กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคหลังการระบาดของโรค Covid-19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ

1.นายทวีปจิรรัตนโสภา
2.นางชุลีศรีพระจันทร์
3.นางพิมพรรณเต็งมีศรี
4.นางสาวสุรภาทองคำ
5.นายปพนเอกกิตติธรโภคิน

ณโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การก้าวสู่สังคมสูงวัยของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีนิยามที่แตกต่างดันตามบริบทการดำเนินชีวิต โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์ผู้สูงอายุ คือ 65 ปีขึ้นไป สำหรับประเทศไทยใช้เกณฑ์ผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 3 นิยามผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จากสถิติผู้สูงอายุของกรมกิจการผู้สูงอายุย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ.2562-2564) พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุ 11,136,059 คน11,627,130 คน และ 12,241,542 คน ตามลำดับ (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2564)เมื่อพิจารณาพบแนวโน้มผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคมส่งผลกระทบต่อ ระบบการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเปลี่ยนแปลงจากการเสื่อม ถอยของระบบต่างๆภายในร่างกาย และมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ จากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และการสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุจึงมีความต้องการและความจำเป็นในการช่วยเหลือดูแลสุขภาพมากกว่าวัยอื่นๆ (World Health Organization, 2019)
จากการสำรวจ สวัสดิการและอนามัย พ.ศ. 2564 โรคที่พบบ่อย 5 ลำดับในกลุ่มผู้สูงอายุได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคเบาหวาน และความผิดปกติของต่อมไร้ท่อฯ กลุ่มโรคเรื้อรังของระบบหายใจ กลุ่มโรคความผิดปกติทางกระดูกและกล้ามเนื้อ และกลุ่มโรคความผิดปกติทางระบบย่อยอาหาร (สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, 2564) และยังพบปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการพึ่งพาตนเอง เช่น การพลัดตกหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้เป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ครอบครัว รวมทั้งชุมชน โดยเฉพาะช่วงหลังการระบาดของโรค Covid-19 ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการดำเนินชีวิตที่ทำ ให้ทุกคนรวมทั้งผู้สูงอายุต้องปรับตัวจากการดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิมเป็นแบบชีวิตวิถีปกติใหม่และกำลังก้าวสู่ ยุคปกติถัดไป โดยข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2565 พบว่า ผู้สูงอายุติดเชื้อสะสม จำนวน 170,861 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2565) ดังนั้นระบบการดูแลสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยเพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาวะที่สอดคล้องกับ บริบทสังคมสูงอายุในยุคปกติถัดไป
จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบให้ผู้สูงอายุต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตหลายด้านให้ สอดคล้องกับบริบทยุคปัจจุบัน ที่เน้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดการสัมผัสโรค ประกอบด้วย 10 ด้าน ได้แก่ ด้านอาหาร ด้านที่อยู่อาศัย ด้านยานพาหนะ (Smart Vehicle) ด้านการสื่อสารด้วยการใช้โซเชียลมีเดียด้านสินค้าอุปโภคบริโภค ด้านการเงิน ด้านเครื่องนุ่งห่ม ด้านยา ด้านพลังงาน และด้านโทรศัพท์มือถือ (Smartphone) รายละเอียดดังนี้
1) ด้านอาหาร ปรับเปลี่ยนจากการรับประทานอาหารตามความต้องการเป็นเน้นการรับประทาน อาหารที่ดีต่อสุขภาพและไม่ก่อให้เกิดผลเสียระยะยาว เช่น การรับประทานอาหารคลีน ผักปลอดสารพิษ อกไก่ เนื้อปลาขนมปังโฮลวีทผสมธัญพืช เป็นต้น
2) ด้านที่อยู่อาศัย บ้านหรือที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเน้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผ่านฟังก์ชันต่างๆใน Smart home เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยภายในบ้าน เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาดการสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านด้วยระบบเสียง การใช้หุ่นยนต์ทำสวน (Rachio) การติดตั้งกล้อง วงจร ปิดในการรักษาความปลอดภัย และหลอดไฟเปิด-ปิดอัตโนมัติ เป็นต้น
