กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนโรงเรียนพระราชดำริ ตำบลศาลาใหม่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่

โรงเรียนบ้านศาลาใหม่และโรงเรียนจรรยาอิสลาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา โดยดำเนินการในโรงเรียน มีกิจกรรมหลักคือ การจ่ายยาถ่ายพยาธิในเด็กนักเรียน การตรวจอุจจาระในเด็กนักเรียนเพื่อค้นหาอัตราความชุกของโรคพยาธิ และการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ประกอบกับโรคพยาธิจะส่งผลการเจริญเติบโตของเด็ก ภาวะโภชนาการอาจต่ำกว่าเกณฑ์ ส่งผลถึงประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนในระยะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ได้รับสนับสนุนโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนโรงเรียนพระราชดำริ ต.ศาลาใหม่ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ศาลาใหม่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2559-2563 พบอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ 10.71, 6.05, 6.06, 7.29, 2.72ตามลำดับ ปีงบประมาณ 2564 งดกิจกรรมตรวจคัดกรองเฝ้าระวังเนื่องจากโรงเรียนปิดจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19) และจากการดำเนินงาน ในปี 2565 ได้ตรวจค้นหาไข่พยาธิในอุจจาระเด็กนักเรียน ทั้ง 2 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านศาลาใหม่และโรงเรียนจรรยาอิสลาม) จำนวน 1,107 คน คิดเป็นร้อยละ 80.86 ของเด็กนักเรียนทั้งหมด พบไข่พยาธิ จำนวน 54 คน คิดเป็นอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ 4.88 โดยพบตามชนิดดังนี้ พบพยาธิไส้เดือน จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 1.99 พบพยาธิแส้ม้า จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 1.81 และพบพยาธิเข็มหมุด จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.70 จะเห็นได้ว่าอัตราความชุกของโรคพยาธิไม่ลดลง และจากการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนบ้านศาลาใหม่ ปีการศึกษา 2563 มีการสุ่มนักเรียนจำนวน 264 คน เพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง (ระดับความเข้มข้นของโลหิตฮีมาโตคริต%) พบว่านักเรียนมีระดับความเข้มข้นของโลหิตระดับปกติทุกคน ร้อยละ 100 (ดีกว่า ปีการศึกษา 2563 ที่ตรวจพบระดับ 1 (ฮีมาโตคริต35-27 %) จำนวน 166 คนจากทั้งหมดที่ตรวจ 222 คน คิดเป็นร้อยละ 74.77) จะเห็นได้ว่า อัตราความชุกของโรคพยาธิ ลดลงทุกปี และต่ำกว่าตัวชี้วัดโครงการไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้เพื่อลดอัตราความชุกด้วยโรคพยาธิหรือไม่พบโรคพยาธิในเด็กนักเรียน ซึ่งโรคพยาธิในเด็กนักเรียนจะส่งผลกระทบต่อปัญหาภาวะซีดและภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนรวมไปถึงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ในเด็กนักเรียนต่อไป และเป็นการสนองตามโครงการพระราชดำริฯ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียน
  1. อัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียนไม่เกินร้อยละ 10
  2. เด็กนักเรียนที่ส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเด็กนักเรียนทั้งหมด
1.00
2 2. เพื่อดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะซีด และปัญหาโรคพยาธิในเด็กนักเรียน
  1. เด็กนักเรียนที่ตรวจพบพยาธิได้รับยาถ่ายพยาธิเพื่อรักษาตามชนิดของพยาธิ ร้อยละ 100
  2. เด็กนักเรียนที่พบภาวะซีดไม่เกินร้อยละ 10 (จากจำนวนที่สุ่มทั้งหมด) เด็กนักเรียนที่พบภาวะซีดลดลงจากปี 2565
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 800
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์สุ่มตรวจเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ (อุจจาระ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์สุ่มตรวจเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ (อุจจาระ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างเหมาจัดเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจากกลุ่มเด็กนักเรียน (อุจจาระ) จำนวน 800 คนๆละ 15.- บาท เป็นเงิน 12,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จ้างเก็บตัวอย่างอุจจาระ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจหาไข่พยาธิ จากสิ่งส่งตรวจที่นำส่งจากผู้รับผิดชอบเก็บรวบรวมสิ่งส่งตรวจ จำนวน 800 คน

ชื่อกิจกรรม
เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจหาไข่พยาธิ จากสิ่งส่งตรวจที่นำส่งจากผู้รับผิดชอบเก็บรวบรวมสิ่งส่งตรวจ จำนวน 800 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจ้างเหมาตรวจตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจากกลุ่มเด็กนักเรียน (อุจจาระ) จำนวน 800 คนๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 20,000.-บาทบาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตรวจอุจจาระหาพยาธิ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียนลดลง
2. เด็กนักเรียนทุกคนในโรงเรียนพระราชดำริ ได้รับการตรวจหาไข่พยาธิและได้กินยาถ่ายพยาธิทุกคน
3. เด็กนักเรียนที่พบภาวะซีดมีจำนวนลดลง


>