กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs ตะโละกาโปร์สะอาดด้วยมือเรา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์

-

ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

 

10.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

20.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

20.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

20.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

30.00
6 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

 

30.00
7 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

 

60.00
8 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

 

60.00
9 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง

 

70.00
10 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

 

20.00

ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 มาตรา 22 (3) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้มีและรักษาทางระบายน้ำและรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเอง ในการกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ.2559 - 2564) เพื่อส่งเสริมการจัดการมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางโดยมุ่งเน้นการใช้หลักการ 3Rs (ใช้น้อย,ใช้ซ้ำ และแปรรูปมาใช้ใหม่) มุ่งเน้นการจัดการขยะต้นทางในชุมชน นอกจากนี้ ขยะยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง, หนู, แมลงสาบ เป็นต้น ซึ่งเป็นบ่อเกิดการเกิดโรคติดต่อในคนและสัตว์
ปัจจุบันมีอัตราการเพิ่มของปริมาณขยะจากครัวเรือน สาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลตะโละกาโปร์ ซึ่งจะเห็นว่าขยะมูลฝอยมีอัตราเพิ่มขึ้นโดยอัติโนมัติ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารมีความสำคัญและจำเป็นทำให้มีวัสดุประเภทพลาสติกเกิดขึ้นมากมาย และมีความหลากหลายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด ถุงพลาสติกทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นทั้งต่อผู้ขายและผู้ซื้อ ในขณะเดียวกันในตัวอำเภอได้มีร้านสะดวกซื้ออยู่มากมาย ซึ่งไม่ได้มีแค่ตัวผลิตภัณฑ์เท่านั้น หากยังพ่วงเอาขยะกลับบ้านอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของขยะ
ในปัจจุบันสามารถแบ่งตามองค์ประกอบหลักได้ 4 ส่วน คือ ขยะย่อยสลายได้ร้อยละ 50, ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 40, ของเสียอันตราย ร้อยละ 20 และขยะอื่นๆ ร้อยละ 60 ดังนั้นการจัดการขยะต้นทาง เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและยั่งยืน ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นน้อยลง โดยนำแนวทางการลด ใช้ซ้ำ และแปรรูปใช้ใหม่ (Reduce Reuse Recycle : 3Rs) องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้ เกิดจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการคัดแยกขยะ สามารถนำไปใช้ประโยชน์และนำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในตำบลตะโละกาโปร์อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

10.00 5.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

20.00 40.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

20.00 40.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

30.00 60.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

20.00 50.00
6 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

30.00 60.00
7 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

20.00 50.00
8 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง

70.00 50.00
9 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาขยะลง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

60.00 40.00
10 เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

60.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่อง การจัดการขยะตามหลัก 3Rs ที่่ถูกวิธี โดยทำได้ด้วยมือเรา

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง การจัดการขยะตามหลัก 3Rs ที่่ถูกวิธี โดยทำได้ด้วยมือเรา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • นำเสนอปัญหาการจัดการขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
  • เชิญวิทยากรจัดอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มเป้าหมาย
    งบประมาณ
    1.ค่าป้ายไวนิลจัดโครงการฯ ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.x 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
    2.ค่าวัสดุจัดกิจกรรมฯ อาทิ สมุดจดบันทึก, ปากกา และกระเป๋าลดโลกร้อน จำนวน 60 คน x 60 ชุด x ชุดละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท (กลุ่มเป้าหมายคือ เยาวชน และประชาชนในพื้นที่)
    3.ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้ฯ จำนวน 2 คน x คนละ 1 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    4.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x คนละ 35 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
    5.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x คนละ 50 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 40 ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์อย่างชัดเจน
  • ร้อยละ 50 มีการแลกเปลี่ยนแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
  • ร้อยละ 60 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้ และมีทักษะที่เกี่ยวกับการจัดการขยะตามหลัก 3Rs ที่ถูกวิธี โดยทำได้ด้วยมือเรา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11250.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมและฝึกปฏิบัติการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพ ในบริเวณพื้นที่ๆ จำกัด