3) ด้านยานพาหนะ (Smart Vehicle) ยานพาหนะมีความเปลี่ยนแปลงจากยานพาหนะที่ใช้น้ำมัน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ และรถสาธารณะเป็นยานยนต์ไร้คนขับ และยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถยนต์ ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า หรือรถเมล์ไฟฟ้า
4) ด้านการสื่อสารด้วยการใช้โซเชียลมีเดีย ระบบโซเชียลมีเดียมีการปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ใหม่ๆที่ มีความดึงดูดผู้ใช้งานเกิดขึ้นอย่างหลากหลาย ซึ่งการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนและผู้สูงอายุมีความ จำเป็นต้องสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น
5) ด้านสินค้าอุปโภคบริโภค แนวโน้มการเลือกใช้สินค้าเปลี่ยนแปลงจากความนิยมสินค้าที่ปรุงแต่งสังเคราะห์เป็นสินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติ ปราศจากสารปรุงแต่งเป็นสูตร Natural หรือ Organic แทน เนื่องจาก กระแสความนิยมเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเอง
6) ด้านการเงิน การใช้จ่ายเงินมีความเปลี่ยนแปลงจากการจ่ายเงินสดเป็นการใช้จ่ายผ่านระบบ e-Payment เพื่อความสะดวกและสอดคล้องกับบริบทของการดำเนินชีวิตปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบ emoney, Card Payment และ Internet & Mobile Banking เป็นต้น
7) ด้านเครื่องนุ่งห่ม จากการดำเนินชีวิตที่มีมุมมองและความพยายามใช้ชีวิตควบคู่กับการรักษา สิ่งแวดล้อมเพื่อลดภาวะโลกร้อน จึงมีความเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องนุ่งห่มจากวัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตจากใย สังเคราะห์มาเป็นวัสดุและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
8) ด้านยา แนวโน้มการรักษาสุขภาพปรับเปลี่ยนเป็นการรับประทานยาหรืออาหารเสริมเพื่อ ชะลอความเสื่อม ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค แทนการรับประทานยาเพื่อการรักษาโรคเพียงอย่างเดียว
9) ด้านพลังงาน การใช้พลังงานปรับเปลี่ยนจากการใช้พลังงานที่หมดไป ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซ ธรรมชาติเป็นพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์ และเชื้อเพลิง ขยะ
10) ด้านโทรศัพท์มือถือ (Smartphone) โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันทั้งการสื่อสาร การศึกษา การซื้อสินค้า การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ การเดินทาง เป็นต้น
ความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคปกติใหม่ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมทุกๆ ด้าน ทั้งด้านปัจจัย 4 ด้านรูปแบบการดำรงชีวิต ด้านการสื่อสาร ดังนั้นผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและปรับวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับบริบทยุคปกติถัดไปเพื่อให้เกิดสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีรวมทั้งมีชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน (ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต,2565)
ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง ประสบกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับข้อมูลข้างต้น โดยเฉพาะช่วงการระบาดของโรค Covid-19 ที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย ไม่ว่าจะเป็นด้านโรคภัยการเข้าถึงรักษา การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย การโภชนาการที่อาหารมีจำกัดไม่สามารถออกไปจับจ่ายซื้อหาได้อย่างสะดวก และสุขภาพจิต การขาดความปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมขาดทักษะที่สร้างความสัมพันธ์ทันยุคสมัย เช่น ไลน์ (Line) เฟซบุ๊ก (Facebook) และ ติ๊กต็อก (TikTok) อินสตาแกรม (Instagram) ทวิตเตอร์ (Twitter) และแบบออฟไลน์ที่ต้องเดินทางไปพบปะกันตาม สถานที่ต่างๆ ในชุมชน ปัญหาเหล่านี้จึงส่งผลต่อเนื่องแม้ปัจจุบันรัฐบาลจะประกาศให้โรค Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่นแล้วก็ตาม

