กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์ รหัส กปท. L8420

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs ตะโละกาโปร์สะอาดด้วยมือเรา
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์
กลุ่มคน
-
3.
หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 มาตรา 22 (3) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้มีและรักษาทางระบายน้ำและรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเอง ในการกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ.2559 - 2564) เพื่อส่งเสริมการจัดการมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางโดยมุ่งเน้นการใช้หลักการ 3Rs (ใช้น้อย,ใช้ซ้ำ และแปรรูปมาใช้ใหม่) มุ่งเน้นการจัดการขยะต้นทางในชุมชน นอกจากนี้ ขยะยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง, หนู, แมลงสาบ เป็นต้น ซึ่งเป็นบ่อเกิดการเกิดโรคติดต่อในคนและสัตว์ ปัจจุบันมีอัตราการเพิ่มของปริมาณขยะจากครัวเรือน สาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลตะโละกาโปร์ ซึ่งจะเห็นว่าขยะมูลฝอยมีอัตราเพิ่มขึ้นโดยอัติโนมัติ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารมีความสำคัญและจำเป็นทำให้มีวัสดุประเภทพลาสติกเกิดขึ้นมากมาย และมีความหลากหลายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด ถุงพลาสติกทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นทั้งต่อผู้ขายและผู้ซื้อ ในขณะเดียวกันในตัวอำเภอได้มีร้านสะดวกซื้ออยู่มากมาย ซึ่งไม่ได้มีแค่ตัวผลิตภัณฑ์เท่านั้น หากยังพ่วงเอาขยะกลับบ้านอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของขยะ ในปัจจุบันสามารถแบ่งตามองค์ประกอบหลักได้ 4 ส่วน คือ ขยะย่อยสลายได้ร้อยละ 50, ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 40, ของเสียอันตราย ร้อยละ 20 และขยะอื่นๆ ร้อยละ 60 ดังนั้นการจัดการขยะต้นทาง เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและยั่งยืน ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นน้อยลง โดยนำแนวทางการลด ใช้ซ้ำ และแปรรูปใช้ใหม่ (Reduce Reuse Recycle : 3Rs) องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้ เกิดจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการคัดแยกขยะ สามารถนำไปใช้ประโยชน์และนำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในตำบลตะโละกาโปร์อย่างยั่งยืน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน
    ตัวชี้วัด : ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน
    ขนาดปัญหา 10.00 เป้าหมาย 5.00
  • 2. เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 40.00
  • 3. เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน
    ตัวชี้วัด : จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 40.00
  • 4. เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 60.00
  • 5. เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 50.00
  • 6. เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 60.00
  • 7. เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 50.00
  • 8. เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 50.00
  • 9. เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาขยะลง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 40.00
  • 10. เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 30.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้ เรื่อง การจัดการขยะตามหลัก 3Rs ที่่ถูกวิธี โดยทำได้ด้วยมือเรา
    รายละเอียด
    • นำเสนอปัญหาการจัดการขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
    • เชิญวิทยากรจัดอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มเป้าหมาย
      งบประมาณ
      1.ค่าป้ายไวนิลจัดโครงการฯ ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.x 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
      2.ค่าวัสดุจัดกิจกรรมฯ อาทิ สมุดจดบันทึก, ปากกา และกระเป๋าลดโลกร้อน จำนวน 60 คน x 60 ชุด x ชุดละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท (กลุ่มเป้าหมายคือ เยาวชน และประชาชนในพื้นที่)
      3.ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้ฯ จำนวน 2 คน x คนละ 1 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
      4.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x คนละ 35 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
      5.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x คนละ 50 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,250 บาท
    งบประมาณ 11,250.00 บาท
  • 2. อบรมและฝึกปฏิบัติการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพ ในบริเวณพื้นที่ๆ จำกัด
    รายละเอียด
    • เชิญวิทยากรจัดอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพ ในบริเวณพื้นที่ๆ จำกัด
    • สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพที่ถูกต้องในการบริหารจัดการขยะประเภทขยะย่อยสลายได้ในชุมชน
    • ให้กลุ่มเป้าหมายดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์ ถังขยะเปียก ถังหมักชีวภาพด้วยตนเอง โดยมีวิทยากรคอยให้คำแนะนำ
      งบประมาณ
      1.ค่าถังขยะดำ ขนาด 30 ลิตร จำนวน 60 ใบ x ใบละ 90 บาท x จำนวน 60 คน เป็นเงิน 5,400 บาท
      2.ค่าจ้างคนตัดก้นถังขยะดำ จำนวน 1 คน x ถังละ 10 บาท x จำนวน 60 ใบ เป็นเงิน 600 บาท
      3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x คนละ 35 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
      4.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x คนละ 50 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
      5.ค่าไวนิลจัดอบรมฯ ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.x 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,850 บาท
    งบประมาณ 11,850.00 บาท
  • 3. กิจกรรมหนูน้อยวัยใส ร่วมใจคัดแยกขยะป้องกันโรค
    รายละเอียด

