กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลทุ่งตำเสา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

ตำบลทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับการเจริญเติบโตของเมือง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง
จากข้อมูลงานรักษาความสะอาด เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา พบว่าปริมาณขยะมูลฝอย ๕ ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ถึง ๒๕๖๕ พบว่ามีปริมาณขยะ เท่ากับ ๑,๓๑๓๑,๕๕๘๑,๓๕๓๑,๖๒๘ และ ๑,๗๗๙ ตันต่อปีตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับรายงานอุบัติการณ์การเกิดโรคติดต่อโดยยุง อาทิ ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เป็นต้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ จำนวน ๑ ราย ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ จำนวน ๗ ราย และปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ จำนวน ๑ ราย ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเกิดจากยุงเป็นสัตว์พาหะนำโรค อันมีสาเหตุจากปัญหาการขาดวินัยในการทิ้งขยะมูลฝอยทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรค อีกทั้งในรอบปีที่ผ่านมา งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสาได้รับเรื่องร้องเรียนเหตุเดือดร้อนรำคาญจากสุนัขจรจัดเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนมีพฤติกรรมทิ้งขยะอินทรีย์ปะปนไปกับขยะมูลฝอยทั่วไปซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสุนัขจรจัดจึงทำให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นซึ่งยากในการควบคุมให้สุนัขเหลานี้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ได้ จากข้อมูลสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกตามกลุ่มโรค ๑๐ อันดับแรก ของเขตสุขภาพที่ ๑๒ จังหวัดสงขลา ปี ๒๕๖๕ พบว่า ประชาชนมีการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินอาหารลำไส้และเยื่อบุช่องมากเป็นอันดับ ๘ ในส่วนของโรคอุจจาระร่วงในตำบลทุ่งตำเสา เฉลี่ยอุบัติการณ์คิดเป็น ๒๗๐.๙๘ ต่อแสนประชากร
(ข้อมูลจากระบบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด ณ มกราคม ๒๕๖๖)ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับครัวเรือน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือนในระดับท้องถิ่น
เพื่อสุขภาวะที่ของประชาชนในตำบลทุ่งตำเสา เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงได้ทำ “โครงการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลทุ่งตำเสา” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์ในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ และเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์พาหนะนำโรค เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์ในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการจัดทำและใช้งานถังขยะอินทรีย์ครัวเรือน

0.00
2 ๒ เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการคัดแยกขยะอินทรีย์ก่อนทิ้ง -  ร้อยละ ๕๐ ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะอินทรีย์ได้

0.00
3 ๓ เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์พาหนะนำโรคในชุมชน

แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์พาหนะนำโรคในชุมชน ลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทาง และแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อถล. และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแนวทาง และแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อถล. และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงแนวทาง และแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อถล. และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มกราคม 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าประชุมได้รับทราบแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อถล. และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนและการจัดการขยะต้นทางสร้างสุขภาวะที่ดีในชุมชน - ค่าตอบแทนวิทยากร ๖๐๐บาท๒ชั่วโมง๑๐ครั้ง เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕บาท๖๐๐คน เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐.-บาท -  ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑.๒๒.๔*๑๕๐ บาท จำนวน ๑ ผืน เป็นเงิน ๔๓๒.-บาท -  ค่าวัสดุในการอบรม (กระดาษ/ปากกา กากน้ำตาล EM ฯลฯ) เป็นเงิน ๕,๐๐๐.-บาท -  ค่าจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ครัวเรือน เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มกราคม 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ เรื่อง การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนและการจัดการขยะต้นทางสร้างสุขภาวะที่ดีในชุมชน - ลงพื้นที่ครอบคลุมทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน - การให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน - สาธิตการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ - การคัดแยกขยะรีไซเคิล,การจัดการขยะอันตราย,การจัดการขยะทั่วไป - สาธิตการทำผลิตภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47432.00

กิจกรรมที่ 3 ทุ่งตำเสารักสะอาด รวมพลังครัวเรือนจัดการขยะอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
ทุ่งตำเสารักสะอาด รวมพลังครัวเรือนจัดการขยะอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สอนและสาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ครัวเรือน -ค่าจ้างเหมาทำสปอตประชาสัมพันธ์ เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ครัวเรือนและรณรงค์การจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน จำนวน ๑ เรื่อง เป็นเงิน ๑,๕๐๐.-บาท
-ค่าถังขยะสาธิตครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะขยะอินทรีย์ จำนวน ๖๐๐ ใบ ๗๐ บาท เป็นเงิน ๔๒,๐๐๐.-บาท -ค่าน้ำดื่มสำหรับลงพื้นที่ตรวจประเมินครัวเรือน จำนวน ๑๐ ครั้ง ครั้งละ ๓๐๐.-บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐.-บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์คัดแยกขยะอินทรีย์ก่อนทิ้งติดตั้งในหมู่บ้าน ขนาด ๑.๒๒.๔๑๕๐ บาท จำนวน ๑๐ ป้าย เป็นเงิน ๔,๓๒๐.-บาท -ค่าจ้างเหมายิงโครงป้ายประชาสัมพันธ์ ๑๕๐.-บาท๑๐ป้าย เป็นเงิน ๑,๕๐๐.-บาท
- ทรายกำจัดลูกน้ำยุง (ไม่ใช้งบฯ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สอนและสาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ครัวเรือน           ๒.๑  จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการจัดทำถังขยะอินทรีย์           ๒.๒  ลงพื้นที่สอนและสาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์ครัวเรือน ครอบคลุม ๑๐ หมู่บ้าน
          ๒.๓  ประชาสัมพันธ์รณรงค์การคัดแยกขยะอินทรีย์และการกำจัดขยะอินทรีย์อย่างถูกหลักวิชาการ
          ๒.๔  ลงพื้นที่ติดตามและประเมินครัวเรือนต้นแบบจัดทำถังขยะอินทรีย์ครัวเรือน พร้อมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรคในครัวเรือน อย่างน้อยหมู่บ้านละ ๑ ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52320.00

กิจกรรมที่ 4 รวมพลครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
รวมพลครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
-  ค่าสื่อในการจัดนิทรรศการ (X-stand/Roll Up/ธงญี่ปุ่นฯลฯ) งบประมาณ ๒๕,๐๐๐.-บาท -  ค่าตกแต่งสถานที่  เป็นเงิน ๑,๕๐๐.-บาท -  ค่าป้ายเวทีกิจกรรม (วางแผนใช้อาคารอเนกประสงค์เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา) ขนาด ๔๘เมตร๑๕๐.-บาท เป็นเงิน ๔,๘๐๐.-บาท -  ค่าป้ายเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติครัวเรือนต้นแบบ ๒๐บาท๒๐ใบ เป็นเงิน ๔๐๐.-บาท - ค่าป้ายอะคลิลิค ครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะ ขนาด ๗๐ ซม. * ๔๐ ซม. * ๓๕๐ บ. ๑๐ป้าย เป็นเงิน ๓,๕๐๐.-บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วม ๑๐๐ คน*๒๕บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน
๑จัดนิทรรศการครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะอินทรีย์แต่ละหมู่บ้าน ๒นำเสนอผลการดำเนินงานการจัดการขยะในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนผลผลิตด้านการเกษตรจากากรจัดการขยะเป็นปุ๋ย และผลการดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธ์โรคในพื้นที่ ๓มอบรางวัล “หมู่บ้านดีเด่นด้านการจัดการขยะ”

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 138,702.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ครัวเรือนมีการจัดการขยะอินทรีย์อย่างถูกหลักวิชาการ
๒.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
๓.แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์พาหนะนำโรคในชุมชนลดลง


>