กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคหลังการระบาดของโรค Covid-19
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
กลุ่มคน
1.นายทวีปจิรรัตนโสภา
2.นางชุลีศรีพระจันทร์
3.นางพิมพรรณเต็งมีศรี
4.นางสาวสุรภาทองคำ
5.นายปพนเอกกิตติธรโภคิน
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การก้าวสู่สังคมสูงวัยของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีนิยามที่แตกต่างดันตามบริบทการดำเนินชีวิต โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์ผู้สูงอายุ คือ 65 ปีขึ้นไป สำหรับประเทศไทยใช้เกณฑ์ผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 3 นิยามผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จากสถิติผู้สูงอายุของกรมกิจการผู้สูงอายุย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ.2562-2564) พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุ 11,136,059 คน11,627,130 คน และ 12,241,542 คน ตามลำดับ (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2564)เมื่อพิจารณาพบแนวโน้มผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคมส่งผลกระทบต่อ ระบบการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเปลี่ยนแปลงจากการเสื่อม ถอยของระบบต่างๆภายในร่างกาย และมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ จากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และการสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุจึงมีความต้องการและความจำเป็นในการช่วยเหลือดูแลสุขภาพมากกว่าวัยอื่นๆ (World Health Organization, 2019)
จากการสำรวจ สวัสดิการและอนามัย พ.ศ. 2564 โรคที่พบบ่อย 5 ลำดับในกลุ่มผู้สูงอายุได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคเบาหวาน และความผิดปกติของต่อมไร้ท่อฯ กลุ่มโรคเรื้อรังของระบบหายใจ กลุ่มโรคความผิดปกติทางกระดูกและกล้ามเนื้อ และกลุ่มโรคความผิดปกติทางระบบย่อยอาหาร (สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, 2564) และยังพบปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการพึ่งพาตนเอง เช่น การพลัดตกหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้เป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ครอบครัว รวมทั้งชุมชน โดยเฉพาะช่วงหลังการระบาดของโรค Covid-19 ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการดำเนินชีวิตที่ทำ ให้ทุกคนรวมทั้งผู้สูงอายุต้องปรับตัวจากการดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิมเป็นแบบชีวิตวิถีปกติใหม่และกำลังก้าวสู่ ยุคปกติถัดไป โดยข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2565 พบว่า ผู้สูงอายุติดเชื้อสะสม จำนวน 170,861 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2565) ดังนั้นระบบการดูแลสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยเพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาวะที่สอดคล้องกับ บริบทสังคมสูงอายุในยุคปกติถัดไป จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบให้ผู้สูงอายุต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตหลายด้านให้ สอดคล้องกับบริบทยุคปัจจุบัน ที่เน้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดการสัมผัสโรค ประกอบด้วย 10 ด้าน ได้แก่ ด้านอาหาร ด้านที่อยู่อาศัย ด้านยานพาหนะ (Smart Vehicle) ด้านการสื่อสารด้วยการใช้โซเชียลมีเดียด้านสินค้าอุปโภคบริโภค ด้านการเงิน ด้านเครื่องนุ่งห่ม ด้านยา ด้านพลังงาน และด้านโทรศัพท์มือถือ (Smartphone) รายละเอียดดังนี้
1) ด้านอาหาร ปรับเปลี่ยนจากการรับประทานอาหารตามความต้องการเป็นเน้นการรับประทาน อาหารที่ดีต่อสุขภาพและไม่ก่อให้เกิดผลเสียระยะยาว เช่น การรับประทานอาหารคลีน ผักปลอดสารพิษ อกไก่ เนื้อปลาขนมปังโฮลวีทผสมธัญพืช เป็นต้น
