กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรู้ภาวะสุขภาพ คัดกรองสะดวก ส่งเสริมการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน

1.นางนิเด๊าะ อิแตแล
2.อับดุลฮาเร็ม ซีระแม
3.นางอาซะ อาลี
4.นายแวมามุ ตาเฮ
5.นายนิเภายี หะยีอาลี

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

35.76
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

30.21

จากสถานการณ์ด้านสุขภาพหน่วยบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน ตลอดจนในพื้นที่อำเภอยะหา พบว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ใน 5 ปี ย้อนหลัง พบสูงขึ้น และบางส่วนได้รับการประเมินผลไม่ทัน และสภาวะเหตุการณ์ด้านสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในด้านการจัดการส่งเสริมป้องกันอย่างทันท่วงที การดูแลส่งต่อรักษา การประเมินการเปลี่ยนแปลงของโรคเรื้อรัง ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อใช้ลดความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานโดยมุ่งไปที่การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากมีผลการศึกษาพบว่า การควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวสามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคได้ องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ได้ผลโดยการแก้ไขปัญหาด้านปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายปัจจัยเสี่ยงไปพร้อมๆกัน และเน้นหนักในการป้องกันระดับปฐมภูมิ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการรักษาในระยะยาว
จากผลงานการตรวจคัดกรองสุขภาพของตำบลบาโงยซิแนระหว่าง 01/10/2564ถึง 30/09/2565 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน (ไม่รวมกลุ่มป่วย) ร้อยละ 92.11ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง (ไม่รวมกลุ่มป่วย) ร้อยละ 90.09 พบกลุ่มปกติที่มีภาวะน้ำตาลจากสถานการณ์ด้านสุขภาพหน่วยบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน ตลอดจนในพื้นที่อำเภอยะหา พบ มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ใน 5 ปี ย้อนหลัง พบสูงขึ้น และบางสวนได้รับการประเมินผลไม่ทัน และสภาวะเหตุการณ์ด้านสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในด้านการจัดการส่งเสริมป้องกันอย่างทันทวงที การดูแลส่งต่อรักษา ที่การประเมินการเปลี่ยนแปลงของโรคเรื้อรัง ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อใช้ลดความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานโดยมุ่งไปที่การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงเนื่องจากมีผลการศึกษาพบว่าการควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวสามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคได้องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ได้ผลโดยการแก้ไขปัญหาด้านปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายปัจจัยเสี่ยงไปพร้อมๆกัน และเน้นหนักในการป้องกันระดับปฐมภูมิ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการรักษาในระยะยาว การดำเนินการทำ Home BP 32 ราย การดำเนินการทำ SMBG 44 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยน ภาวะสุขภาพ และส่งต่อการรักษากับหน่วยบริการในพื้นที่
ดังนั้น การได้รู้ข้อมูลสุขภาพของตนเอง จึงสามารถที่จะทำให้ประชาชนตระหนัก ในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งจะให้ได้ผล และเกิดความยั่งยืนได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยพลังของประชาชนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพในชุมชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการจัดการเร็ว คัดกรองทัน ส่งเสริมการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2564 โครงการรู้ภาวะสุขภาพ คัดกรองสะดวก ส่งเสริมการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2566 (กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการได้ดีและต่อเนื่อง)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

35.76 29.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

30.21 25.00
3 โครงการรู้ภาวะสุขภาพ คัดกรองสะดวก ส่งเสริมการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2566

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงได้รับการประเมินติดตาม SMBP และ SMBG มากขึ้น

72.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป 2,018

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อความรู้ไวนิล (ชนิดขาตั้ง)

