กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองเบตง
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง
3.
หลักการและเหตุผล

ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมหลังจากการระบาดของโรค Covid- 19 ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ฟื้นตัวช้า เพราะมีสัดส่วนการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวสูง พิษจากโควิด 19 ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจซบเซามากว่า 3 ปี ปี 2565 นี้จึงเป็นปีแรกที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน ปัจจัยสำคัญมาจากการได้รับวัคซีนอีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ทำให้เศรษฐกิจในประเทศเริ่มกลับมาเดินเครื่องได้อย่างเต็มที่รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้หลัก เทศบาลเมืองเบตง หลังการระบาดของโรค Covid- 19ได้มีนโยบายชูด้านการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รับนักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในเขตเทศบาลเมืองเบตงจำนวนมาก จากการเปิดเมือง ทำให้มีสถานประกอบการร้านค้า สถานบริการแหล่งบันเทิง โรงแรม อพาร์ตเม้น ที่พัก ต่างๆมีการเปิดตัวจำนวนมาก ซึ่งจากการสำรวจของงานสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมมีสถานประกอบการประมาณ หนึ่งพันกว่าแห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565) นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐ โรงเรียนต่างๆได้มีการเปิดทำงาน เปิดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบ การฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนี้ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนตัวของประชากรแฝงที่เข้ามาอาศัยเพื่อทำงานอีกเป็นจำนวนมาก สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลโดยตรง คือมีปริมาณขยะประเภทต่างๆเพิ่มมากขึ้น เกิดน้ำเสียจากครัวเรือน สถานประกอบการ หน่วยงานองค์กรเพิ่มมากขึ้น เกิดมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจากการประกอบกิจการ หรือเกิดฝุ่นควันเขม่ารถยนต์ จักรยานยนต์ ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ นอกจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณแหล่งกำเนิดมลพิษแล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานให้บริการด้านการรักษาความสะอาด และด้านสุขาภิบาลของเทศบาล เพราะจะต้องสัมผัสกับสิ่งปฏิกูล มูลฝอยทุกวัน นอกจากนี้ยังมีงานบริการสาธารณะที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอีกหลายงาน เช่น งานป้องกันและควบคุมโรคโดยใช้สารเคมี เช่น ควบคุมป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 โดยการฉีดพ่นสารเคมีฆ่าเชื้อ การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่งานดูแลโรงฆ่าสัตว์และศูนย์พักพิงสุนัข งานสุขาภิบาลตลาด งานฌาปนสถาน งานเหล่านี้ล้วนจะต้องสัมผัสกับสารเคมี และเชื้อโรคอยู่ตลอดเวลา งานศูนย์บริการ งานส่งเสริมสุขภาพ งานทันตสาธารณสุข งานป้องกันและควบคุมโรคและงานอื่นๆที่จะต้องสัมผัสกับผู้ป่วยกับประชาชนจำนวนมาก หากขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ เกิดโรคภัยและอันตรายถึงแก่ชีวิต งานธุรการ ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์เอกสารเป็นระยะเวลานานจนเกิดผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม การเจ็บปวดกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท หมอนรองกระดูก ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้ เทศบาลเมืองเบตง โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เกิดความตระหนักและเห็นถึงอันตราย ที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานให้บริการสาธารณะ และงานออศฟิสดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองเบตง ทั้งสังกัดกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สังกัดกองช่างและสังกัดงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาลขึ้น เพื่อให้การประกอบอาชีพการปฏิบัติงานของพนักงาน เจ้าหน้าที่ ปราศจากโรคและมีสภาวะสมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และจิตวิญญาณ มีสภาวะที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย หรือความเสี่ยงใดๆ อนึ่ง การดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง ได้รับการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ทั้งนี้ขอรับรองว่าโครงการนี้ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น มีความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน และเทศบาลเมืองเบตงได้รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นหาความเสี่ยง และ สามารถขจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย สามารถค้นหาความเสี่ยง และ สามารถขจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมเชิงปฏิบัติเรื่องการสร้างสมดุลชีวิตด้วยดนตรีบำบัด (Musical Therapy) (อ.อารมณ์)
    รายละเอียด

