กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ลาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ลาน

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และความเจริญทางเทคโนโลยี มีผลทำให้สุขภาพประชาชนป่วยหรือตายด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดภาวะเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรคNCDs อีกมากมาย อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต ฯลฯ ซึ่งในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ลานมีผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ดงนั้น รพ.สต. จึงจำเป็นต้องดำเนินงานสาธารณสุขในชุมชน จัดอบรมเครือข่ายสุขภาพ คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ควบคู่กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 50 คน สังกัดเขตให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ลาน มีความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นโดยยึดหลักชุมชนดูแลชุมชนแบบพอเพียงเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีต่อไปอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) สามารถเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชนในพื้นที่

ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0.00
2 2.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดทักษะความเชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของของอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดทักษะความเชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 3.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

ร้อยละ 10 ของของอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) สามารถลดน้ำหนักได้ 1-2 กิโลกรัมในระยะเวลา 3 เดือนได้

0.00
4 4.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีความรู้ในการปฏิบัติตัวไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน หลังได้รับการปรับเปลี่ยนความเสี่ยงแล้วมี CVD Risk ลดลง

0.00
5 5.เพื่อเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เกิดการช่วยเหลือระหว่างเพื่อนช่วยเพื่อนและส่งผลให้เกิดความรักความสามัคคีซึ่งกันและกัน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 26
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 24
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1.จัดประชุมชี้แจงโครงการให้แก่คณะทำงาน 2.วางแผนและกำหนดรูปแบบกิจกรรม ขั้นดำเนินการ 1.ประชุมผู้ดำเนินการโครงการทุกฝ่าย เพื่อเตรียมดำเนินกิจกรรม 2.ดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมแบ่งเป็นดังนี้ 2.1ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.2แกนนำ อสม.ทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ (3,4,7,8) จับคู่ผู้ป่วยในการช่วยดูแลสุขภาพ 2.3ทำข้อตกลงร่วมกัน มอบหมายภารกิจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการกระตุ้นเตือนการดูแลสุขภาพ 2.4จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ 3 อ 2 ส และมีการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นที่ปรึกษาให้แก่กัน 2.5 จัดทำแบบบันทึกสุขภาพ 2.6 เตรียมกลุ่มเป้าหมาย โดยการประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน วัดรอบเอว 3.สรุปผลการดำเนินโครงการ 4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามโครงการ - ประเมินโครงการ ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ - ประเมินสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกาย ตรวจความตันโลหิต ประเมิน CVD Risk ในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอสม ที่เข้าร่วมโครงการ เปรียบเทียบก่อนและหลังร่วมกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27910.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,910.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม.สามารถเป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชนในพื้นที่
2.อสม.มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะ เชี่ยวชาญ ของการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง
3.อสม.มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไช้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา
4. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีความรู้ในการปฏิบัติตัวไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
5.เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนในหมู่บ้าน.


>