กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตำมะลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตำมะลัง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตำมะลัง

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตำมะลัง

1. นายมะหมัด หลงกูนัน
2. นายยา ยีอา
3. นางเดียงสายังเจริญ
4. นางสุริยา ตุกังหัน
5. นางสาวเต็มศิริสองเมือง

องค์การบริหารตำบลตำมะลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่สามารถติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน และยังเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้งานกองทุนฯ มีการขับเคลื่อนตามกระบวนการ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 : พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตำมะลัง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : คณะกรรมการและอนุกรรมการ กองทุนฯ มีความรู้และเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการกองทุนฯ

80.00 90.00
2 ข้อที่ 2 ส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

-  การบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพมีประสิทธิภาพ และมีผลการประเมินการบริหารจัดการอยู่ในระดับ A

80.00 90.00
3 ข้อที่ 3 สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ใน 5 ประเภทกิจกรรม

กองทุนฯ มีการสนับสนุน/ส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาล ทั้ง  5 ประเภทกิจกรรม

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 19

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุม/อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคณะอนุกรรมและผู้เกี่ยวข้องด้านการดำเนินการและบริหารจัดการกองทุนฯ ค่าลงทะเบียนที่ใช้ในการประชุมหรือฝึกอบรม - ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

รวมเป็นเงิน9,750บาท

1.2 ประชุม/อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคณะอนุกรรมและผู้เกี่ยวข้องด้านการใช้งานระบบออนไลน์ - ค่าตอบแทนวิทยากร 500 บาท X 3ชั่วโมง = 1,500 บาท - อาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 30 คน = 750 บาท - อาหารกลางวัน 50 บาท X 30 คน = 1,500 บาท - ค่าห้องประชุม = 1,000 บาท รวมเป็นเงิน4,750บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
    1. กองทุนฯ มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14500.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน บริหารกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน บริหารกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1.ประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน บริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง - ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และที่ปรึกษา 400 บาท X 19 คน X 4 ครั้ง= 30,400 บาท - ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการฯ
300 บาท X 2 คน X 2 ครั้ง= 1,200บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรพี่เลี้ยง 500 บาท X 4 ครั้ง= 2,000 บาท
รวมเป็นเงิน 33,600 บาท

2.2 ประชุมคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน LTC จำนวน 4 ครั้ง - ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ 300 บาท X 10 คน X 4 ครั้ง= 12,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรพี่เลี้ยง 500 บาท X 2 ครั้ง=1,000 บาท
รวมเป็นเงิน 13,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

. กองทุนฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46600.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมจัดทำแผนสุขภาพตำบล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดทำแผนสุขภาพตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 40 คน X 1 มื้อ = 1,000 บาท

         รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 ธันวาคม 2565 ถึง 23 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กองทุนฯ มีการสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่น ในพื้นที่ในการดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 62,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. 1. กองทุนฯ มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
2. 2. กองทุนฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
3. 3. กองทุนฯ มีการสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่น ในพื้นที่ในการดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค
4. กองทุนฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ การพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน


>