังไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะแพร่กระจายผ่านฝอยละอองเป็นหลัก จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจออก ฝอยละอองเหล่านี้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยอยู่ในอากาศ และจะตกลงบนพื้นหรือพื้นผิวอย่างรวดเร็วซึ่งอาจติดเชื้อ ได้จากการหายใจเอาไวรัสเข้าสู่ร่างกายเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโดยการสัมผัส พื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสแล้วสัมผัสตา จมูก หรือปากของตนเองจะทำให้เกิดอาการไข้สูง ไอ จาม มีการอักเสบของปอดและ เยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง จนอาจทำให้เสียชีวิตสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อบุคลากรและสถานที่ ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ จังหวัดพัทลุงยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบันผู้ติดเชื้อโคโรนา 2019 ของจังหวัดพัทลุง ณ วันที่ 3 เมษายน 2565 มีผู้ป่วยสะสม 19,191 ราย อำเภอศรีบรรพต จำนวน 2,503 ราย NPCU
รพ.สต.บ้านสวนโหนดรับผิดชอบ พื้นที่ ต.ตะแพน มีผู้ติดเชื้อจำนวน 382 ราย และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ NPCU โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโหนด ได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและควบคุมการแพ่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดเชิงรุกลดผู้ติดเชื้อรายใหม่กำหนดมาตรการความคุมป้องกันตามมาตรการNew Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอมีประสิทธิภาพ กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 NPCU รพ.สต.บ้านสวนโหนดจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ขึ้น ลดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เกิดประโยชน์แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเสริมสร้างความรู้และความตระหนักแก่ประชาชนในเรื่องโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ประชาชนในเขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านสวนโหนดมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙

2460.00 2460.00
2 2 เพื่อสนับสนุนการดำเนินการดำเนินงานเชิงรุกในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจโรค ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ครบทุกคนอย่างทันท่วงที

246.00 246.00
3 3เพื่อป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับพื้นที่

ลดอัตราป่วยตาย จากโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

2460.00 0.00

เพื่อป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย,เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ 2 ออกพื้นที่เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยง3 จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรน่า 2019 4 ติดตามกลุ่มเสี่ยงตรวจซ้ำ รอบสอง 5 ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย,เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ 2 ออกพื้นที่เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยง3 จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรน่า 2019 4 ติดตามกลุ่มเสี่ยงตรวจซ้ำ รอบสอง 5 ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ประชุมทีมภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ และผู้เกี่ยวข้อง จนท. หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน เพื่อชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 นำไปดำเนินการตามโครงการ 2) เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ/อสม./แกนนำชุมชน/และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ โดยการดำเนินการคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง 3) เครือข่ายบริการหน่วยบริการ NPCU รพ.สต.บ้านสวนโหนด กำหนดพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง โดยร่วมกับหน่วยบริการในพื้นที่ ประสานรายชื่อผู้เสี่ยงสูงและประเมินความเสี่ยงของบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกำหนดให้เข้าสู่การตรวจคัดกรองเชิงรุก จากหน่วยบริการสาธารณสุข จัดทำทะเบียนผู้รับการคัดกรองประกอบด้วยข้อมูล ชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน วันที่ตรวจ ผู้เข้ารับการคัดกรอง
๔) จัดตั้งทีมกระจายความรู้ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยในหนึ่งทีมประกอบด้วย จนท. อสม. จำนวน 2-3 คน และผู้เกี่ยวข้อง ในการรับผิดชอบให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ณ ที่พักอาศัย
๕) แกนนำชุมชน อสม. หรือผู้ที่เกี่ยวข้องออกกำกับติดตามเฝ้าระวังประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่องโดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนักในการป้องกันโรค
๖) มีการติดตาม หรือให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 7 วัน หากมีอาการไข้ ไอ ความผิดปกติทางสุขภาพ ให้รีบแจ้ง อสม./รพ.สต. เพื่อประเมินอาการ โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ
7) หากมีผลตรวจ ATK เป็นบวก ให้พิจารณาประสานหน่วยบริการในการเข้าระบบ Community Isolation หรือ Home Isolation เพื่อการดูแลรักษาตามาตรฐานต่อไป
8) จัดซื้อชุดตรวจ ATK แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ๙) สรุปผลดำเนินงานโครงการ - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการ อบรมจำนวน 64 คนรวม 1 มื้อๆ ละ60 บาทเป็นเงิน 3,840บาท - ค่าอาหารว่างจำนวน 64 คนๆ ละ25 บาท จำนวน๒มื้อๆ ละ25 บาทเป็นเงิน 3,200 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 5 ช.ม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าจัดซื้อชุดตรวจ ATK จำนวน 246 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 12300 บาท รวมเงินทั้งสิ้น 20,840บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ไม่มีการป่วยตาย จากโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ประชาชนทุกคนในเขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านสวนโหนดมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจโรค ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ครบทุกคนอย่างทันท่วงทีอย่างน้อย 246 ราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,840.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ทีมภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ มีดำเนินการเชิงรุกในพื้นที่ในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2) ลดการแพร่เชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 จากผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่


>