กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนบางด้วนอ่อนหวาน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1483-01-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิธีวดี เก้าเอี้ยน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม คือต้นเหตุของการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเพิ่มขึ้นของคนไข้กลุ่มโรคไม่ติดต่อ และยังเริ่มป่วยด้วยอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้ลดอัตราเสี่ยงจากโรคร้าย รวมถึงสร้างสุขนิสัยที่ดีในการบริโภคอาหาร กลยุทธ์ที่เป็นแนวทางสู่การพัฒนาสุขภาพ ได้แก่ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพบูรณาการความรู้ ปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก รณรงค์การดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคร่วมกับเครือข่ายร้านค้า สร้างการมีส่วนร่วม สร้างแกนนำปลูกฝังพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง การป้องกันโรคอ้วนและฟันผุ นอกจากการลดการบริโภคน้ำตาล ขนมกรุบกรอบ การส่งเสริมการรับประทานผักและผลไม้ ปลูกพืชผักสวนครัว โดยขยายแนวคิดไปยังชุมชน การส่งต่อความรู้ไปยังผู้นำชุมชนให้ตระหนักถึงโทษของการบริโภคน้ำตาลเกินปริมาณที่เหมาะสมเช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งองค์ความรู้ วิธีการ และนวัตกรรมมาแชร์ถึงกัน และสิ่งสำคัญ คือ การสร้างแกนนำ การกระจายแนวคิดสู่ชุมชน ทั้งผู้นำทางการและไม่เป็นทางการ การที่คนกลุ่มนี้มีนี้ ความตระหนักสร้างการรับรู้ก็รู้ จะสร้างข้อตกลงร่วมกันของชุมชนต่อไป เช่น งานบุญ งานประเพณี ปลอดน้ำอัดลมเป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน เห็นความสำคัญของการสร้างกระแสสังคม (Media advocacy) ให้ตระหนักถึงความจำเป็นของการบริโภคน้ำตาลในระดับที่เหมาะสม เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งพัฒนารูปแบบการรณรงค์ลดการบริโภคอาหารว่างและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล โดยการมีส่วนร่วมจากร้านค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้รับผลกระทบ ในลักษณะของการขยายการดำเนินงานรณรงค์ไปสู่เครือข่ายในชุมชน สร้างทีมการทำงาน สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ และทำงานเป็นเครือข่ายกับองค์กรท้องถิ่น องค์กรชุมชน โรงเรียน และครอบครัว เพื่อเป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมด้านอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ (Food Environment) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสในระดับท้องถิ่น เน้นการรณรงค์ลดบริโภคน้ำตาล สร้างเครือข่ายร้านค้าอ่อนหวานในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการลดบริโภคน้ำตาลในชุมชน 2.เพื่อให้เกิดเครือข่ายร้านค้าอ่อนหวานในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
3 - 31 ก.ค. 66 โครงการชุมชนบางด้วนอ่อนหวาน 0 9,100.00 -
รวม 0 9,100.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีพฤติกรรมลดบริโภคน้ำตาลในชุมชน 2.เกิดเครือข่ายร้านค้าอ่อนหวานในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2566 00:00 น.