กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลทุ่งตำเสา
รหัสโครงการ 66-L5275-10(1)-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 138,702.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับการเจริญเติบโตของเมือง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง
จากข้อมูลงานรักษาความสะอาด เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา พบว่าปริมาณขยะมูลฝอย ๕ ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ถึง ๒๕๖๕ พบว่ามีปริมาณขยะ เท่ากับ ๑,๓๑๓๑,๕๕๘๑,๓๕๓๑,๖๒๘ และ ๑,๗๗๙ ตันต่อปีตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับรายงานอุบัติการณ์การเกิดโรคติดต่อโดยยุง อาทิ ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เป็นต้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ จำนวน ๑ ราย ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ จำนวน ๗ ราย และปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ จำนวน ๑ ราย ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเกิดจากยุงเป็นสัตว์พาหะนำโรค อันมีสาเหตุจากปัญหาการขาดวินัยในการทิ้งขยะมูลฝอยทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรค อีกทั้งในรอบปีที่ผ่านมา งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสาได้รับเรื่องร้องเรียนเหตุเดือดร้อนรำคาญจากสุนัขจรจัดเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนมีพฤติกรรมทิ้งขยะอินทรีย์ปะปนไปกับขยะมูลฝอยทั่วไปซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสุนัขจรจัดจึงทำให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นซึ่งยากในการควบคุมให้สุนัขเหลานี้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ได้ จากข้อมูลสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกตามกลุ่มโรค ๑๐ อันดับแรก ของเขตสุขภาพที่ ๑๒ จังหวัดสงขลา ปี ๒๕๖๕ พบว่า ประชาชนมีการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินอาหารลำไส้และเยื่อบุช่องมากเป็นอันดับ ๘ ในส่วนของโรคอุจจาระร่วงในตำบลทุ่งตำเสา เฉลี่ยอุบัติการณ์คิดเป็น ๒๗๐.๙๘ ต่อแสนประชากร (ข้อมูลจากระบบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด ณ มกราคม ๒๕๖๖)ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับครัวเรือน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือนในระดับท้องถิ่น เพื่อสุขภาวะที่ของประชาชนในตำบลทุ่งตำเสา เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงได้ทำ “โครงการบริหารจัดการขยะอินทรีย์เพื่อสุขภาวะที่ดีตำบลทุ่งตำเสา” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์ในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ และเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์พาหนะนำโรค เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์ในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ร้อยละ ๑๐๐ ของจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการจัดทำและใช้งานถังขยะอินทรีย์ครัวเรือน

0.00
2 ๒ เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการคัดแยกขยะอินทรีย์ก่อนทิ้ง -  ร้อยละ ๕๐ ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะอินทรีย์ได้

0.00
3 ๓ เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์พาหนะนำโรคในชุมชน

แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์พาหนะนำโรคในชุมชน ลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 138,702.00 0 0.00
30 ม.ค. 66 - 28 ก.พ. 66 ประชุมชี้แจงแนวทาง และแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อถล. และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ 0 1,250.00 -
30 ม.ค. 66 - 28 ก.พ. 66 อบรมให้ความรู้ 0 47,432.00 -
30 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 ทุ่งตำเสารักสะอาด รวมพลังครัวเรือนจัดการขยะอินทรีย์ 0 52,320.00 -
1 - 31 ส.ค. 66 รวมพลครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะอินทรีย์ 0 37,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ครัวเรือนมีการจัดการขยะอินทรีย์อย่างถูกหลักวิชาการ ๒.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ๓.แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์พาหนะนำโรคในชุมชนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 09:53 น.