    อบรมเชิงปฏิบัติเรื่องการสร้างสมดุลชีวิตด้วยดนตรีบำบัด (Musical Therapy) (อ.อารมณ์) (1) อบรมบรรยายเรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน - ความรู้เรื่องการยศาสตร์และข้อควรระมัดระวังในการปฏิบัติงาน - ความรู้เรื่องภัยอันตรายที่มีผลต่อสุขภาพและโรคที่เกิดจากการปฏิบัติงาน - ความรู้เรื่องแนวทางการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน (อ.อบายมุข) - ความรู้เรื่องกรณีตัวอย่างของปัญหาด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน (2) อบรมเชิงปฏิบัติการค้นหาความเสี่ยง และ การขจัดความเสี่ยง(แบ่ง 5กลุ่ม) - นำเสนอผลการค้นหาความเสี่ยงและแสดงความคิดเห็น - อบรมเชิงปฏิบัติการโภชนาและอาหารเพื่อสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงาน (อ.อาหารปลอดภัย) แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติจัดทำอาหารสุขภาพ (แบ่ง 5 กลุ่ม) เช่น อาหารกลุ่มโปรตีนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ อาหารสมุนไพร เป็นต้น 1.2 กิจกรรมสันทนาการ - การออกกำลังกายและสันทนาการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค (อ.ออกกำลังกาย) (3) อบรมเชิงปฏิบัติการขจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยการส่งเสริมสุขภาพ และสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลด ละ เลิกอบายมุข การพนัน ยาเสพติด บุหรี่ สุรา และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์(อ.อบายมุข)
    - จำลองสถานการณ์จริง ประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่กำหนด (แบ่ง 5กลุ่ม) 1.ค่าอาหารกลางวัน 75 บาท x 210 คน เป็นเงิน 15,750 บาท 2.ค่าอาหารเย็น 75 บาท x 210 คนเป็นเงิน 15,750 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35บ. x 210 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 14,700 บาท 4.ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 1 คนคนละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 5.ค่าวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ 5 กลุ่มๆละ 2 คน จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บ. เป็นเงิน 36,000 บาท
    6.ค่าวิทยากรสันทนาการ เตรียมความพร้อมจำนวน2ชม.ๆละ1คนๆละ600บาทเป็นเงิน 1,200 บาท 7.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1ม. x3ม. x 250 บ.จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 750 บาท
    8.ค่าวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดอบรม เช่นวัสดุสำนักงาน ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตต่างๆ ฯลฯเป็นเงิน 24,570 บาท
    9.ค่าวัสดุอุปกรณ์ออกกำลังกาย เป็นเงิน 2,200 บาท

    งบประมาณ 113,320.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 3 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

จัดอบรม ณ ลานวัฒนธรรม เทศบาลเมืองเบตงอำเภอเบตงจังหวัดยะลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 113,320.00 บาท

หมายเหตุ : 4.1 ขั้นเตรียม 4.1.1 ชี้แจง ทำความเข้าใจผู้กำกับดูแลของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองช่าง เทศบาลเมืองเบตง และงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาล ให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ 4.1.2 ติดต่อและประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอใช้สถานที่ และประสานวิทยากร 4.2 ขั้นดำเนินการ 4.2.1 การประเมินสุขภาพเบื้องต้น (การวัดความดัน การตรวจประเมินร่างกาย เป็นต้น) 4.2.2 กิจกรรมอบรม โดยแบ่งเป็น - อบรมเชิงปฏิบัติเรื่องการสร้างสมดุลชีวิตด้วยดนตรีบำบัด (Musical Therapy) (อ.อารมณ์) (1) อบรมบรรยายเรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน (อ.อโรคยา) (หลักสูตรแนบท้าย) - ความรู้เรื่องการยศาสตร์และข้อควรระมัดระวังในการปฏิบัติงาน - ความรู้เรื่องภัยอันตรายที่มีผลต่อสุขภาพและโรคที่เกิดจากการปฏิบัติงาน - ความรู้เรื่องแนวทางการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน - ความรู้เรื่องกรณีตัวอย่างของปัญหาด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน (2) อบรมเชิงปฏิบัติการค้นหาความเสี่ยง และ การขจัดความเสี่ยง (แบ่ง 5 กลุ่ม) (หลักสูตรแนบท้าย) - นำเสนอผลการค้นหาความเสี่ยงและแสดงความคิดเห็น - อบรมเชิงปฏิบัติการโภชนาและอาหารเพื่อสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงาน (อ.อาหารปลอดภัย) แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติจัดทำอาหารสุขภาพ (แบ่ง 5 กลุ่ม) เช่น อาหารกลุ่มโปรตีนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ อาหารสมุนไพร เป็นต้น 4.2.3 กิจกรรมสันทนาการ - การออกกำลังกายและสันทนาการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค (อ.ออกกำลังกาย) (3) อบรมเชิงปฏิบัติการขจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยการส่งเสริมสุขภาพ และสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลด ละ เลิกอบายมุข การพนัน ยาเสพติด บุหรี่ สุรา และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ (อ.อบายมุข) - จำลองสถานการณ์จริง ประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่กำหนด (แบ่ง 5กลุ่ม) 4.3 ขั้นประเมินผล (1) จากการทำแบบทดสอบก่อน - หลังการอบรม (2) จากการถาม-ตอบ ระหว่างการอบรม (3) จากแบบสรุปแผนผังความคิดจากการหาความเสี่ยงและขจัดความเสี่ยงจากการทำงาน (4) จากการสังเกตการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม (5) จากผลการเข้าร่วมกิจกรรมและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง 4.4 ขั้นสรุปและเขียนรายงาน

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1 พนักงาน มีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน 2 พนักงาน สามารถค้นหาความเสี่ยง และ สามารถขจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้อย่างถูกต้อง 3 พนักงาน สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปจัดการความเสี่ยงจากการทำงานที่ส่งต่อผลสุขภาพได้

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 113,320.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................