ชื่อกิจกรรม
อบรมและฝึกปฏิบัติการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพ ในบริเวณพื้นที่ๆ จำกัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เชิญวิทยากรจัดอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพ ในบริเวณพื้นที่ๆ จำกัด
  • สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพที่ถูกต้องในการบริหารจัดการขยะประเภทขยะย่อยสลายได้ในชุมชน
  • ให้กลุ่มเป้าหมายดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพด้วยตนเอง โดยมีวิทยากรคอยให้คำแนะนำ
    งบประมาณ
    1.ค่าถังขยะดำ ขนาด 30 ลิตร จำนวน 60 ใบ x ใบละ 90 บาท x จำนวน 60 คน เป็นเงิน 5,400 บาท
    2.ค่าจ้างคนตัดก้นถังขยะดำ จำนวน 1 คน x ถังละ 10 บาท x จำนวน 60 ใบ เป็นเงิน 600 บาท
    3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x คนละ 35 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
    4.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x คนละ 50 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
    5.ค่าไวนิลจัดอบรมฯ ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.x 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,850 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 60 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการจัดการขยะอินทรีย์ โดยการจัดทำถังขยะเปียกในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
  • ร้อยละ 60 ชาวบ้านตำบลตะโละกาโปร์ มีการจัดการขยะอินทรีย์ที่ถูกวิธี และได้รับประโยชน์มากที่สุด
  • ร้อยละ 70 ชาวบ้านตำบลตะโละกาโปร์มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพ ในบริเวณพื้นที่ๆ จำกัดได้จริง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11850.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมหนูน้อยวัยใส ร่วมใจคัดแยกขยะป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหนูน้อยวัยใส ร่วมใจคัดแยกขยะป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด
- มีการให้ความรู้แก่เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกประเภท และหากเราไม่รักษาความสะอาดอาจส่งผลให้เกิดโรคที่เกิดขึ้นในเด็กวัยนี้ได้แก่โรคอะไรได้บ้าง ซึ่งแนะนำในเด็กและครูผู้ดูแล เด็ก เป็นต้น โดยวิทยากร คือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์
- มีการสาธิตการทิ้งขยะแต่ละประเภท โดยให้เด็กมีการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นต้น
- จัดทำถังขยะเปียกในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ให้เด็กๆ งบประมาณ
1.ค่าป้ายไวนิลจัดกิจกรรมฯ ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.x 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
2.ค่าวัสดุการจัดกิจกรรมฯ อาทิ ขวดน้ำพกพา เป็นต้น จำนวน 50 คน x 50 ชุด x ชุดละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท (กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)
3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 57 คน x คนละ 35 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,995 บาท (กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็ก)
4.ค่าถังขยะดำ ขนาด 30 ลิตร จำนวน 3 ใบ x ใบละ 90 บาท เป็นเงิน 270 บาท
5.ค่าจ้างคนตัดก้นถังขยะดำ จำนวน 1 คน x ใบละ 10 บาท x จำนวน 3 ใบ เป็นเงิน 30 บาท
6.ค่าจัดทำป้ายศูนย์การเรียนรู้ฯ (ป้ายไวนิลศูนย์เรียนรู้พร้อมเสา PVC) ขนาด 80 x 100 ซม.จำนวน 1 ป้าย x ป้ายละ 1,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,795 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 60 เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ในเรื่องการทิ้งขยะให้ถูกประเภท พร้อมตระหนักในเรื่องการรักษาความสะอาด
  • ร้อยละ 70 คุณครูผู้ดูแลเด็กสามารถจัดการเรียนการสอนในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องให้แก่เด็กๆได้
  • อย่างน้อยในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์มีศูนย์การเรียนรู้ในเรื่องขยะเปียก ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5795.00

กิจกรรมที่ 4 การติดตามและประเมินผลการการจัดโครงการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs ตะโละกาโปร์สะอาดด้วยมือเรา

ชื่อกิจกรรม
การติดตามและประเมินผลการการจัดโครงการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs ตะโละกาโปร์สะอาดด้วยมือเรา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จนท.ที่รับผิดชอบ พร้อมแกนนำหมู่บ้าน ลงพื้นที่ไปยังครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อติดตามการดำเนินงานเรื่องถังขยะเปียก และสอบถามถึงปัญหา อุปสรรคที่พบฯ
  • จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ พร้อมทั้ง จัดทำแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ได้รับจากการอบรมดังกล่าว เพิ่มเติม
  • ประเมินแหล่งศูนย์เรียนรู้ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ พร้อมสังเกตการณ์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย (เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ว่ามีการจัดทิ้งขยะที่ถูกวิธี ถูกประเภทหรือไม่ โดยทาง จนท.จะมีการจัดสถานการณ์ทดสอบขึ้นมา เพื่อทำการประเมินกลุ่มเป้าหมายโดยตรง งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน x คนละ 35 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 525 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน x คนละ 50 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,275 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 60 ครัวเรือนในตำบลตะโละกาโปร์ มีถังขยะเปียกและสามารถใช้งานได้จริง ร้อยละ 60 ชาวบ้านในตำบลตะโละกาโปร์ สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่นได้ ร้อยละ 50 แหล่งเรียนรู้ เรื่องถังขยะเปียก ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลตะโละกาโปร์ สามารถเป็นแบบอย่างให้กับหน่วยงานที่สนใจและประชาชนในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1275.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ชุมชนตำบลตะโละกาโปร์ มีครัวเรือนที่จัดทำถังขยะเปียก ร้อยละ 70 ของพื้นที่
- ประชาชนในตำบลตะโละกาโปร์มีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยชุมชน เกิดจิตสำนึกและตระหนักถึงขยะมูลฝอย และขยะอันตราย
- ประชาชนมีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคัดแยกขยะต้นทาง และขยะอันตรายออกจากชุมชน
- ประชาชนมีรายได้ให้กับครัวเรือนจากการแปรรูปขยะ ขายขยะ Recycle และใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เป็นต้น


>