กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งสารเสพติด ด้วย TO BE NUMBER ONE ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบาโงยซิแน

1.นายอัฟฟันดี วาเด็ง
2.นายอาฟีฟี อาแด
3.นางสาวณูรมี กาเดร์
4.นายอัลฟัต มะสาและ
5.นางสาวฟิรดาว อุดมตานี

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ในชุมชน

 

20.00
2 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชน

 

15.00
3 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน รวมกลุ่มมั่วสุม ติดเกมส์

 

50.00
4 จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

 

15.00
5 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

 

50.00
6 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

 

70.00
7 ร้อยละเยาวชนขาดความรู้ ความตระหนัก ถึงโทษของยาเสพติด

 

35.00
8 จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

 

5.00

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงมีพระดำริให้มีโครงการ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่าง ๆ ตามพระปณิธาน "ทุกคนเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด" โดยมีการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา และพัฒนา EQ จนเป็นที่สนใจในกลุ่มเยาวชน ทำให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างมาร่วมกิจกรรมอันเปิดโอกาสให้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งทำให้เยาวชนที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ได้พัฒนาความสามารถในด้านที่ตนถนัดด้วยกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านกีฬา ดนตรี และการช่วยเหลือสังคม ประกอบกับปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ ในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตชุมชน รวมทั้งพื้นที่ที่มีสถานบริการ และแหล่งมั่วสุม อบายมุขต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต ร้านเกมส์ เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 6 - 24 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ มีพัฒนาการทางร่างกาย ด้านจิตใจและมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ วัยรุ่นเป็นวัยอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ สุรา ซึ่งเป็นระยะเริ่มแรกของการเข้าหายาเสพติด รวมถึงการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การท้องไม่พร้อม เพื่อจะได้รู้จักการหลีกเลี่ยงจากปัญหาดังกล่าว

จากรายงานสถานการณ์ปัญหายาเสพติด สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติปี พ.ศ. 2559 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ประมาณตัวเลขของผู้ที่มีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดไว้ที่ 1.2 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของคนไทยที่มีประมาณ 65 ล้านคน ถือเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.93 พูดได้ว่าในจำนวนประชากรทุกๆ 100 คน จะมีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึง 3 คน และ จากข้อมูลการเข้าบำบัดรักษาของประชาชนตำบลบาโงยซิแน พบว่า ปี 2555 มีผู้เข้ารับการบำบัด 29 ราย ปี 2556 มีผู้เข้ารับการบำบัด 30 ราย ปี 2557 มีผู้เข้ารับการบำบัด 1 ราย ปี 2558 มีผู้เข้ารับการบำบัด 15 ราย ปี 2559 มีผู้เข้ารับการบำบัด 2 ราย ปี 2560 ไม่มีผู้เข้าบำบัด ปี 2561 มีผู้เข้าบำบัด 6 ราย และปี 2562 มีผู้เข้าบำบัด 6 รายปี 2563 มีผู้เข้าบำบัด 4 รายปี 2564 และปี 2565 มีผู้เข้าบำบัด 3 รายแต่ยังมีเยาวชนเป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง อยากรู้ อยากลอง โดยการสูบบุหรี่เป็นการเริ่มต้น และข้ามไปหายาเสพติดต่อไป จึงจำเป็นจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เยาวชนกลุ่มเสพ ไปมั่วสุมกลับไปมีพฤติกรรมซ้ำ สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข และกลุ่มเสี่ยง เลิกยุ่งจากยาเสพติด และจากการทำเวทีประชาคม ประชาชนได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นลำดับต้นๆ โดยเฉพาะการป้องกันในกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังของชาติในอนาคต ในการป้องกันการเริ่มต้นการติดยาเสพติดมักมาจากการสูบบุหรี่ก่อน แล้วพัฒนา ไปใช้ยาเสพติดอื่น เนื่องจาก ประชาชนขาดโอกาสในการศึกษาเป็นจำนวนมากและขาดความรู้ความเข้าใจในโทษของบุหรี่ อย่างลึกซึ้ง

