กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการดี พัฒนาการดี เด็กศาลาใหม่สุขภาพดี
รหัสโครงการ 66-L2487-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัตมา วาเด็งพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการในช่วงวัยแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี จะมีความสำคัญมา เนื่องจากภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก โดยเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ การขาดโภชนาการที่ดีจะกีดขวางการเจริญเติบโตของเด็ก ทำให้สติปัญญาพัฒนาช้า ลดทอนศักยภาพ และคงความยากจนต่อไป จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-6 ปี ของจังหวัดนราธิวาส ไตรมาศที่ 3 ปีงบประมาณ 2565 พบว่าเด็กอายุ 0 – 6 ปี มีภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 6,832คน ร้อยละ 15.66 และพบว่าเด็กอายุ 0 – 6 ปี มีภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ จำนวน 1,430 คน ร้อยละ 3.28 จากสถานการณ์ปัญหาด้านการคัดกรองส่งเสริมพัฒนาการการในเด็กอายุ 0-5 ปี ตามช่วงอายุที่กำหนดมีพัฒนาการสมวัย (สมวัยครั้งที่สอง) จำนวน 1,935 คน ร้อยละ 80.89 ทั้งนี้ โภชนาการและพัฒนาการมีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กันหลากหลาย ที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการแก้ปัญหาด้านโภชนาการและควบคุมป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ
จากการประเมินการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ไตรมาศที่ 3 ปีงบประมาณ 2565 ในพื้นที่รับผิดชอบตำบลศาลาใหม่ ทั้ง 8 หมู่บ้าน จำนวน 648 คน ภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 73 คน ร้อยละ 11.27 และพบว่าเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ จำนวน 16 คน ร้อยละ 2.47 และพบว่าเด็กอายุ0-5 ปี จำนวน 634 คน มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน จำนวน 446 คน ร้อยละ 70.35 เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ยังพบพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทกรุบกรอบมากขึ้น รับประทานอาหารไม่ครบมื้อหลัก ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน 5 หมู่ ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาศึกษา ขาดการใส่ใจดูแลเท่าที่ควรของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก เป็นผลให้เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ภาวะโภชนาการไม่สมส่วน และจากสถานการณ์ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี (ตามกลุ่มอายุ 18 ด.,30 ด., 42 ด., 60 ด.) จำนวน 541 คน พบสมวัยครั้งแรก จำนวน 437 คน คิดเป็นร้อยละ 80.78 พบสงสัยพัฒนาการล่าช้าต้องกระตุ้น จำนวน75 คน ร้อยละ 14.65 มีการติดตามเฝ้าระวังกระตุ้นพัฒนาการให้สมวัยได้ภายใน 1 เดือน จำนวน 63 คน ร้อยละ 84.00 ประกอบกับ ปี 2565 ยังพบเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ (น้อยกว่า 2,500 กรัม) จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 8.49 (ลดลงจากปี 2564 ที่พบจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 11.11) ซึ่งอาจส่งผลต่อการภาวะโภชนาการและพัฒนาการในอนาคตต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ และภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี
  1. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่พบภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ และภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ ลดลงจากปี 2565
  2. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่พบภาวะโภชนาการ สูงดีสมส่วน มากกว่าร้อยละ 70
  3. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่พบภาวะโภชนาการ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ มากกว่าร้อยละ 70
0.00
2 2. เพื่อลดอัตราสงสัยพัฒนาการล่าช้า จากการคัดกรองพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี (ตามกลุ่มอายุ 18 ด.,30 ด., 42 ด., 60 ด.) ตามเกณฑ์ DSPM
  1. เด็กอายุ 0-5 ปี (ตามกลุ่มอายุ 18 ด.,30 ด., 42 ด., 60 ด.)สงสัยพัฒนาการล่าช้า ลดลงจากปี 2565
  2. เด็กอายุ 0-5 ปี (ตามกลุ่มอายุ 18 ด.,30 ด., 42 ด., 60 ด.) สงสัยพัฒนาการล่าช้า ติดตามเฝ้าระวังกระตุ้นพัฒนาการให้สมวัยได้ภายใน 30 วัน มากกว่าร้อยละ 70
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,250.00 2 14,250.00
1 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 1. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างภาวะโภชนาการ และเรื่องส่งเสริมพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี และเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 0-5 ปี แก่พ่อ/แม่/ผู้ปกครอง/ผู้แลเด็ก ในกลุ่มเด็กที่มีประวัติภาวะโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์อายุน้อยกว่าเกณ 0 9,500.00 9,500.00
1 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 3. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ด้วยชุดทดสอบพัฒนาการตามมาตรฐาน DSPM และเรื่องเสริมสร้างภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ ไตรมาศ 3-4 จำนวน 50คน 0 4,750.00 4,750.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. พบอัตราเด็กอายุ 0-5 ปี ภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ และภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ที่ลดลง
  2. ไม่พบเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าในชุมชน
  3. ผู้ปกครองสามารถดูแลภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กอายุ 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 15:57 น.