กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำมีมาตรฐาน อาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกาแย กาเตาะ ปีงบประมาน 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาแย

หมู่ที่ 5,6 และหมู่ที่ 7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้านชำ และแผงลอยไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน ผู้ประกอบการไม่เฝ้าระวัง และตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และร้านจำหน่ายอาหาร

 

90.00

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ ตามมาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสาร สเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคและผู้ประกอบการมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ตำบลดุซงญอ มีสถานประกอบการต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอยร้านขายของชำในหมู่บ้านประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภคซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย
จากผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคตรวจร้านชำในพื้นที่หมู่ที่ 5 , 6และ7 ปี 2565 มีร้านชำทั้งหมด จำนวน 14 ร้าน พบร้านชำที่มีการจำหน่ายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 4 ร้าน พบยาอันตราย จำนวน 2 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 50 ยังพบผลิตภัณฑ์ที่ผ่านไม่ผ่านมาตรฐานและมีการวางสินค้าประเภท อาหาร ยา และเครื่องสำอางปะปนกัน
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาตาะ ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนาร้านขายของชำในหมู่บ้านจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลง จึงได้จัดทำโครงการร้านชำคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้านขายของชำได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ และแผงลอย มีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง 2. เพื่อพัฒนาร้านชำให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 3. เพื่อให้ร้านชำ และแผงลอยได้รับการประเมิน ปีละ 2 ครั้ง 4. เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย
  1. ผู้ประกอบการร้านชำ และแผงลอย มีความรู้ร้อยละ 100
  2. ร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน ร้อยละ 70
  3. ร้านชำ และแผงลอยได้รับการตรวจประเมิน ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 100
  4. ผู้ประกอบการสามารถเฝ้าระวัง และตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และร้านจำหน่ายอาหาร ร้อยละ 100
90.00 100.00

1. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ และแผงลอย มีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
2. เพื่อพัฒนาร้านชำให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
3. เพื่อให้ร้านชำ และแผงลอยได้รับการประเมิน ปีละ 2 ครั้ง
4. เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1อบรมให้ความรู้ - จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ผู้ประกอบการร้านชำ และแผงลอย
1. ค่าอาหารว่างจำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อมื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท 2 ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน คนละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท 3 ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*2 เมตร ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ประกอบการร้านชำ และแผงลอย มีความรู้ร้อยละ 100
  2. ร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน ร้อยละ 70
  3. ร้านชำ และแผงลอยได้รับการตรวจประเมิน ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 100
  4. ผู้ประกอบการสามารถเฝ้าระวัง และตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และร้านจำหน่ายอาหาร ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมชี้แจงผู้ตรวจประเมินร้านชำ และแผงลอย ในการใช้แบบประเมิน และการใช้ชุดทดสอบอาหารสารป่นเปื้อน
  • ทดสอบตัวอย่างอาหารป่นเปื้อน
  1. ค่าอาหารอาหารว่าง จำนวน9 คน ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 225 บาท 2 ค่าชุดทดสอบเป็นเงิน 9,360 บาท 2.1 ค่าชุดทดสอบสารฟอกขาว 320 บาท/ชุด จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 1280 บาท 2.2 ค่าชุดทดสอบยาฆ่าแมลง 800 บาท/ชุด จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 3200 บาท 2.3 ค่าชุดทดสอบสารบอแรกซ์ 380 บาท/ชุด จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 1520 บาท 2.4 ค่าชุดทดสอบสาลิซิลิค 480 บาท/ชุด จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 1920 บาท 2.5 ค่าชุดทดสอบฟอร์มาลีน 80 บาท/ชุด จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 320 บาท 2.6 ค่าชุดทดสอบสารสเตรอยด์ 280 บาท/ชุด จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 1120 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2566 ถึง 21 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการสามารถเฝ้าระวัง และตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และร้านจำหน่ายอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9585.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ตรวจประเมิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ตรวจประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจประเมินร้านร้านชำ และแผงลอย -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2566 ถึง 28 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน ร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,335.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลจากการดำเนินงานทำให้ผู้ประกอบการร้านชำ ผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง และประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน และร้านชำผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน ร้อยละ 60


>