ในปัจุบัน ตำบลบาโงยซิแน มีประชากรที่สูบบุหรี่จำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 22.59 มีผู้สูบบุหรีที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อีกทั่งยังมีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เสพติดการสูบบหรี่ บุหรี่มีโทษมากมายหลายอย่างโดยเฉพาะโทษต่อตัวเองและคนรอบข้างด้านสุขภาพ ซึ้งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากการสูบบุหรี่ตามมา และจากการสำรวจหาข้อมูลมีคนในหมู่บ้านที่มีโรคทางเดินหายใจจากผลที่เกิดจากสูบบุหรี่ บุหรี่เป็นสิ่งอันตรายต่อสูขภาพต่อผู้ที่สูบบุหรี่และคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่โดยตรง หรือทางอ้อมจากการได้รับควันบุหรี่มือสองและภัยอันตรายจากควันบุหรี่มือสาม และสารพิษที่ได้รับจากบุหรี่ อาจทำให้ทำร้ายสูขภาพต่อระบบต่างๆ เช่น ส่งผลต่อระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ และระบบการไหลเวียนเลือด ชมรม TO BE NUMBER ONE ได้ศึกษาค้นหาข้อมูล และได้ให้ความสำศัญต่อภัยอันตรายของบุหรี่ ซึ่งจะนำความรู้ให้สู่หมู่บ้านกับเด็กและเยาวชนได้มีความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ ที่ถูกต้อง และหลี่กเลี่ยงการสูบบุหรี่อันจะนำไปสู่สิ่งเสพติดอื่นๆ ต่อไป

ดังนั้น ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบาโงยซิแน ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน แกนนำชุมชน และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน เพื่อจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เบาบางลง และหมดจากพื้นที่ในที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่การเสพยาเสพติด มาจากการสูบบุหรี่ก่อนโดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 10-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นกำลังสำคัญของชุมชนในอนาคต จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกัน ตามนโยบายและแนวทางของจังหวัดยะลา มาโดยตลอด แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านความจำกัดในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การปัญหาดังกล่าว ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำร่วมกัน ในภาพรวมพหุภาคี ทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนและเยาวชนในชุมชนมีบทบาทอย่างเต็มที่ ในการป้องกันปัญหาของชุมชนเอง โดยยึดแนวดำเนินการตามโครงการ TO BE NUMBER ONE มาเติมเต็ม จึงได้จัดทำโครงการคนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งสารเสพติด ด้วย TO BE NUMBER ONE ปี 256ุ6 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ในชุมชน

20.00 15.00
2 เพื่อลดจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชน

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชน

15.00 10.00
3 เพื่อลดจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

15.00 10.00
4 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน รวมกลุ่มมั่วสุม ติดเกมส์

50.00 40.00
5 เพื่อลด ภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์  ลดลง

50.00 40.00
6 เพื่อลด ภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี)

ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ลดลง

70.00 50.00
7 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติด บุหรี่ และการป้องกันตัวเอง

เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติดบุหรี่ และการป้องกันตัวเอง ในระดับดี (ร้อยละ) 80

75.00 80.00
8 เพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

5.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2,100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 23/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แก้ปัญหาเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และมีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด

ชื่อกิจกรรม
แก้ปัญหาเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และมีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
  2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
  3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน

ค่าใช้จ่าย จัดอบรมรุ่นละ 1 วัน จำนวน 2 รุ่นๆละ 100 คน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 100 คน* 2 มื้อ * 2 รุ่น เป็นเงิน 10,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท* 100 คน* 1 มื้อ * 2 รุ่น เป็นเงิน 14,000 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมง 600 บาท* 10 ชม. เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าวัสดุในการอบรมและจัดกิจกรรม (ค่าเอกสาร สมุด ปากกา กระเป๋าผ้า เป็นต้น) เป็นเงิน 20,000 บาท
รวม 50,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติด, บุหรี่ และการป้องกันตัวเอง ในระดับดี (ร้อยละ) 80
-เกิดแกนนำเยาวชนในการรณรงค์เรื่องบุหรี่และยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