2) ด้านที่อยู่อาศัย บ้านหรือที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเน้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผ่านฟังก์ชันต่างๆใน Smart home เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยภายในบ้าน เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาดการสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านด้วยระบบเสียง การใช้หุ่นยนต์ทำสวน (Rachio) การติดตั้งกล้อง วงจร ปิดในการรักษาความปลอดภัย และหลอดไฟเปิด-ปิดอัตโนมัติ เป็นต้น 3) ด้านยานพาหนะ (Smart Vehicle) ยานพาหนะมีความเปลี่ยนแปลงจากยานพาหนะที่ใช้น้ำมัน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ และรถสาธารณะเป็นยานยนต์ไร้คนขับ และยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถยนต์ ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า หรือรถเมล์ไฟฟ้า
4) ด้านการสื่อสารด้วยการใช้โซเชียลมีเดีย ระบบโซเชียลมีเดียมีการปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ใหม่ๆที่ มีความดึงดูดผู้ใช้งานเกิดขึ้นอย่างหลากหลาย ซึ่งการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนและผู้สูงอายุมีความ จำเป็นต้องสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น
5) ด้านสินค้าอุปโภคบริโภค แนวโน้มการเลือกใช้สินค้าเปลี่ยนแปลงจากความนิยมสินค้าที่ปรุงแต่งสังเคราะห์เป็นสินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติ ปราศจากสารปรุงแต่งเป็นสูตร Natural หรือ Organic แทน เนื่องจาก กระแสความนิยมเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเอง
6) ด้านการเงิน การใช้จ่ายเงินมีความเปลี่ยนแปลงจากการจ่ายเงินสดเป็นการใช้จ่ายผ่านระบบ e-Payment เพื่อความสะดวกและสอดคล้องกับบริบทของการดำเนินชีวิตปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบ emoney, Card Payment และ Internet & Mobile Banking เป็นต้น
7) ด้านเครื่องนุ่งห่ม จากการดำเนินชีวิตที่มีมุมมองและความพยายามใช้ชีวิตควบคู่กับการรักษา สิ่งแวดล้อมเพื่อลดภาวะโลกร้อน จึงมีความเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องนุ่งห่มจากวัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตจากใย สังเคราะห์มาเป็นวัสดุและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
8) ด้านยา แนวโน้มการรักษาสุขภาพปรับเปลี่ยนเป็นการรับประทานยาหรืออาหารเสริมเพื่อ ชะลอความเสื่อม ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค แทนการรับประทานยาเพื่อการรักษาโรคเพียงอย่างเดียว
9) ด้านพลังงาน การใช้พลังงานปรับเปลี่ยนจากการใช้พลังงานที่หมดไป ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซ ธรรมชาติเป็นพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์ และเชื้อเพลิง ขยะ
10) ด้านโทรศัพท์มือถือ (Smartphone) โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันทั้งการสื่อสาร การศึกษา การซื้อสินค้า การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ การเดินทาง เป็นต้น
ความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคปกติใหม่ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมทุกๆ ด้าน ทั้งด้านปัจจัย 4 ด้านรูปแบบการดำรงชีวิต ด้านการสื่อสาร ดังนั้นผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและปรับวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับบริบทยุคปกติถัดไปเพื่อให้เกิดสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีรวมทั้งมีชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน (ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต,2565) ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง ประสบกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับข้อมูลข้างต้น โดยเฉพาะช่วงการระบาดของโรค Covid-19 ที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย ไม่ว่าจะเป็นด้านโรคภัยการเข้าถึงรักษา การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย การโภชนาการที่อาหารมีจำกัดไม่สามารถออกไปจับจ่ายซื้อหาได้อย่างสะดวก และสุขภาพจิต การขาดความปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมขาดทักษะที่สร้างความสัมพันธ์ทันยุคสมัย เช่น ไลน์ (Line) เฟซบุ๊ก (Facebook) และ ติ๊กต็อก (TikTok) อินสตาแกรม (Instagram) ทวิตเตอร์ (Twitter) และแบบออฟไลน์ที่ต้องเดินทางไปพบปะกันตาม สถานที่ต่างๆ ในชุมชน ปัญหาเหล่านี้จึงส่งผลต่อเนื่องแม้ปัจจุบันรัฐบาลจะประกาศให้โรค Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่นแล้วก็ตาม

