กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบางด้วนอ่อนหวาน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางด้วน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน

45

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม คือต้นเหตุของการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเพิ่มขึ้นของคนไข้กลุ่มโรคไม่ติดต่อ และยังเริ่มป่วยด้วยอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้ลดอัตราเสี่ยงจากโรคร้าย รวมถึงสร้างสุขนิสัยที่ดีในการบริโภคอาหาร กลยุทธ์ที่เป็นแนวทางสู่การพัฒนาสุขภาพ ได้แก่ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพบูรณาการความรู้ ปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก รณรงค์การดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคร่วมกับเครือข่ายร้านค้า สร้างการมีส่วนร่วม สร้างแกนนำปลูกฝังพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง การป้องกันโรคอ้วนและฟันผุ นอกจากการลดการบริโภคน้ำตาล ขนมกรุบกรอบ การส่งเสริมการรับประทานผักและผลไม้ ปลูกพืชผักสวนครัว โดยขยายแนวคิดไปยังชุมชน การส่งต่อความรู้ไปยังผู้นำชุมชนให้ตระหนักถึงโทษของการบริโภคน้ำตาลเกินปริมาณที่เหมาะสมเช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งองค์ความรู้ วิธีการ และนวัตกรรมมาแชร์ถึงกัน และสิ่งสำคัญ คือ การสร้างแกนนำ การกระจายแนวคิดสู่ชุมชน ทั้งผู้นำทางการและไม่เป็นทางการ การที่คนกลุ่มนี้มีนี้ ความตระหนักสร้างการรับรู้ก็รู้ จะสร้างข้อตกลงร่วมกันของชุมชนต่อไป เช่น งานบุญ งานประเพณี ปลอดน้ำอัดลมเป็นต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน เห็นความสำคัญของการสร้างกระแสสังคม (Media advocacy) ให้ตระหนักถึงความจำเป็นของการบริโภคน้ำตาลในระดับที่เหมาะสม เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งพัฒนารูปแบบการรณรงค์ลดการบริโภคอาหารว่างและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล โดยการมีส่วนร่วมจากร้านค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้รับผลกระทบ ในลักษณะของการขยายการดำเนินงานรณรงค์ไปสู่เครือข่ายในชุมชน สร้างทีมการทำงาน สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ และทำงานเป็นเครือข่ายกับองค์กรท้องถิ่น องค์กรชุมชน โรงเรียน และครอบครัว เพื่อเป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมด้านอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ (Food Environment) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสในระดับท้องถิ่น เน้นการรณรงค์ลดบริโภคน้ำตาล สร้างเครือข่ายร้านค้าอ่อนหวานในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการลดบริโภคน้ำตาลในชุมชน 2.เพื่อให้เกิดเครือข่ายร้านค้าอ่อนหวานในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้นำชุมชน/แกนนำสุขภาพครอบครัว 12
ผู้ประกอบการร้านค้า/ร้านอาหารแผงลอย 33

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/07/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการชุมชนบางด้วนอ่อนหวาน

ชื่อกิจกรรม
โครงการชุมชนบางด้วนอ่อนหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ
    1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาสัมพันธ์โครงการ
    2. ติดต่อประสานงานวิทยากร 
  2. จัดเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  และสถานที่
  3. ดำเนินงานจัดอบรมตามโครงการ
  4. สร้างทีมการทำงาน สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ และทำงานเป็นเครือข่ายร้านค้า ผู้นำชุมชน และครอบครัว เพื่อเป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมด้านอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ
  5. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสในระดับท้องถิ่น
  6. สรุปผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีพฤติกรรมลดบริโภคน้ำตาลในชุมชน 2.เกิดเครือข่ายร้านค้าอ่อนหวานในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>