    รายละเอียด
    - มีการให้ความรู้แก่เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกประเภท และหากเราไม่รักษาความสะอาดอาจส่งผลให้เกิดโรคที่เกิดขึ้นในเด็กวัยนี้ได้แก่โรคอะไรได้บ้าง ซึ่งแนะนำในเด็กและครูผู้ดูแล เด็ก เป็นต้น โดยวิทยากร คือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์
    - มีการสาธิตการทิ้งขยะแต่ละประเภท โดยให้เด็กมีการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นต้น
    - จัดทำถังขยะเปียกในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ให้เด็กๆ งบประมาณ
    1.ค่าป้ายไวนิลจัดกิจกรรมฯ ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.x 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
    2.ค่าวัสดุการจัดกิจกรรมฯ อาทิ ขวดน้ำพกพา เป็นต้น จำนวน 50 คน x 50 ชุด x ชุดละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท (กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)
    3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 57 คน x คนละ 35 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,995 บาท (กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็ก)
    4.ค่าถังขยะดำ ขนาด 30 ลิตร จำนวน 3 ใบ x ใบละ 90 บาท เป็นเงิน 270 บาท
    5.ค่าจ้างคนตัดก้นถังขยะดำ จำนวน 1 คน x ใบละ 10 บาท x จำนวน 3 ใบ เป็นเงิน 30 บาท
    6.ค่าจัดทำป้ายศูนย์การเรียนรู้ฯ (ป้ายไวนิลศูนย์เรียนรู้พร้อมเสา PVC) ขนาด 80 x 100 ซม.จำนวน 1 ป้าย x ป้ายละ 1,000 บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,795 บาท

    งบประมาณ 5,795.00 บาท
  • 4. การติดตามและประเมินผลการการจัดโครงการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs ตะโละกาโปร์สะอาดด้วยมือเรา
    รายละเอียด
    • จนท.ที่รับผิดชอบ พร้อมแกนนำหมู่บ้าน ลงพื้นที่ไปยังครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อติดตามการดำเนินงานเรื่องถังขยะเปียก และสอบถามถึงปัญหา อุปสรรคที่พบฯ
    • จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ พร้อมทั้ง จัดทำแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ได้รับจากการอบรมดังกล่าว เพิ่มเติม
    • ประเมินแหล่งศูนย์เรียนรู้ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ พร้อมสังเกตการณ์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย (เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ว่ามีการจัดทิ้งขยะที่ถูกวิธี ถูกประเภทหรือไม่ โดยทาง จนท.จะมีการจัดสถานการณ์ทดสอบขึ้นมา เพื่อทำการประเมินกลุ่มเป้าหมายโดยตรง งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน x คนละ 35 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 525 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน x คนละ 50 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,275 บาท
    งบประมาณ 1,275.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 30,170.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • ชุมชนตำบลตะโละกาโปร์ มีครัวเรือนที่จัดทำถังขยะเปียก ร้อยละ 70 ของพื้นที่
  • ประชาชนในตำบลตะโละกาโปร์มีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยชุมชน เกิดจิตสำนึกและตระหนักถึงขยะมูลฝอย และขยะอันตราย
  • ประชาชนมีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคัดแยกขยะต้นทาง และขยะอันตรายออกจากชุมชน
  • ประชาชนมีรายได้ให้กับครัวเรือนจากการแปรรูปขยะ ขายขยะ Recycle และใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เป็นต้น
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์ รหัส กปท. L8420

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์ รหัส กปท. L8420

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 30,170.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................