กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนโรงเรียนพระราชดำริ ตำบลศาลาใหม่
รหัสโครงการ 66-L2487-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ฟาตีนี พิริยศาสน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านศาลาใหม่และโรงเรียนจรรยาอิสลาม
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 800 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา โดยดำเนินการในโรงเรียน มีกิจกรรมหลักคือ การจ่ายยาถ่ายพยาธิในเด็กนักเรียน การตรวจอุจจาระในเด็กนักเรียนเพื่อค้นหาอัตราความชุกของโรคพยาธิ และการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ประกอบกับโรคพยาธิจะส่งผลการเจริญเติบโตของเด็ก ภาวะโภชนาการอาจต่ำกว่าเกณฑ์ ส่งผลถึงประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนในระยะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ได้รับสนับสนุนโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนโรงเรียนพระราชดำริ ต.ศาลาใหม่ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ศาลาใหม่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2559-2563 พบอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ 10.71, 6.05, 6.06, 7.29, 2.72ตามลำดับ ปีงบประมาณ 2564 งดกิจกรรมตรวจคัดกรองเฝ้าระวังเนื่องจากโรงเรียนปิดจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19) และจากการดำเนินงาน ในปี 2565 ได้ตรวจค้นหาไข่พยาธิในอุจจาระเด็กนักเรียน ทั้ง 2 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านศาลาใหม่และโรงเรียนจรรยาอิสลาม) จำนวน 1,107 คน คิดเป็นร้อยละ 80.86 ของเด็กนักเรียนทั้งหมด พบไข่พยาธิ จำนวน 54 คน คิดเป็นอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ 4.88 โดยพบตามชนิดดังนี้ พบพยาธิไส้เดือน จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 1.99 พบพยาธิแส้ม้า จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 1.81 และพบพยาธิเข็มหมุด จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.70 จะเห็นได้ว่าอัตราความชุกของโรคพยาธิไม่ลดลง และจากการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนบ้านศาลาใหม่ ปีการศึกษา 2563 มีการสุ่มนักเรียนจำนวน 264 คน เพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง (ระดับความเข้มข้นของโลหิตฮีมาโตคริต%) พบว่านักเรียนมีระดับความเข้มข้นของโลหิตระดับปกติทุกคน ร้อยละ 100 (ดีกว่า ปีการศึกษา 2563 ที่ตรวจพบระดับ 1 (ฮีมาโตคริต35-27 %) จำนวน 166 คนจากทั้งหมดที่ตรวจ 222 คน คิดเป็นร้อยละ 74.77) จะเห็นได้ว่า อัตราความชุกของโรคพยาธิ ลดลงทุกปี และต่ำกว่าตัวชี้วัดโครงการไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้เพื่อลดอัตราความชุกด้วยโรคพยาธิหรือไม่พบโรคพยาธิในเด็กนักเรียน ซึ่งโรคพยาธิในเด็กนักเรียนจะส่งผลกระทบต่อปัญหาภาวะซีดและภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนรวมไปถึงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ในเด็กนักเรียนต่อไป และเป็นการสนองตามโครงการพระราชดำริฯ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียน
  1. อัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียนไม่เกินร้อยละ 10
  2. เด็กนักเรียนที่ส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเด็กนักเรียนทั้งหมด
1.00
2 2. เพื่อดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะซีด และปัญหาโรคพยาธิในเด็กนักเรียน
  1. เด็กนักเรียนที่ตรวจพบพยาธิได้รับยาถ่ายพยาธิเพื่อรักษาตามชนิดของพยาธิ ร้อยละ 100
  2. เด็กนักเรียนที่พบภาวะซีดไม่เกินร้อยละ 10 (จากจำนวนที่สุ่มทั้งหมด) เด็กนักเรียนที่พบภาวะซีดลดลงจากปี 2565
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,000.00 2 32,000.00
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์สุ่มตรวจเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ (อุจจาระ) 0 12,000.00 12,000.00
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจหาไข่พยาธิ จากสิ่งส่งตรวจที่นำส่งจากผู้รับผิดชอบเก็บรวบรวมสิ่งส่งตรวจ จำนวน 800 คน 0 20,000.00 20,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียนลดลง
  2. เด็กนักเรียนทุกคนในโรงเรียนพระราชดำริ ได้รับการตรวจหาไข่พยาธิและได้กินยาถ่ายพยาธิทุกคน
  3. เด็กนักเรียนที่พบภาวะซีดมีจำนวนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 14:09 น.