กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการดี พัฒนาการดี เด็กศาลาใหม่สุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโภชนาการในช่วงวัยแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี จะมีความสำคัญมา เนื่องจากภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก โดยเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ การขาดโภชนาการที่ดีจะกีดขวางการเจริญเติบโตของเด็ก ทำให้สติปัญญาพัฒนาช้า ลดทอนศักยภาพ และคงความยากจนต่อไป จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-6 ปี ของจังหวัดนราธิวาส ไตรมาศที่ 3 ปีงบประมาณ 2565 พบว่าเด็กอายุ 0 – 6 ปี มีภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 6,832คน ร้อยละ 15.66 และพบว่าเด็กอายุ 0 – 6 ปี มีภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ จำนวน 1,430 คน ร้อยละ 3.28 จากสถานการณ์ปัญหาด้านการคัดกรองส่งเสริมพัฒนาการการในเด็กอายุ 0-5 ปี ตามช่วงอายุที่กำหนดมีพัฒนาการสมวัย (สมวัยครั้งที่สอง) จำนวน 1,935 คน ร้อยละ 80.89 ทั้งนี้ โภชนาการและพัฒนาการมีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กันหลากหลาย ที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการแก้ปัญหาด้านโภชนาการและควบคุมป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ
จากการประเมินการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ไตรมาศที่ 3 ปีงบประมาณ 2565 ในพื้นที่รับผิดชอบตำบลศาลาใหม่ ทั้ง 8 หมู่บ้าน จำนวน 648 คน ภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 73 คน ร้อยละ 11.27 และพบว่าเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ จำนวน 16 คน ร้อยละ 2.47 และพบว่าเด็กอายุ0-5 ปี จำนวน 634 คน มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน จำนวน 446 คน ร้อยละ 70.35 เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ยังพบพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทกรุบกรอบมากขึ้น รับประทานอาหารไม่ครบมื้อหลัก ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน 5 หมู่ ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาศึกษา ขาดการใส่ใจดูแลเท่าที่ควรของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก เป็นผลให้เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ภาวะโภชนาการไม่สมส่วน และจากสถานการณ์ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี (ตามกลุ่มอายุ 18 ด.,30 ด., 42 ด., 60 ด.) จำนวน 541 คน พบสมวัยครั้งแรก จำนวน 437 คน คิดเป็นร้อยละ 80.78 พบสงสัยพัฒนาการล่าช้าต้องกระตุ้น จำนวน75 คน ร้อยละ 14.65 มีการติดตามเฝ้าระวังกระตุ้นพัฒนาการให้สมวัยได้ภายใน 1 เดือน จำนวน 63 คน ร้อยละ 84.00 ประกอบกับ ปี 2565 ยังพบเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ (น้อยกว่า 2,500 กรัม) จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 8.49 (ลดลงจากปี 2564 ที่พบจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 11.11) ซึ่งอาจส่งผลต่อการภาวะโภชนาการและพัฒนาการในอนาคตต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ และภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี
  1. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่พบภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ และภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ ลดลงจากปี 2565
  2. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่พบภาวะโภชนาการ สูงดีสมส่วน มากกว่าร้อยละ 70
  3. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่พบภาวะโภชนาการ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ มากกว่าร้อยละ 70
0.00
2 2. เพื่อลดอัตราสงสัยพัฒนาการล่าช้า จากการคัดกรองพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี (ตามกลุ่มอายุ 18 ด.,30 ด., 42 ด., 60 ด.) ตามเกณฑ์ DSPM
  1. เด็กอายุ 0-5 ปี (ตามกลุ่มอายุ 18 ด.,30 ด., 42 ด., 60 ด.)สงสัยพัฒนาการล่าช้า ลดลงจากปี 2565
  2. เด็กอายุ 0-5 ปี (ตามกลุ่มอายุ 18 ด.,30 ด., 42 ด., 60 ด.) สงสัยพัฒนาการล่าช้า ติดตามเฝ้าระวังกระตุ้นพัฒนาการให้สมวัยได้ภายใน 30 วัน มากกว่าร้อยละ 70
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างภาวะโภชนาการ และเรื่องส่งเสริมพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี และเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 0-5 ปี แก่พ่อ/แม่/ผู้ปกครอง/ผู้แลเด็ก ในกลุ่มเด็กที่มีประวัติภาวะโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์อายุน้อยกว่าเกณ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างภาวะโภชนาการ และเรื่องส่งเสริมพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี และเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 0-5 ปี แก่พ่อ/แม่/ผู้ปกครอง/ผู้แลเด็ก ในกลุ่มเด็กที่มีประวัติภาวะโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์อายุน้อยกว่าเกณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25.- บาท เป็นเงิน 2,500.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 70.- บาท เป็นเงิน 7,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีโภชนาการที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 2 3. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ด้วยชุดทดสอบพัฒนาการตามมาตรฐาน DSPM และเรื่องเสริมสร้างภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ ไตรมาศ 3-4 จำนวน 50คน

ชื่อกิจกรรม
3. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ด้วยชุดทดสอบพัฒนาการตามมาตรฐาน DSPM และเรื่องเสริมสร้างภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ ไตรมาศ 3-4 จำนวน 50คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25.- บาท เป็นเงิน 1,250.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70.- บาท เป็นเงิน 3,500.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แม่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,250.00 บาท

หมายเหตุ :
1. พบอัตราเด็กอายุ 0-5 ปี ภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ และภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ที่ลดลง
2. ไม่พบเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าในชุมชน
3. ผู้ปกครองสามารถดูแลภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กอายุ 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>