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองเบตง ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงจัดทำโครงการการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคหลังการระบาดของโรค Covid-19 โดยใช้กลยุทธิ์หลักการ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว สร้างการเรียนรู้ในยุคปกติถัดไปจากการระบาดของโรค Covid-19 ด้วยกระบวนการให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย แก่ผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันโรคในยุคปกติต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
    ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1. จัดเตรียมโครงการ และเตรียมอุปกรณ์
    รายละเอียด
    1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2.00 X 3.0 เมตรเป็นเงิน 1,500 บาท
    2. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม(กระดาษA4,กระดาษสี,ปากกา,ปากกาลบคำผิด,ดินสอ,สมุด,คลิปดำหนีบกระดาษ ฯลฯ) เป็นเงิน 2,400 บาท
    3. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
    งบประมาณ 5,400.00 บาท
  • 2. กิจกรรมอบเชิงปฏิบัติการและอบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะการดำเนินชีวิตทางด้านต่างๆให้ผู้สูงอายุสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ
    รายละเอียด

    1.2.2.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และอบรมให้ความรู้  (เป้าหมายผู้สูงอายุ 60 คน จำนวน 30 ครั้ง) หมวดที่ 1 อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ - อบรมเชิงปฏิบัติการอาหารเป็นยาสำหรับผู้สูงอายุ
    (19 มกราคม 2566) - อบเชิงปฏิบัติการการทำขนมบัวลอยสมุนไพร เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ (26 มกราคม 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการทำปอเปี๊ยะสดญวน เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
    (9 กุมภาพันธ์ 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการทำอาหารคลีน เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
    (23 กุมภาพันธ์ 2566) - อบรมให้ความรู้การรับประทานอาหารตามวัยตามโรค เพื่อสุขภาพที่ดีในวัยสูงอายุ
    (30 มีนาคม 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการทำข้าวยำสมุนไพร เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
    (20 กรกฎาคม 2566) หมวดที่ 2 การดูแล และป้องกันผู้สูงอายุในวัยที่เปลี่ยนแปลง - อบรมเชิงปฏิบัติการการนวด เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
    (16 กุมภาพันธ์ 2566) - อบรมให้ความรู้การใส่ใจสายตาในวัยผู้สูงอายุ
    (16 มีนาคม 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการ 11 อ.ให้สูงวัยแบบ Strong
    (11 พฤษภาคม 2566) - อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพฟันที่ดีในวัยผู้สูงอายุ
    (25 พฤษภาคม 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยศาสตร์กายภาพบำบัด
    (22 มิถุนายน 2566) - อบรมให้ความรู้การป้องกันและดูแลไม่ให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง
    (29 มิถุนายน 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการนวดเพื่อลดอาการ Long Covid-19 ในผู้สูงอายุ
    (6 กรกฎาคม 2566) หมวดที่ 3 การใช้ยา และการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ - อบรมเชิงปฏิบัติการการสาธิตการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับผู้สูงอายุ (2 กุมภาพันธ์ 2566) - อบรมให้ความรู้การรับประทานยาและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ
    (2 มีนาคม 2566) หมวดที่ 4 โรคภัยในวัยสูงอายุ - อบรมให้ความรู้โรคไม่ติดเชื้อ และการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (13 กรกฎาคม 2566) หมวดที่ 5 กฎหมายในชีวิตประจำวัน และสิทธิผู้ป่วย - อบรมให้ความรู้การป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนและกฎหมายจราจรเบื้องต้น (1 มิถุนายน 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการกฎหมายเบื้องต้น ในการดูแล ป้องกัน ฟื้นฟู สุขภาพผู้สูงอายุ (15 มิถุนายน 2566) หมวดที่ 6 สมุนไพรและภูมิปัญญาสำหรับผู้สูงอายุ - อบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรแก้อาการ Long Covid-19 ในผู้สูงอายุ (9 มีนาคม 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการทำยาดมสมุนไพร (23 มีนาคม 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการทำสมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือน (20 เมษายน 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันภาวะสมองเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย (8 มิถุนายน 2566) หมวดที่ 7 เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ - อบรมให้ความรู้การใช้เทคโนโลยี เพื่อเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และพิสูจน์ตัวตนหมอพร้อม (27 เมษายน 2566) - อบรมให้ความรู้การจัดที่อยู่อาศัยอย่างปลอดภัย แบบ Smart home (18 พฤษภาคม 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการประดิษฐ์นวัตกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ (10 สิงหาคม 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการการประดิษฐ์นวัตกรรมสุขภาพเพื่อลดอาการ Long Covid-19 (24 สิงหาคม 2566) หมวดที่ 8 สุขภาพจิตที่ดีในวัยสูงอายุ - อบรมให้ความรู้สุขภาพจิตที่ดีในวัยผู้สูงอายุ
    (27 กรกฎาคม 2566) - อบรมเชิงปฏิบัติการหัวเราะบำบัด และกล่องแห่งความสุขของผู้สูงอายุ - (17 สิงหาคม 2566) - อบรมให้ความรู้การคิดเชิงบวก และการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข (31 สิงหาคม 2566) - "สูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีความสุข" และ พิธีมอบวุฒิบัตรจบหลักสูตรการศึกษา (7 กันยายน 2566)         1.2.2.2 กิจกรรมนันทนาการ สร้างความสุขและรอยยิ้ม ให้ผู้สูงอายุ (เป้าหมายผู้สูงอายุ 60 คน จำนวน 30 ครั้ง) - สร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน
    - ดนตรีบำบัด - กิจกรรมนันทนาการ

    งบประมาณ 336,218.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2566 ถึง 7 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

ณโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 341,618.00 บาท

หมายเหตุ : 1. วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.1ขั้นวางแผน 1.1.1. เชิญประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ และคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองเบตง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 1.1.2 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการวางแผนงานร่วมกัน ระหว่างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กองสวัสดิการและสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หน่วยพยาบาลปฐมภูมิ โรงพยาบาลเบตง พร้อมทั้งกำหนดแนวทางเนื้อหาการอบรม วันที่และสถานที่ดำเนินการ 1.1.3 เสนอโครงการการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคหลังการระบาดของโรค Covid-19เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณขับเคลื่อนโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา 1.1.4 ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง 1.1.5 จัดเตรียมสถานที่และจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย 1.2 ขั้นดำเนินการ 1.2.1 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1.2.2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และอบรมให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย แก่ผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ควบคู่การสร้างบรรยากาศความสุข เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความสุขในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น จำนวน 30 ครั้ง 1.3 ขั้นประเมินผลและสรุปโครงการ 1.3.1 ประเมินผลการดำเนินการ 1.3.2 สรุปผลการดำเนินการ 1.3.3 รายงานผลการดำเนินการตามขั้นตอน

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
  2. ผู้สูงอายุมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
  3. โรงเรียนผู้สูงอายุมีนวัตกรรมด้านสุขภาพ และผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 341,618.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................