กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการความปลอดภัยในการบริโภคจากสารพิษตกค้างในเกษตรกร รพ.สต.นาทับ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

รพ.สต.นาทับ

พื้นที่ รพ.สต.นาทับ รับผิดชอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตร(คน)ที่มีสารเคมีทางเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอัตราย

 

10.00

ในปัจจุบันถึงแม้จะมีการยกเลิกการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช จำพวกยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งนับเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่จะได้ปลอดภัยจากสารเคมีดังกล่าวไปอีกช่องทางหนึ่ง แต่ในอีกด้านหนึ่งเกษตรที่มีสารเคมีจำพวกนี้อยู่ในครอบครอง ก็อาจมีการนำมาใช้ ก่อนที่จะมีกฎหมายมาบังคับ ซึ่งอาจใช้ในปริมาณมาก ไม่เหมาะสม ก็ยังมีผลกระทบต่อผู้บริโภคได้เช่นกัน ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ในการคัดกรองหาสารพิษตกค้างในผู้บริโภค ยังพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงในอัตราที่ยังสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ จึงเห็นควรดำเนินกิจกรรมการคัดกรองเจาะเลือดหาสารรพิษตกค้างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้บริโภคได้ทราบถึงสภาวการณ์ของสารพิษที่ตกค้าง พร้อมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งเพื่อจะได้เปรียบเทียบผลหลังจากที่มีกฏหมายยกเลิกการใช้สารเคมีในกลุ่มดังกล่าวด้วย และเพื่อให้ประชากรกลุ่มดังกล่าวได้หาแนวทางการป้องกันการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพในโอกาสต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดจำนวนเกษตรกรที่พบมีสารเคมีตกค้างในเลือด ไม่เกินร้อยละ 5

เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างทราบระดับของสารพิษตกค้างของตนเอง

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7,200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.สำรวจข้อมูลประชาชนที่ประกอบอาชีพปลูกผัก

ชื่อกิจกรรม
1.สำรวจข้อมูลประชาชนที่ประกอบอาชีพปลูกผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลประชาชนที่ประกอบอาชีพปลูกผัก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 35 คน

ชื่อกิจกรรม
รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 35 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 8 หมู่บ้านๆ ละ 2 คน รวมจำนวน 19 คน (รวมเจ้าหน้าที่คณะทำงาน) -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 30 บาท จำนวน 54 คน เป็นเงิน 1,620 บาท -ค่าวัสดุสำนักงาน (ในการประชุม) 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 8 หมู่บ้าน จำนวน 19 คน (รวมเจ้าหน้าที่คณะทำงาน) สามารถเข้าใจและอธิบายได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2120.00

กิจกรรมที่ 3 3.อาสาสมัครเจาะเลือดตรวจหาสารพิษตกค้าง

ชื่อกิจกรรม
3.อาสาสมัครเจาะเลือดตรวจหาสารพิษตกค้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ชุดทดสอบหายาฆ่าแมลงในเลือดเกษตรกร(กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรสและชุดอุปกรณ์ตรวจ) เป็นเงิน 1,805บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1805.00

กิจกรรมที่ 4 4.อบรมให้ความรู้อาสาสมัครที่เข้าร่วม

ชื่อกิจกรรม
4.อบรมให้ความรู้อาสาสมัครที่เข้าร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.22.4 ม. แผ่นละ 500 บาทจำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 500 บาท - ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้ 1.02.0 ม. แผ่นละ 350 บาท จำนวน 2 แผ่น เป็นเงิน 700 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 30 บาทจำนวน 35 คน เป็นเงิน 1,050 บาท - ค่าวัสดุการอบรม 500 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. ชม.ละ 600 บาท รวมเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4550.00

กิจกรรมที่ 5 5.ติดตามเจาะเลือดตรวจสารพิษตกค้างครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
5.ติดตามเจาะเลือดตรวจสารพิษตกค้างครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 6.สรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
6.สรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 30 บาท จำนวน 19 คน เป็นเงิน 570 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
570.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,045.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้รับการตรวจเลือด และรู้ผลมีสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับใด
2.เกษตรกรมีความรู้และเข้าใจอันตรายจากการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช
3.เกษตรกรมีความรู้ในการป้องกันตัวเองหากมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช


>