กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมฟื้นฟูผู้ปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางสาวนูรฮูดา อาซัน โทร 0829944309
2. นางสาวไซนะ กาซอ

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

บทบาทครูอนามัยโรงเรียนมีหน้าที่ให้บริการทางด้านสุขภาพของนักเรียนโดยมุ่งเน้นให้นักเรียนทุกคนมีสุขภาพดี สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกโรงเรียน เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์สุขภาพชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ครูอนามัยโรงเรียนจะต้องมีการตรวจสุขภาพนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, 6 และมัธยมศึกษา ดูแลงานด้านโภชนาการ คัดกรองสายตานักเรียนและบันทึกข้อมูล ซึ่งครูอนามัยโรงเรียนจะเป็นผู้รายงานและส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
งานส่งเสริมสุขภาพ มีบทบาทในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายสุขภาพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค คัดกรองสุขภาพ และรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้กับเด็กวัยเรียน ผ่านกิจกรรมบริการ ดังนี้ การตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น อนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยบุคลากรสาธารณสุข บริการฉีดวัคซีนขั้นเสริมประถมศึกษาปีที่ 1, 5 และ 6 และวัคซีนรณรงค์ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข คัดกรองภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 6 คัดกรองโรคธาลัสซีเมียนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 คัดกรองพัฒนาการในกลุ่มอายุ 9, 18, 30, 42 และ 60 เดือนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน และนโยบายอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของหลายหน่วยงาน เช่น โรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติ อีกทั้งรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของนักเรียน
ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีสถานศึกษาที่รับผิดชอบทั้งหมด 12 แห่ง มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานเป็นที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
การเปลี่ยนครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ภาระงานที่หลากหลาย ประสบการณ์ด้านการทำงานอนามัยโรงเรียนน้อย และยังพบปัญหาอุปสรรคที่ทำให้งานอนามัยโรงเรียนไม่ครอบคลุมและไม่เป็นไปตามแผนงาน ซึ่งอาจส่งผลทำให้ปัญหาสุขภาพเด็กไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสมได้ นอกจากนั้นยังพบว่าโรงเรียนหลายแห่งได้รับเพียงคู่มือในการดำเนินงาน โดยที่ไม่เคยได้รับคำแนะนำหรือวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสาธารณสุข จึงได้จัดอบรมฟื้นฟูผู้ปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนปี 2566 ในการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนอันจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของนักเรียนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียน และบุคลากรสาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

ครูอนามัยโรงเรียนและบุคลากรสาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ร้อยละ 90

60.00 90.00
2 เพื่อให้โรงเรียนมีการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ

โรงเรียนมีการประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ 90

50.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 32
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข 6 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1) เจ้าหน้าที่ทบทวนกิจกรรมงานอนามัยโรงเรียนที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ และนโยบายการดำเนินงานปี 2566
2) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สสอ. รพ.สต. เพื่อวางแผนการจัดทำโครงการ
3) ทำหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุมตามกิจกรรมโครงการให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน และครูอนามัยโรงเรียน
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 6 คน x 1 มื้อ = 180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
180.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูครูอนามัยโรงเรียน ประจำปี 2566

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมฟื้นฟูครูอนามัยโรงเรียน ประจำปี 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 13 โรง โรงละ 2 คน รวม 26 คน
- เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข จำนวน 6 คน
รวม 32 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1) กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้งานอนามัยโรงเรียน และโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพโดยคุณลุตฟี สะมะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
2) กิจกรรมอบรมการวัดสายตา ฝึกปฏิบัติการวัดสายตาโดยวิทยากรจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
3) กิจกรรมสาธิตการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมต่างๆ และส่งรายงานโดยคุณลุตฟี สะมะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
4) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูอนามัยโรงเรียน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน และทำแบบทดสอบความรู้ก่อนอบรม
09.01 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานอนามัยโรงเรียน โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยคุณลุตฟี สะมะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 14.00 น. อบรมการวัดสายตา ฝึกปฏิบัติการวัดสายตา และบันทึกข้อมูลในระบบ Vision 2020
14.01 - 16.00 น. สาธิตการบันทึกข้อมูล และส่งรายงาน งานอนามัยโรงเรียน โดยคุณลุตฟี สะมะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
16.01 - 16.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูอนามัยโรงเรียน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรม และความพึงพอใจฯ
16.31 น. ปิดโครงการ
หมายเหตุ : รับประทานอาหารว่างและเครท่องดื่ม เวลา 10.30 น. และ 14.30 น.
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 32 คน x 1 มื้อ = 1,920 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 32 คน x 2 มื้อ = 1,920 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 5 ชม. = 3,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ได้แก่ วัสดุสำนักงาน = 3,000 บาท - ค่าเดินทางวิทยากร 140กิโลเมตร x 4บาท x2 (ไป-กลับ) = 1,120 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • โรงเรียนประเมินตนเองผ่านเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพร้อยละ 90
  • นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ร้อยละ 50
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10960.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,140.00 บาท

หมายเหตุ :
จำนวนกลุ่มเป้าหมายและค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูอนามัยโรงเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน
2. โรงเรียนสามารถดำเนินการประเมินโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านเกณฑ์ด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ต่อไป


>