กิจกรรมที่ 2 แก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านยาเสพติด และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควร

ชื่อกิจกรรม
แก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านยาเสพติด และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและทักษะชีวิต แก่กลุ่มเด็กเยาวชน ผู้ปกครองและกลุ่มที่มีความเสี่ยง
  2. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างแกนนำ/เครือข่าย
  3. สร้างพื้นที่ทำกิจกรรมด้านสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมศิลปะ กีฬา เป็นต้น
  4. การทำสื่อ ประชาสัมพันธ์ และแจกสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ตามบ้าน และพื้นที่เสี่ยง พร้อมให้สุขศึกษา
  5. คลินิคแก้ปัญหาครอบครัว ช่วยให้แนวทางดำเนินชีวิต, กลไกการให้คำปรึกษา
  6. ส่งเสริมการใช้หลักศาสนา ในการดำเนินชีวิต
    7 จัดทำนิทรรศการในศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE บริเวณชมรมงาน TO BE NUMBER ONE และรณรงค์สร้างกระแส ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    8 สนับสนุนกิจกรรม ชมรม TO BENUMBER ONE ในสถานศึกษาในพื้นที่ และร่วมเป็นเครือข่ายในสถานประกอบการโรงเรียน และชุมชนใกล้เคียง

ค่าใช้จ่าย -ค่าจัดทำแผ่นพับความรู้ จำนวน 2,000 แผ่นๆละ 10 บาทเป็นเงิน 20,000 บาท -ค่าวัสดุในการจัดนิทรรศการ และรณรงค์สร้างกระแส (ค่าไวนิล โฟมบอร์ด ค่าอุปกรณ์ตกแต่ง และอื่นๆ เป็นต้น) เป็นเงิน 20,000 บาท
-ค่าตอบแทนในการแจกสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นพับและให้สุขศึกษา วันละ 200 บาท * 6 คน * 10 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท รวม ุ52,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ลดลง
2.จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควรเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52000.00

กิจกรรมที่ 3 การสร้างแกนนำ TO BE NUMBER ONE

ชื่อกิจกรรม
การสร้างแกนนำ TO BE NUMBER ONE
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดเลือกแกนนำอายุ 12-18 ปี จำนวน 40 คน
2.เตรียมหลักสูตร และหาวิทยากร
3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน
4 แกนนำ ดำเนินกิจกรรม TO BE NUMBER ONE อย่างต่อเนื่่อง โดยเน้นการดำเนินงานตามหลัก 3 ก 3 ยุทธศาสตร์

ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 40 คน* 4 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท* 40 คน* 2 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 10 ชั่วโมง เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าวัสดุในการประชุม (สมุด ปากกา แฟ้ม ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น) เป็นเงิน 2,400 บาท รวมเป็นเงิน18,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีแกนนำ TO BE NUMBER ONE ที่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ 2 แกนนำ TO BE NUMBER ONE มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้สมาชิกทุกคน เป็นหนึ่งโดยไม่พี่งยาเสพติด 3 สามารถนำเสนอผลการดำเนินงานได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน 2.จัดทำรูปเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการสรุปผลงาน วิเคราะห์ และจัดทำเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 120,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการป้องกันปัญหายาเสพติด บุหรี่ และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควร ในโรงเรียน และชุมชน
2. ผู้นำชุมชนมีศักยภาพในการเป็นแกนนำต้านภัยยาเสพติด บุหรี่ และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควรในชุมชนได้
3. ชุมชนมีความเข้มแข็งและปลอดจากยาเสพติดบุหรี่มือสอง อย่างยั่งยืน


>