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองเบตง ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงจัดทำโครงการการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคหลังการระบาดของโรค Covid-19 โดยใช้กลยุทธิ์หลักการ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว สร้างการเรียนรู้ในยุคปกติถัดไปจากการระบาดของโรค Covid-19 ด้วยกระบวนการให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย แก่ผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันโรคในยุคปกติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง

ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/01/2023

กำหนดเสร็จ 07/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดเตรียมโครงการ และเตรียมอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
1. จัดเตรียมโครงการ และเตรียมอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2.00 X 3.0 เมตรเป็นเงิน 1,500 บาท
  2. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม(กระดาษA4,กระดาษสี,ปากกา,ปากกาลบคำผิด,ดินสอ,สมุด,คลิปดำหนีบกระดาษ ฯลฯ) เป็นเงิน 2,400 บาท
  3. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบเชิงปฏิบัติการและอบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะการดำเนินชีวิตทางด้านต่างๆให้ผู้สูงอายุสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบเชิงปฏิบัติการและอบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะการดำเนินชีวิตทางด้านต่างๆให้ผู้สูงอายุสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.2.2.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และอบรมให้ความรู้  (เป้าหมายผู้สูงอายุ 60 คน จำนวน 30 ครั้ง) หมวดที่ 1 อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ -  อบรมเชิงปฏิบัติการอาหารเป็นยาสำหรับผู้สูงอายุ
(19 มกราคม 2566) -  อบเชิงปฏิบัติการการทำขนมบัวลอยสมุนไพร เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ (26 มกราคม 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการทำปอเปี๊ยะสดญวน เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
(9 กุมภาพันธ์ 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการทำอาหารคลีน เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
(23 กุมภาพันธ์ 2566) -  อบรมให้ความรู้การรับประทานอาหารตามวัยตามโรค เพื่อสุขภาพที่ดีในวัยสูงอายุ
(30 มีนาคม 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการทำข้าวยำสมุนไพร เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
(20 กรกฎาคม 2566) หมวดที่ 2 การดูแล และป้องกันผู้สูงอายุในวัยที่เปลี่ยนแปลง -  อบรมเชิงปฏิบัติการการนวด เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
(16 กุมภาพันธ์ 2566) -  อบรมให้ความรู้การใส่ใจสายตาในวัยผู้สูงอายุ
(16 มีนาคม 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการ 11 อ.ให้สูงวัยแบบ Strong
(11 พฤษภาคม 2566) -  อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพฟันที่ดีในวัยผู้สูงอายุ
(25 พฤษภาคม 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยศาสตร์กายภาพบำบัด
(22 มิถุนายน 2566) -  อบรมให้ความรู้การป้องกันและดูแลไม่ให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง
(29 มิถุนายน 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการนวดเพื่อลดอาการ Long Covid-19 ในผู้สูงอายุ
(6 กรกฎาคม 2566) หมวดที่ 3 การใช้ยา และการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ -  อบรมเชิงปฏิบัติการการสาธิตการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับผู้สูงอายุ (2 กุมภาพันธ์ 2566) -  อบรมให้ความรู้การรับประทานยาและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ
(2 มีนาคม 2566) หมวดที่ 4 โรคภัยในวัยสูงอายุ -  อบรมให้ความรู้โรคไม่ติดเชื้อ และการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง (13 กรกฎาคม 2566) หมวดที่ 5 กฎหมายในชีวิตประจำวัน และสิทธิผู้ป่วย -  อบรมให้ความรู้การป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนและกฎหมายจราจรเบื้องต้น (1 มิถุนายน 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการกฎหมายเบื้องต้น ในการดูแล ป้องกัน ฟื้นฟู สุขภาพผู้สูงอายุ (15 มิถุนายน 2566) หมวดที่ 6 สมุนไพรและภูมิปัญญาสำหรับผู้สูงอายุ -  อบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรแก้อาการ Long Covid-19 ในผู้สูงอายุ (9 มีนาคม 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการทำยาดมสมุนไพร (23 มีนาคม 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการทำสมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือน (20 เมษายน 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันภาวะสมองเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย (8 มิถุนายน 2566) หมวดที่ 7 เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ -  อบรมให้ความรู้การใช้เทคโนโลยี เพื่อเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และพิสูจน์ตัวตนหมอพร้อม (27 เมษายน 2566) -  อบรมให้ความรู้การจัดที่อยู่อาศัยอย่างปลอดภัย แบบ Smart home (18 พฤษภาคม 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการประดิษฐ์นวัตกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ (10 สิงหาคม 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการการประดิษฐ์นวัตกรรมสุขภาพเพื่อลดอาการ Long Covid-19 (24 สิงหาคม 2566) หมวดที่ 8 สุขภาพจิตที่ดีในวัยสูงอายุ -  อบรมให้ความรู้สุขภาพจิตที่ดีในวัยผู้สูงอายุ
(27 กรกฎาคม 2566) -  อบรมเชิงปฏิบัติการหัวเราะบำบัด และกล่องแห่งความสุขของผู้สูงอายุ -  (17 สิงหาคม 2566) -  อบรมให้ความรู้การคิดเชิงบวก และการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข (31 สิงหาคม 2566) -  "สูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีความสุข" และ พิธีมอบวุฒิบัตรจบหลักสูตรการศึกษา (7 กันยายน 2566)         1.2.2.2 กิจกรรมนันทนาการ สร้างความสุขและรอยยิ้ม ให้ผู้สูงอายุ (เป้าหมายผู้สูงอายุ 60 คน จำนวน 30 ครั้ง) -  สร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน
-  ดนตรีบำบัด -  กิจกรรมนันทนาการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มกราคม 2566 ถึง 7 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
336218.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 341,618.00 บาท

หมายเหตุ :
1. วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1.1ขั้นวางแผน
1.1.1. เชิญประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ และคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองเบตง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565
1.1.2 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการวางแผนงานร่วมกัน ระหว่างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กองสวัสดิการและสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หน่วยพยาบาลปฐมภูมิ โรงพยาบาลเบตง พร้อมทั้งกำหนดแนวทางเนื้อหาการอบรม วันที่และสถานที่ดำเนินการ
1.1.3 เสนอโครงการการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคหลังการระบาดของโรค Covid-19เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณขับเคลื่อนโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา
1.1.4 ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง
1.1.5 จัดเตรียมสถานที่และจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย
1.2 ขั้นดำเนินการ
1.2.1 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
1.2.2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และอบรมให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย แก่ผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ควบคู่การสร้างบรรยากาศความสุข เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความสุขในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น จำนวน 30 ครั้ง
1.3 ขั้นประเมินผลและสรุปโครงการ
1.3.1 ประเมินผลการดำเนินการ
1.3.2 สรุปผลการดำเนินการ
1.3.3 รายงานผลการดำเนินการตามขั้นตอน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
2. ผู้สูงอายุมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
3. โรงเรียนผู้สูงอายุมีนวัตกรรมด้านสุขภาพ และผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>