กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

กองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ

นางสาวรอฝีอ๊ะรอเกต
นางสาวอังคณา ศรียาน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแป-ระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาคน ซึ่งคนที่มีประสิทธิภาพต้องมีการมีการวางรากฐานที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คือมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์ มีการดูแลครรภ์อย่างมีคุณภาพ มีการคลอดที่ปลอดภัย และได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัยซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ได้ผลดีนั้น ต้องมีการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ผ่านการเล่น จากการศึกษาในหลายๆการศึกษา พบว่าการเล่นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ เช่น ความคิด จินตนาการ ภาษาการเรียนรู้กฎระเบียบทางสังคม วัฒนธรรม การเล่นจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ ความคิด การกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ การแก้ไขปัญหาของเด็ก และช่วยในการพัฒนาจิตใจของเด็กให้เด็กรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และมีความสุขจากการเล่นซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาการบริหารสมองส่วนหน้า ให้รู้จัก “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ แก้ไขปัญหาเป็น อยู่กับผู้อื่นเป็น และมีความสุขเป็น”ดังนั้นการเล่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กนอกจากจะทำให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียดแล้ว ยังช่วยให้การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าซึ่งการทำให้เด็กมีทักษะทางสมองที่ดีได้ต้องผ่านการฝึกฝนซ้ำๆตลอดเวลา ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย พ่อแม่ ผู้ปกครองและคุณครูในศูนย์เด็กเล็กจึงจำเป็นต้องมีความรู้ในการส่งเสริมทักษะสมองเด็กอย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสมตลอดช่วงวัย จากการการศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กทักษะด้านภาษา และพฤติกรรมสุขภาพของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระในปีการศึกษา2565 พบว่า เด็ก 2-5 ปีมีปัญหาด้านการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมตามเป็นส่วนใหญ่ เด็กต้องได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอย่างเร่งด่วน และจากการศึกษายังพบว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็ก และพบว่าผู้ปกครองให้เด็กๆ อายุ 2-๕ ปีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทโทรศัพท์มือถือ แทบเลต มากกว่าวันละ๑ ชม. ในขณะที่การใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกับลูกได้แก่ เล่น วาดรูป ระบายสี ทำกิจกรรมนันทนาการต่างร่วมกับลูก อย่างน้อยครั้งละ ๓๐ นาทีมีน้อยมาก และยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พ่อแม่ผู้ปกครองขาดความรู้ในการอบรมเลี้ยงเด็กที่ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทยของกรมสุขภาพจิต ในปี 2559 จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น กองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการทักษะด้านภาษาและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็ก
2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ การเสริมสร้างระดับสติปัญญา ให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้เรียนรู้ การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการการใช้ภาษา/การเจริญเติบโตสมวัยที่เหมาะสมตามวัย

1.1ร้อยละ ของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการการใช้ภาษา/การเจริญเติบโตสมวัยที่เหมาะสมตามวัย

0.00
2 2. เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ ความมเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาด้านการใช้ภาษา/การเจิญเติบโตของเด็กปฐมวัย

2.1 ร้อยละ ของครู/ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้ภาษา/การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยมากขึ้นไป

0.00
3 ๓. ส่งเสริมให้มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

3.1ร้อยละ ของเด็กปฐมวัยมีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ ๒5 บาท x ๑ มื้อx ๑๐0 คนเป็นเงิน2,500 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด 2 x 3 ม. ตร.ม. x 150 บาทเป็นเงิน900 บาท - ค่าของรางวัลสำหรับหนูน้อยสุขภาพดี จำนวน 9 ชิ้น x ๓00บาทเป็นเงิน๒,๗00 บาท - ค่าเครื่องชั่งนำหนักดิจิตอลพร้อมที่วัดส่วนสูงจำนวน 3 ชุด x 6,300 เป็นเงิน 18,900 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 ท่าน x 600 บาท x 2 ชั่วโมงเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทักษะด้านภาษาและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการการใช้ภาษา/การเจริญเติบโตสมวัยที่เหมาะสมตามวัย
2.ครู/ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านการใช้ภาษา/การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย
3.มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม


>