กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมโรค และป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

รพ.สต นาทับ

หมู่ที่2, 12 ,และหมู่ที่่ 13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทับ พบว่ามีผู้ป่วยต่อเนื่องในทุกๆปี จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของ
รพ.สต.นาทับ ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2560-2565) พบผู้ป่วยตามลำดับดังนี้ ปี 2560 จำนวน 21 ราย ปี 2561 จำนวน 21 รายปี 2562 จำนวน 12 ราย ปี 2563 จำนวน 6 ราย ปี 2564 จำนวน 0 ราย และในปี 2565 พบผู้ป่วยทั้งหมด 21 ราย อาศัยอยู่ หมู่ที่ 1 จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 2 จำนวน 10 ราย หมู่ที่10 จำนวน 2 ราย หมู่ที่ 12 จำนวน 2 ราย และหมู่ที่ 13 จำนวน 6 รายจะเห็นได้ว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ รพ.สต.นาทับ ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง จำเป็นจะต้องได้รับการควบคุมโรคอย่าง มีประสิทธิภาพ ประกอบกับตำบลนาทับเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีลำคลองหลายสายไหลผ่าน ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี ทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้านจึงมีความจำเป็น ต้องแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยการวางแผนงานกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในทุกๆปี กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาทับร่วมกับ คณะทำงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ประจำพื้นที่ตำบลนาทับ ได้ร่วมกันเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน โดยกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกัน ลดการเกิดโรค และการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 10 ต่อแสนของประชากร

10.00 10.00
2 ลดอัตราป่วยตายของโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยตายของโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์

10.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7,200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังโรค 1.1 จัดรถแห่ประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ ต.นาทับ ทั้ง 8 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
1.ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังโรค 1.1 จัดรถแห่ประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ ต.นาทับ ทั้ง 8 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2*2.4 ม. แผ่นละ 500 บาทจำนวน 2 แผ่น เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มกราคม 2566 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 2. ประชุมทีม SRRT ตำบลนาทับเพื่อทบทวนบทบาทในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก 2.1 จัดการประชุมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานควบคุมโรคประจำหน่วยงานในพื้นที่เพื่อจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการควบคุมและป้องกันโรคในพื้นที่ (SRRT) โดยประกอบด้วย จนท.รพ.สต.นาทับ รพ.สต.นาเสมี

ชื่อกิจกรรม
2. ประชุมทีม SRRT ตำบลนาทับเพื่อทบทวนบทบาทในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก 2.1 จัดการประชุมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานควบคุมโรคประจำหน่วยงานในพื้นที่เพื่อจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการควบคุมและป้องกันโรคในพื้นที่ (SRRT) โดยประกอบด้วย จนท.รพ.สต.นาทับ รพ.สต.นาเสมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 30 บาท จำนวน 22 คน เป็นเงิน 660 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
660.00

กิจกรรมที่ 3 3. จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการควบคุมและป้องกันโรคการไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
3. จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการควบคุมและป้องกันโรคการไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ทรายอะเบท จำนวน 4 ถังๆละ 4,500 บาท เป็นเงิน 18,000บาท -น้ำยาพ่นหมอกควัน จำนวน 8 ลิตร เป็นเงิน 12,800บาท -สเปรย์ป้องกันยุงชนิดกระป๋อง จำนวน 24 กระป๋องเป็น เงิน75 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท -นำมันเบนซิน จำนวน 100 ลิตร x 40 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท
-น้ำมันโซลาร์ จำนวน 300 ลิตร x 36 บาทเป็นเงิน 10,800บาท -ค่าพนักงานพ่นหมอกควัน 30 ครั้ง ครั้งละ 300 บาท เป็นเงิน 9,000บาท ในการพ่น 1 ครั้ง ใช้ น้ำมันเบนซิน 3 ลิตร /โซลาร์ 15 ลิตร :30 หลังคาเรือน /พ่นจำนวน 2 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56400.00

กิจกรรมที่ 4 ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลนาทับด้วยการจัดกิจกรรม Big cleaning day โดยเน้นในพื้นที่หมู่ 2 หมู่ 12 และหมู่ 13 เพราะเป็นหมู่บ้านนำร่องที่เกิดการระบาดมากที่สุดในพื้นที่ตำบลนาทับ

ชื่อกิจกรรม
ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลนาทับด้วยการจัดกิจกรรม Big cleaning day โดยเน้นในพื้นที่หมู่ 2 หมู่ 12 และหมู่ 13 เพราะเป็นหมู่บ้านนำร่องที่เกิดการระบาดมากที่สุดในพื้นที่ตำบลนาทับ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 30บาท หมู่ละ 100 คน จำนวน 3 หมู่บ้าน ทั้งหมด2 ครั้ง เป็นเงิน 18,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 76,060.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
2.ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก


>