กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุตำบลแค ประจำปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านพะเนียด ม.4 ต.แค

1.นางปรีดาหัสเอียด
2.นางซูจีนา หัสเอียด
3.นางฮาลิเม๊าะเด็นสว่าง
4.นางมูรินาหวังเก็ม
5.นางสุนิสา พุทธพิม

หมู่ที่ 1-5 ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

28.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

15.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

5.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)

 

23.00
5 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

45.65
6 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

74.68
7 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

54.36
8 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

 

86.23
9 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

72.32
10 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

30.00
11 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

65.00
12 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

 

30.42
13 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

35.35
14 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

0.00
15 ร้อยละแผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล

 

0.00

สถานการ์ณปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนหลายล้านคนซึ่งวัยผู้สูงอายุนับเป็นวัยที่มีความสำคัญมากเป็นวัยที่ต้องการคนดูแล เอาใจใส่ เนื่องจากสภาพร่างกายทรุดโทรม ไม่แข็งแรง ผู้สูงอายุบางรายมีโรคประจำตัวหลายโรคทำให้เป็นภาระของครอบครัวที่ต้องคอยคอยดูแลอย่างใกล้ชิด บางครอบครัวมีความรับผิดชอบต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างดีหมั่นคอยดูแลปรนนิบัติตามสภาพทำให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจดีมีความสุขแต่บางครอบครัวไม่มีความรับผิดชอบต่อผู้สูงอายุ ปล่อยให้ต้องอยู่ตามลำพังเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุต้องมีความเครียด และอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีความสุขในสังคม
เพื่อเป็นการให้กำลังใจกับผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมีชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีความสุข อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าไม่เป็นภาระต่อสังคม เป็นผู้สูงอายุที่สามารถทำประโยชน์ให้กับชุมชนได้อีกมากมาทางชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแค ได้จัดทำ
โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุตำบลแค ปีงบประมาณ๒๕๖๓ ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้และอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า มีการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและวิธีการดูแลสุขภาพซึ่งกันและกันได้ และส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อการมีสุขภาพที่ดีสนับสนุนให้ครอบครัวเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีคุณค่า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

28.00 15.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว ลดลง

15.00 10.00
3 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

5.00 0.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ลดลง

23.00 15.00
5 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

45.65 20.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

74.68 45.00
7 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

54.36 80.00
8 เพื่อลด จำนวนผู้สูงอายุที่ติดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม  ลดลง

86.23 45.00
9 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

72.32 90.00
10 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

30.00 15.00
11 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

65.00 100.00
12 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวน สถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น

30.42 50.00
13 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

35.35 80.00
14 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

0.00 13.00
15 เพื่อเพิ่มการอนุมัติและนำแผนการดูแลรายบุคคล(CP)ไปปฏิบัติ

แผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล เพิ่มขึ้น

0.00 28.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 393
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะทุกเดือน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะทุกเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการจัดกิจกรรมประจำเดือนทุกๆเดือน จำนวน 12 ครั้งต่อปี โดยมีการจัดประชุม ให้ความรู้เรื่องต่างๆแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ที่ 1-5 (อยู่ในความรับผิดชอบของ รพ.สต.แค) เช่นเรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต การยืดเหยียด เป็นต้น โดยแต่ละเดือนจะมีหัวข้อที่ต่างกัน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ
   จำนวน 30 คน คนละ 20 บาท ทั้งหมด 12 ครั้ง      เป็นเงิน   7,200   บาท 2.  ค่าตอบแทนวิทยากร 12  ครั้ง X 600 บาท (ชั่วโมงละ 300 บาท X 2 ชั่วโมง)     เป็นเงิน   7,200   บาท 3 .  ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ในการดำเนินการ     500      บาท 4. ค่าเอกสารต่างๆ จำนวน 100 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง 2.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี 3.ผู้สูงอายุได้มีการพบปะพูดคุยกันสร้างความสามัคคีกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
2.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
3.ผู้สูงอายุได้มีการพบปะพูดคุยกันสร้างความสามัคคีกัน


>