ชื่อกิจกรรม
1. จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อความรู้ไวนิล (ชนิดขาตั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงประชาสัมพันธ์และจัดทำสื่อความรู้ไวนิล (ชนิดขาตั้ง)
ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือในการดําเนินงานและดำเนินการจัดซื้อชุดตรวจเบาหวาน
จัดเตรียมเอกสาร แบบฟอร์มคัดกรอง และเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ ร่วมกับคณะทำงาน
กําหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล
1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แยกรับผิดชอบเป็นรายหมู่บ้านโดยมีบทบาทดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงให้ความรู้ในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ รวมถึงคัดกรองโรคเรื้อรัง
2 คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล มีบทบาทในการออกเยี่ยมบ้านในกลุ่มป่วยและประเมินสภาพทั่วไป รวมถึงให้กำลังใจพร้อมกับทีมสุขภาพตำบล 3 พยาบาลวิชาชีพ มีบทบาทในการให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อน และกลุ่มเสี่ยงร่วมกับทีมสุขภาพตำบล
4 พยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการฟื้นฟู ความด้านวิชาการ และการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงให้มีบทบาทในการให้ความรู้เรื่องยาในกลุ่มผู้ป่วย
5 นักวิชาการสาธารณสุข มีบทบาทในการรวบรวมข้อมูล ปัญหาอุปสรรค เพื่อรายงานให้กับ หน่วยงานสาธารณสุขและชุมชนรับทราบ พร้อมทั้งวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไข
6 อาสาสมัครสาธารณสุข มีบทบาทในการออกเยี่ยมบ้านและตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ให้ความรู้ และชักจูงกลุ่มเป้าหมายร่วมกับทีมสุขภาพ
ค่าใช้จ่าย - ค่าจัดทำสื่อความรู้ไวนิลพร้อมขาตั้ง 2 ชุดๆละ 1,500 บาท
เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานมีทิศทางและ เข็มมุ่งในการดำเนินงาน ไปในแนวทางเดียวกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้ของโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจำนวน 1 วัน ดังนี้
-จัดทำเนื้อหาหลักสูตร เน้น ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสมโดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. , ถอดบทเรียนและความรู้ในการตรวจประเมินคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
-ประสานวิทยากร และหากลุ่มเป้าหมายในการอบรมจำนวน 50 คน
-จัดเตรียมวัสดุการอบรม และเตรียมสถานที่
-ให้การฝึกปฏิบัติ/ความรู้ การสาธิตประกอบอาหารเพื่อสุขภาพการออกกำลังกายการอยู่กับโรคอย่างเหมาะสม และการฝึกจิตคลายเครียด

ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 50 คน* 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท* 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมง 600 บาท* 5 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุในการอบรม (เช่น กระเป๋า สมุด ดินสอ ปากกา กระดาษ เป็นต้น) เป็นเงิน 3,300 บาท รวม 12, 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-แกนนำคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการและประเมินผลดูแลสุขภาพ และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 80
-มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนลดภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

กิจกรรมที่ 3 จัดบริการทีมสุขภาพออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร่วมกับติดตาม SMBP และ SMBG

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการทีมสุขภาพออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร่วมกับติดตาม SMBP และ SMBG
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประจำจุดต่างๆ ในตำบลบลโดยประสานให้เจ้าหน้าที่ออกร่วมด้วย
2.ตรวจความดันที่บ้าน ในผู้ป่วย ต้องตรวจทุกวัน เป็นเวลา 7 วัน
2.1 กิจกรรมย่อยจัดซื้อชุดตรวจเบาหวาน - ค่าจัดซื้อชุดแถบตรวจเบาหวาน จำนวน 24 กล่องๆละ 850 บาท เป็นเงิน 20,400 บาท
2.2 กิจกรรมย่อย จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต - เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่องๆ ละ 2,850 เป็นเงิน 5,700 บาท
2.3 กิจกรรมย่อยเครื่องเจาะน้ำตาล ปลายนิ้วมือ - เครื่องวัดระดับน้ำตาลปลายนิ้วมือ 2 เครื่องๆ ละ 2,100 เป็นเงิน 4,200 บาท
รวม 30,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองอุปกรณ์ที่เพียงพอ และการประเมินที่ถูกต้องก่อน พบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหลังจากประเมินผลการคัดกรองเบื้องต้นแล้ว ได้รับการดำเนินการ SMBP และ SMBG ต่อเนื่องทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>