โครงการอบรมฟื้นฟูผู้ปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียน ประจำปี 2566
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมฟื้นฟูผู้ปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียน ประจำปี 2566 |
รหัสโครงการ | 66-L6961-1-38 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 27 เมษายน 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2566 |
งบประมาณ | 11,140.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนูรฮูดา อาซัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 32 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
บทบาทครูอนามัยโรงเรียนมีหน้าที่ให้บริการทางด้านสุขภาพของนักเรียนโดยมุ่งเน้นให้นักเรียนทุกคนมีสุขภาพดี สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกโรงเรียน เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์สุขภาพชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ครูอนามัยโรงเรียนจะต้องมีการตรวจสุขภาพนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, 6 และมัธยมศึกษา ดูแลงานด้านโภชนาการ คัดกรองสายตานักเรียนและบันทึกข้อมูล ซึ่งครูอนามัยโรงเรียนจะเป็นผู้รายงานและส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
งานส่งเสริมสุขภาพ มีบทบาทในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายสุขภาพด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค คัดกรองสุขภาพ และรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้กับเด็กวัยเรียน ผ่านกิจกรรมบริการ ดังนี้ การตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น อนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยบุคลากรสาธารณสุข บริการฉีดวัคซีนขั้นเสริมประถมศึกษาปีที่ 1, 5 และ 6 และวัคซีนรณรงค์ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข คัดกรองภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 6 คัดกรองโรคธาลัสซีเมียนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 คัดกรองพัฒนาการในกลุ่มอายุ 9, 18, 30, 42 และ 60 เดือนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน และนโยบายอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของหลายหน่วยงาน เช่น โรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติ อีกทั้งรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของนักเรียน
ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีสถานศึกษาที่รับผิดชอบทั้งหมด 12 แห่ง มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานเป็นที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
การเปลี่ยนครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ภาระงานที่หลากหลาย ประสบการณ์ด้านการทำงานอนามัยโรงเรียนน้อย และยังพบปัญหาอุปสรรคที่ทำให้งานอนามัยโรงเรียนไม่ครอบคลุมและไม่เป็นไปตามแผนงาน ซึ่งอาจส่งผลทำให้ปัญหาสุขภาพเด็กไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสมได้ นอกจากนั้นยังพบว่าโรงเรียนหลายแห่งได้รับเพียงคู่มือในการดำเนินงาน โดยที่ไม่เคยได้รับคำแนะนำหรือวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสาธารณสุข จึงได้จัดอบรมฟื้นฟูผู้ปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนปี 2566 ในการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนอันจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของนักเรียนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียน และบุคลากรสาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ครูอนามัยโรงเรียนและบุคลากรสาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ร้อยละ 90 |
60.00 | 90.00 |
2 | เพื่อให้โรงเรียนมีการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ โรงเรียนมีการประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ 90 |
50.00 | 90.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 11,140.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | ประชุมปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน | 0 | 180.00 | - | ||
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | กิจกรรมอบรมฟื้นฟูครูอนามัยโรงเรียน ประจำปี 2566 | 0 | 10,960.00 | - |
- ครูอนามัยโรงเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน
- โรงเรียนสามารถดำเนินการประเมินโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านเกณฑ์ด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2566 11:06 น.